คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
สาระการเรียนรู้กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกาญจนบุรี: สะพานมอญ

ผู้สอน
นายจุมินทร์ วนิชกุล


ที่ตั้งและอาณาเขต

ชาวมอญ
อำเภอสังขละบุรี

ขนบธรรมเนียมชาวมอญ
อำเภอสังขละบุรี

ประวัติการก่อสร้าง

วิถีชีวิตชุมชน
สะพานมอญ

เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
สะพานมอญ

              หน้าหลัก

ชาวมอญในอำเภอสังขละบุรี

   มอญ หรือ รามัญ เป็นหนึ่งในชนชาติที่เก่าแก่ และมีอารยธรรมที่รุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่งในแถบ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นชนชาติที่เคยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศพม่า ในอดีตเมืองหงสาวดีก็เป็นเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ของมอญ ต่อมาถูกพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์พม่าเข้าตี และยึดหงสาวดีไปเป็นของพม่า ชาวมอญได้ถูกพม่ากดขี่ข่มเหง เพื่อต้องการทำลายชาติพันธุ์ของมอญให้สิ้นไป มอญจึงต้องสู้รบกับพม่าตลอดมา และได้อพยพเข้ามาพึ่งกษัตริย์ไทยหลายต่อหลายครั้ง

มอญได้เข้ามาอยู่ในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชสมัยของ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในพม่าได้เกิดกบฎชาวมอญ ต่อสู้กับพม่า จนพ่ายแพ้และถูกพม่าปราบปราม จึงเป็นช่วงที่มีมอญหนีตายเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด ครั้งนั้นรัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ปากเกร็ด พระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาในครั้งอื่นๆ ได้กระจัดกระจายอยู่ในไทย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคกลาง โดยเฉพาะนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี และมีบางส่วนอยู่ทางภาคเหนือ

   ชาติมอญมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ และปรากฏอยู่ในธงชาติมอญที่มีพื้นสีแดง มีหงส์สีทองอยู่ ตรงกลาง โดยชาวมอญมีความเชื่อในตำนานเรื่องหงส์นี้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงที่ที่เป็นที่ตั้งเมืิองหงสาวดี พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นหงส์ 2 ตัว ว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะเล็กๆ ที่มีพื้นที่สำหรับหงส์แค่ตัวเดียว หงส์ตัวเมียจึงขึ้นไปยืนเกาะอยู่บนหลังหงส์ตัวผู้ พระองค์จึงทรงมีพุทธทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า แผ่นดินแห่งนี้จะกลายเป็นมหานคร ชื่อหงสาวดี เป็นที่ที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองที่เมืองหงสาวดีสืบไป ตำนานการสร้างเมืองของอาณาจักรมอญจึงเริ่มขึ้นที่หงสาวดี และหงส์จึงเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหงสาวดี และชนชาติมอญ

ปัจจุบัน ชาวมอญเป็นกลายชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ ส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดน ประเทศ เช่นเดียวกับกะเหรี่ยง ถึงมอญจะเป็นชนชาติที่สิ้่นแผ่นดิน แต่ชาวมอญก็ไม่ยอมสิ้นชาติ แม้ชาวมอญจะถูกกลืนไปกับชาวพม่า และชาวไทย แต่วัฒนธรรมมอญที่เคยมีอิทธิพลเหนือชนชาติอื่นในอดีต ก็ยังคงมีให้เห็นปะปนอยู่ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญหลายอย่าง เช่นวัฒนธรรมทางด้านดนตรี มีปี่พาทย์มอญ และ เพลงไทยบรรเลง เช่น มอญร้องไห้ มอญนกขมิ้น เป็นต้น

 

ติดต่อสอบถามได้ที่ jommyzazy@hotmail.co.th
สงวนลิขสิทธิ์ © 2015
จัดทำเมื่อ สิงหาคม 2015