บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2549

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

chumpot@hotmail.com

การสาธารณูปโภค

สาธารณูปโภค หมายถึงการประกอบการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่

    1. การไฟฟ้านครหลวง
    2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
    3. การประปานครหลวง
    4. การประปาส่วนภูมิภาค
    5. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
    6. การเคหะแห่งชาติ
    7. องค์การตลาด

1. การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้านครหลวงมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจด้านการจ่ายพลังไฟฟ้าให้มีความเพียงพอ เชื่อถือได้ ปลอดภัย ในราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าและสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ประวัติความเป็นมา : History

การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไวยวรนาถ ได้ลงทุนติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายไฟที่โรงทหารหน้า คือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน และพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ.2440 ได้โอนกิจการให้แก่บริษัทอเมริกันชื่อ Bangkok Electric Light Syndicate ซึ่งดำเนินกิจการต่อมาชั่วระยะหนึ่ง ก็ได้โอนกิจการให้แก่บริษัท ไฟฟ้าสยามทุน จำกัด ในปี พ.ศ.2444 มีสถานที่ทำการและโรงจักรที่ข้างวัดราชบูรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ) อันเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของการไฟฟ้านครหลวงในปัจจุบัน เขตสัมปทานที่บริษัทฯ ได้รับคือ บริเวณตอนใต้ของคลองบางลำภู คลองมหานาค คลองแสนแสบ และทางรถไฟสายใต้ ต่อมาในปี พ.ศ.2455 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงไฟฟ้าสามเสนขึ้นเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าบริเสณตอนเหนือของเส้นแบ่งเขตสัมปทาน และเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับโรงกรองน้ำที่สามเสน ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โรงจักรวัดเลียบและสามเสนถูกระเบิดเสียหายมาก ซึ่งสามารถซ่อมแซมให้ใช้ได้เพียงบางส่วน ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนไฟฟ้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และทวีมากขึ้นหลังจากสงครามสงบ ต้องมีการดับไฟฟ้าในบางพื้นที่ หมุนเวียนกันเป็นประจำทุกวัน เมื่อสัมปทานของบริษัทฯ สิ้นสุดลง รัฐบาลได้เข้าดำเนินการเอง โดยจัดตั้งเป็นการไฟฟ้ากรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2493 สังกัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนกองไฟฟ้าหลวงสามเสนก็ยังดำเนินการแยกกันอยู่ เพื่อบรรเทาความจาดแคลนไฟฟ้าเฉพาะหน้าในระยะนั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องดีเซล ขนาด 500 และ 1,000กิโลวัตต์ ส่วนการแก้ไขปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าในระยะยาว รัฐบาลได้พิจารณาหาแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้พอเพียงกับความต้องการและมีราคาถูก จึงได้จัดตั้งการไฟฟ้ายันฮีขึ้น เมื่อ พ.ศ.2500 (ต่อมาได้รวมกับการไฟฟ้าลิกไนท์ และการไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) เพื่อดำเนินการผลิตไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล ส่งมาจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ในการเตรียมรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้ายันฮี รัฐบาลจึงได้รวมการไฟฟ้ากรุงเทพกับกองไฟฟ้าหลวงสามเสน เป็นการไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2501 รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าในเขตที่การไฟฟ้ากรุงเทพ และกองไฟฟ้าหลวงสามเสนได้ดำเนินการอยู่แล้ว คือ พระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยยังทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าต่อไปด้วย จนกว่าการไฟฟ้ายันฮีจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอ เมื่อการไฟฟ้ายันฮีได้ก่อสร้างโรงจักรพระนครเหนือขนาด 75 เมมะวัตต์ เครื่องแรกเสร็จ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เป็นผลให้ภาวะขาดแคลนไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครยุติลง การไฟฟ้านครหลวงจึงได้โอนโรงผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการอยู่ ให้การไฟฟ้ายันฮีไปเมื่อ พ.ศ.2504 คงเหลือแต่กิจการจำหน่ายไฟฟ้าอย่างเดียวตั้งแต่นั้นมา

