บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2549

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

chumpot@hotmail.com

ตัวอย่างองค์กรในประเภทสาธารณูปการ (ต่อ)

7. องค์การตลาด

องค์การตลาดมีหน้าที่ดำเนินการจัดและอำนวยการบริการตลาด สำรวจ จัดหาสถานที่ เพื่อจัดสร้างตลาดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค, จัดส่งเครื่องบริโภคและเชื้อเพลิง ให้หน่วยราชการจัดตลาดนัดจำหน่ายสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคราคาถูก ในปัจจุบันมีการดำเนินงาน ให้เช่าสถานที่ประกอบการค้าผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวม 5 แห่ง คือ

    1. ตลาดกลางผักและผลไม้ ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร
    2. ตลาดกลางเกษตรกรสาขาหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
    3. ตลาดกลางเกษตรกรสาขาลำพูน จังหวัดลำพูน
    4. ตลาดกลางเกษตรกรสาขาบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
    5. ตลาดกลางเกษตรกรสาขาตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมา : History

ในรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพระอารามหลวงวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) เป็นพระอารามเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป และเป็นที่ท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่สภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบพระอารามในระยะนั้นมีแต่ความสกปรก รกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ มีสภาพคล้ายแหล่งสลัม ทั้งนี้เนื่องจากได้มีพ่อค้าแม่ค้าปลูกเพิงพักอาศัย และวางสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคนานาชนิดขายอยู่เป็นประจำ และเป็นการถาวรไม่มีกำหนดเวลา สร้างปัญหาให้แก่วัด ประชาชน และแก่ทางราชการเป็นอันมาก ซึ่งถ้าทางราชการจะไล่เสีย พ่อค้าแม่ค้าและครอบครัวก็จะเดือดร้อน ไม่มีที่ทำมาหาเลี้ยงชีพ รัฐบาลจึงตั้งปัญหาโดยจัดตั้งองค์การตลาดขึ้น ใช้พื้นที่บริเวณปากคลองตลาด ซึ่งเป็นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางน้ำและทางบก เพื่อจัดตั้งตลาดกลางผักและผลไม้ขึ้นรองรับ และเพื่อความสมบูรณ์ องค์การตลาดจึงได้ถือโอกาสย้ายผู้ค้าส่งตลาดผักสดกรมภูธเรศน์ (ตลาดเก่า เยาวราช) ให้มารวมกันอยู่ที่ปากคลองตลาดเป็นแห่งเดียวกัน องค์การตลาดถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 โดย "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ.2496" ซึ่งในครั้งแรกที่จัดตั้งนั้น สังกัดอยู่กับกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย มีเงินทุนสำหรับดำเนินกิจการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งฯ จำนวน 15,000,000 บาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม 5,000,000 บาท และจะจ่ายเพิ่มเป็นคราว ๆ ไป ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร แต่ในความเป็นจริง เงินทุนเริ่มต้นที่ องค์การตลาดได้รับจากงบประมาณแผ่นดินมีเพียง 2,000,000 บาท เท่านั้น องค์การตลาดจึงต้องกู้จากธนาคารออมสินเพิ่มอีกจำนวน 15,000,000 บาท รวมเป็นเงินทุนเพื่อการดำเนินงานขั้นต้นทั้งสิ้น 17,000,000 บาท ต่อมารัฐบาลเห็นว่ากรมประชาสงเคราะห์มิได้มีหน้าที่โดยตรงที่จะบริหารงานด้านนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดได้ ตลอดจนเป็นระยะเริ่มต้นของการดำเนินกิจการ ดังนั้นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ กรมประชาสงเคราะห์จึงโอนองค์การตลาดให้ไปสังกัดอยู่กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2501 ตามนโยบายของรัฐบาล เพราะได้เล็งเห็นว่ากรมการค้าภายในมีหน้าที่เกี่ยวกับธุรกิจการพาณิชย์อยู่แล้ว คงจะสามารถดำเนินกิจการขององค์การตลาดได้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ในระยะ 4 ปีต่อมาที่องค์การตลาดสังกัดอยู่กับกรมการค้าภายใน กิจการก็ไม่เจริญก้าวหน้าตามความคาดหมายไว้ รัฐบาลจึงมีนโยบายเปลี่ยนแปลงใหม่ โดย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้โอนองค์การตลาดมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2505 องค์การตลาดจึงเป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เจริญก้าวหน้า มีผลกำไรจากการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน