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

การไฟฟ้านครหลวง มีเขตดำเนินการในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

    1.ให้บริการและความสะดวกต่างๆ แก่ประชาชน ในการขอติดตั้งไฟฟ้า ฯลฯ
    2.จัดสร้าง และบำรุงรักษา ระบบการจ่ายพลังไฟฟ้า ให้ประชาชนอย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพ
    3.ขยายการจ่ายไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง
    4.จัดนำรายได้ที่เหลือจากการขยายงานส่งกระทรวงการคลัง 5.กำหนดรายได้ที่เป็นธรรม และจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้พนักงาน

2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งและจัดจำหน่ายพลังไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค 73 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ) แบ่งการบริหารงานในส่วนภูมิภาคออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ละภาคประกอบด้วย 3 การไฟฟ้าเขต รวมเป็น 12 การไฟฟ้าเขต ดำเนินงานด้านพัฒนาระบบไฟฟ้า เพื่อขยายขีดความสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า โดยก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่ายสถานีไฟฟ้าย่อยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้บริการกระแสไฟฟ้าแก่ชุมชน ธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ ก่อสร้างศูนย์สั่งการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่หมู่บ้านชนบท จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อการบริการผู้ใช้ไฟ

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities คือ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริม มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ โดยการจัดหา ผลิต ส่ง จำหน่าย และให้บริการ ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอทันกับความต้องการ และเชื่อถือได้ โดยเน้นทางด้านการบริการให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีความพึงพอใจสูงสุดบนพื้นฐานของคุณภาพ ราคาที่เหมาะสม การบริการเป็นเลิศ และมีระบบที่ปลอดภัย

3. การประปานครหลวง

การประปานครหลวงมีหน้าที่ดำเนินการสำรวจและจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อผลิต จัดส่ง และจำหน่วยน้ำประปาที่สะอาดแก่ประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ให้เพียงพอกับความต้องการ ดำเนินการจัดสร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม และดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องใช้บริการต่าง ๆ ของการประปานครหลวง สำรวจ วางแผน จำหน่ายน้ำประปาที่จะตั้งใหม่หรือขยายเพิ่มเติม กำหนดอัตราราคาขายน้ำ ค่าบริการ และความสะดวกต่าง ๆ จัดระเบียบวิธีชำระราคาค่าน้ำประปาและค่าบริการ ควบคุมมาตรฐานระบบประปาเอชนในพื้นที่รับผิดชอบ

ประวัติความเป็นมา : History

การประปานครหลวงได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาล และประกาศตั้งกรมศุขาภิบาลสำหรับกรุงเทพฯ โดยขึ้นกับกระทรวงนครบาล มีหน้าที่ในการจัดทำน้ำดื่ม น้ำใช้ สำหรับประชาชนในกรึงเทพฯ ได้ว่าจ้างช่างผู้ชำนาญจากประเทศฝรั่งเศส มาทำการสำรวจหาแหล่งน้ำ โครงการได้มาเสร็จสิ้นลงในสมัยพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2457 ทรงโปรดให้เรียกชื่อว่าประปาสยามตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2510 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติการประปานครหลวง จัดตั้ง "การประปานครหลวง" ขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2510 เพื่อรวมกิจการประปากรุงเทพ กรมโยธาธิการ กิจการประปาธนบุรีของเทศบาลนครธนบุรี กิจการประปานนทบุรีของกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ และกิจการประปาสมุทรปราการ ของการประปาเทศบาลเมืองสมุทรปราการเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริหารงานในรูปของรัฐวิสาหกิจขึ้นตรงต่อกรทะรวงมหาดไทย และใช้ชื่อว่า "การประปานครหลวง" โดยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานภายใต้การควบคุมทางนโยบายของคณะกรรมการการประปานครหลวง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดหา และให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันการประปานครหลวงมีพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งสิ้นประมาณ 3,080 ตารางกิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี ซึ่งการประปานครหลวงสามารถให้บริการคิดเป็นพื้นที่ 680 ตารางกิโลเมตร

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

    1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา
    2. ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
    3. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการด้านการประปา

4. การประปาส่วนภูมิภาค

การประปาส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยสำรวจจัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการผลิตจัดส่ง และจำหน่วยน้ำประปาบริการแก่ประชาชน ในเขตท้องถิ่นในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ยกเว้นเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมทั้งให้บริการความสะดวกต่าง ๆ แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบให้เพียวพอกับความต้องการในการติดตั้ง ประปาขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา กำหนดอัตราการจ่ายน้ำประปา และค่าบริการติดตั้งประปา

ประวัติความเป็นมา : History

การประปาในส่วนภูมิภาค อาจพบได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการขุดทำนบกั้นน้ำในทะเลชุบศร ที่เมืองลพบุรี สร้างเป็นเขื่อนเก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี โดยมีการวางท่อดินเผาจากทะเลชุบศรไปสู่สระพักน้ำ แล้ววางท่อขนาดใหญ่เข้าสู่เมืองลพบุรี แจกจ่ายไปตามที่สำคัญ ๆ เช่น พระราชวัง วัด โรงทานสำหรับประชาชน เป็นต้น สำหรับในสมัยรัตนโกสินทร์ กองประปาภูมิภาค ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2496 สังกัดกรมโยธาเทศบาลในสมัยนั้น และได้เปลี่ยนมาเป็นกรมโยธาธิการในภายหลัง จนกระทั่งวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2521 คณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการให้รวมกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ ซึ่งมีการประปาที่อยู่ในเขตเมืองทั่วประเทศ จำนวน 187 แห่ง จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ชื่อว่า การประปาส่วนภูมิภาค ดังนั้น การประปาส่วนภูมิภาค จึงได้ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ.2522 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรทะรวงมหาดไทย

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

    1. ประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปา โดยการสำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบและจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา
    2. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การให้บริการสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ
    3. ดำเนินการเพื่อจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่ ซึ่งอยู่นอกเขตที่ทำการประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการ แต่การประปาส่วนภูมิภาคอาจดำเนินการจำหน่ายน้ำประปา ในเขตที่การประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการประปานครหลวงแล้ว

5. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ให้ดำเนินงานในรูปรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการก่อสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษ บำรุงรักษาทางพิเศษ จัดดำเนินการหรือควบคุมธุรกิจเกี่ยวกับระบบการขนส่งมวลชน ตลอดจนดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการจราจรและการขนส่ง ช่วยขจัดปัญหาและอุปสรรคในส่วนที่เกี่ยวกับเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสำคัญ ๆ ทุกภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่อาจให้บริการความสะดวกรวดเร็วในการจราจรและการขนส่งได้เท่าที่ควร "ทางพิเศษ" หมายถึง ทางหรือถนน ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ไม่ว่าในระดับพื้นดิน เหนือพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ และหมายความรวมถึงทางซึ่งใช้สำหรับรถรางเดียว หรือรถใต้ดิน สะพานอุโมงค์ เรือสำหรับขนส่งรถข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นลงรถ ทางเท้า ที่จอดรถ เขตทาง ไหล่ทาง เขื่อนกั้นน้ำ ท่อทางระบายน้ำ และอาคาร หือสิ่งอันเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับงานทางพิเศษ

ประวัติความเป็นมา : History

โดยเหตุที่ปรากฏว่ากรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยมิได้มีการควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการวางผังเมืองที่ดี จึงเกิดปัญหาสำคัญ ๆ ขึ้นมาหลายประการ อาทิ การใช้ที่ดินไม่เหมาะสม บริการทางด้านสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ การขาดแคลนที่อยู่อาศัย และปัญหาที่ร้ายแรงก็คือ ปัญหาการจราจรและการขนส่งติดขัด ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากจะคำนวณเป็นตัวเงิน ก็ตกปีละนับพันล้านบาท ดังนั้น ในปี พ.ศ.2509 รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาสำรวจแก้ไขเหตุขัดข้องและวางแผนการจราจรทางบก" เพื่อแก้ไขปัญหานี้ และต่อมาในปี พ.ศ.2512 คณะกรรมการชุดนี้ก็ได้เสนอความเห็นต่อรัฐบาล ขอให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติติดต่อขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจ ศึกษาและวางแผนแม่บทสำหรับการจราจรในกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ.2513 กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ได้เสนอความเห็นว่า การแก้ไขปัญหาการจราจรในพระนครและธนบุรีนั้น ควรจะดำเนินการก่อสร้างระบบถนนขึ้นใหม่อีกระบบหนึ่งโดยใช้เงินกู้ และได้เสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง" ให้คณะกรรมการนี้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง โดยให้อำนาจหน้าที่อย่างเพียงพอแก่การดำเนินงาน และเห็นควรให้องค์การนี้ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2513 เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทางขึ้น โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของเรื่อง แลเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2514 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทางประกอบด้วยการรวม 16 นาย โดยมีนายถวิล สุนทรศารทูล เป็นประธานกรรมการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทางได้ประชุมปรึกษาในหลักการ และวางแผนการดำเนินงานจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง และได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้น 2 คณะ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2514 คือคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายองค์การเก็บค่าผ่านทาง และคณะกรรมการพิจารณาจัดรูปองค์การเก็บค่าผ่านทาง กระทรวงมหาดไทยได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่รวม 4 นาย ไปศึกษาดูงานด้านกฎหมาย และทางด้านการดำเนินการขององค์การเก็บค่าผ่านทางที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่างกฎหมาย และการพิจารราจัดรูปองค์การ คณะเจ้าหน้าที่ได้ศึกษาดูงานในประเทศดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายองค์การเก็บค่าผ่านทาง ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ "การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ต่อคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป แต่เนื่องด้วยในขณะนั้นเป็นสมัยรัฐบาลคณะปฏิวัติ คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้ยกร่างแก้ไขจากรูปพระราชบัญญัติเดิม เป็นประกาศของคณะปฏิวัติ และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้น ให้ดำเนินงานในรูปรัฐวิสาหกิจ หลังจากออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 แล้ว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 กระทรวงมหาดไทยนำเสนอ และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้แต่งตั้งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รวม 11 นาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2516 แต่งตั้งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้น ทำหน้าที่วางนโยบาย และควบคุมกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย คณะกรรมการฯ ชุดแรกมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ชุดปัจจุบันมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

    1. สร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและ รักษาทางพิเศษ
    2. จัดดำเนินการหรือควบคุมธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่ง โดยรถรางเดียวและรถใต้ดิน
    3. ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ

6. การเคหะแห่งชาติ

การเคหะแห่งชาติมีหน้าที่ดำเนินการด้านพัฒนาที่อยู่อาศัย จัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างเคหะ เพื่อให้ประชาชน เช่า เช่าซื้อ และซื้อ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยให้คนรายได้น้อยและปานกลาง ดำเนินการปรับเปลี่ยนปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมเป็นเคหะ จัดสร้างที่อยู่อาศัย และแก้ปัญหาชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาค ตลอดจนแก้ปัญหาชุมชนบุกรุกใต้สะพาน เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี นอกจากนี้ ยังประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน จัดหาแหล่งเงินกู้ หรือค้ำประกันเงินกู้แก่ประชาชนหรือบุคคล ดำเนินงานตามแผนวิสาหกิจ จัดทำเมืองใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาของเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและตามเมืองใหญ่ ๆ ในภูมิภาค จัดโครงการเคหะข้าราชการ โครงการสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย

ประวัติความเป็นมา : History

เมื่อปี พ.ศ.2483 ปัญหาหารขาดแคลนที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเริ่มมีปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ประชาชนในชนบทได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับอนาคต รัฐบาลจึงต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาในระยะเริ่มต้น ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้ง "กองเคหะสถานสงเคราะห์" สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างบ้านให้สมาชิกนิคมสร้างตนเองในชนบท หลังจากนั้นได้สร้างอาคารสงเคราะห์สำหรับประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีการสร้างอาคารสงเคราะห์สำหรับประชาชนที่ถนนราชวิถี-รางน้ำ ขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ.2493 และสร้างอาคารสงเคราะห์เพิ่มขึ้นที่ถนนสวรรคโลก และโครงการเคหะชุมชนดินแดงห้วยขวางในระยะเวลาต่อมา ปี พ.ศ.2494 รัฐบาลได้จัดตั้ง "สำนักงานอาคารสงเคราะห์" สังกัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้มีหน้าที่ในการสร้างอาคารสงเคราะห์ สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้เช่าอยู่อาศัย รัฐบาลได้จัดตั้ง "ธนาคารอาคารสงเคราะห์" เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริมและเพิ่มอาคารสงเคราะห์ให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดิน ส่งเสริมการดำเนินงานสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน นอกจากหน้าที่สร้างที่อยู่อาศัยดังกล่าวแล้ว ยังได้ดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี รัฐบาลจึงได้ตั้ง "สำนักงานปรับปรุงแหล่งชุมชน" ขึ้น สังกัดเทศบาลกรุงเทพ เพื่อรักษาป้องกัน และรื้ออาคารที่เสื่อมโทรมผุพัง ให้อยู่ในสภาพที่น่าอยู่อาศัย การพัฒนาที่อยู่อาศัยก่อนการจัดตั้งการเคหะแห่งชาติ มีปัญหาอุปสรรคหลายประการ เพื่อดำเนินการให้บรรลุคงงามสำเร็จตามเป้าหมายในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนโดยตรง การเคหะแห่งชาติจึงได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ โดยให้มีการจำแนกบทบาท และได้กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติ ดังนี้

    1. จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน เช่า เช่าซื้อ และซื้อ
    2. ให้มีการช่วยเหลือการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะเป็นของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์จะจัดให้มีเคหะขึ้น เพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อ และซื้อ
    3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือการจัดหาที่ดิน
    4. ปรับปรุงหรือรื้อแหล่งเสื่อมโทรม

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

    1. จัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย
    2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะเป็นของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์ จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช. ในการจัดให้มีเคหะขึ้นเพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อ หรือซื้อ
    3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน
    4. ปรับปรุง รื้อ หรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมเพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมดีขึ้น
    5. ประกอบกิจการอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
    6. สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนอง ว่าจ้าง รับจ้าง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สิทธิอื่น หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
    7. ให้กู้ยืมเงินหรือจัดหาแหล่งเงินกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะเป็นของตนเอง
    8. ให้กู้ยืมเงินหรือจัดหาแหล่งเงินกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ประชาชนผู้ประสงค์จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช. ในการจัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชน เช่า เช่าซื้อ หรือซื้อตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี
    9. จัดหาที่ดินและวัสดุก่อสร้างสำหรับการก่อสร้างเคหะ
    10. จัดให้มีหรือพัฒนาสาธารณูปโภคหรือบริการอื่นที่จำเป็น เพื่อให้สภาพการอยู่อาศัยดีขึ้น
    11. กู้ยืมเงินในประเทศหรือต่างประเทศ หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
    12. ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน
    13. เข้าร่วมดำเนินกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์ของ กิจ

ตัวอย่างผู้ให้บริการด้านสาธารณูปการ (1)

ตัวอย่างผู้ให้บริการด้านสาธารณูปการ (2)


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2549
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com