หน้าที่และความรับผิดชอบ : Authorities and Responsibilities

    1. จัดสร้างตลาดสาธารณะให้เพียงพอแก่ความต้องการ
    2. ปรับปรุงตลาดสาธารณะที่มีอยู่แล้วให้ถูกสุขลักษณะ และทันสมัย
    3. ส่งเสริมตลาดเอกชน
    4. จัดและส่งเสริมการผลิตโภคภัณฑ์ให้พอแก่ความ ต้องการของตลาด
    5. จัดการขนส่งโภคภัณฑ์ไปสู่ตลาดให้เป็นไป โดยสะดวก
    6. จัดดำเนินการ ควบคุม และอำนวยบริการ เกี่ยวกับตลาดขององค์การ
    7. สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย ยืม ให้ยืม เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ครอบครอง หรือดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ บริการหรือทรัพย์สินใด ๆ อันเกี่ยวกับตลาด
    8. กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคล หรือด้วยทรัพย์ หรือรับทรัพย์สิน ที่มีผู้อุทิศให้เพื่อสร้างตลาด และปรับปรุงตลาด
    9. ทำการค้าและขนส่งสินค้า
    10. ออกเงินลงทุน หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด เพื่อจัดตั้งหรือ จัดดำเนินการตลาด
    11. วางระเบียบในการจัดตลาดขององค์การ
    12. กระทำการอื่นใดเพื่อส่งเสริมตลาดและการผลิต โภคภัณฑ์ เพื่อให้พอแก่ความต้องการของตลาด

การประปา

การประปานครหลวง กิจการประปาในประเทศไทยได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยความเป็นอยู่ของพสกนิกร และมีพระราชประสงค์ให้คนไทยได้มีน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาด ปลอดภัย ทัดเทียมกับอารยะประเทศในขณะนั้น กิจการประปาแห่งแรกในกรุงเทพมหานครจึงถือกำเนิดขึ้น โดยการก่อสร้างคลองรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดปทุมธานีมาผลิตน้ำประปาที่โรงกรองน้ำสามเสน งานแล้วเสร็จสามารถผลิตและส่งน้ำให้แก่ประชาชนได้ในต้นราชกาลสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวภายใต้ชื่อ “กิจการประปาสยาม” เมื่อ ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้รับฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้ชื่อ “การประปานครหลวง” ใช้ชื่อย่อว่า กปน. (Metropolitan Waterworks Authority:MWA ) สังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2510 มีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม เป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน บริหารงานโดยคณะกรรมการการประปานครหลวง และผู้ว่าการ การประปานครหลวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ ท สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการประปา ท ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ท ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นประโยชน์แก่การประปา

สถานที่ติดต่อบริการประปา

สำนักงานประปาสาขา

    1. บางกอกน้อย สถานที่ตั้งเลขที่ 258 ซอยจรัญ 30/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย ติดต่อขอใช้บริการ โทร. 411-3116, 411-2098 โทรสาร 412-9166
    2. ภาษีเจริญ สถานที่ตั้งอยู่ตรงข้ามธนาคารกรุงไทย สาขาท่าพระ ถนนเพชรเกษม เขตบางกอกใหญ่ ติดต่อขอบริการ โทร.457-0369 ,467-4288-91 โทรสาร 457-3404
    3. ตากสิน สถานที่ตั้งเลขที่ 55/2 หมู่ 6 ถนนพระราม 2 เขตจอมทอง ติดต่อขอใช้บริการ โทร.428-4928, 427-6000 โทรสาร 427-7773
    4. นนทบุรี สถานที่ตั้งเลขที่ 77/1 ถนนสนามบินน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ติดต่อขอใช้บริการ โทร.589-0034, 589-0038-8 ต่อ 42 โทรสาร 580-5964
    5. บางเขน สถานที่ตั้งเลขที่ 1/103 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน ติดต่อขอใช้บริการ โทร.552-1550-4, 552-2245 โทรสาร 521-1176
    6. พญาไท สถานที่ตั้งเลขที่ 23/22 ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณบ้านพักรถไฟ กม.11 ติดต่อขอใช้บริการ โทร.537-8228, 573-8255 โทรสาร 573-8227
    7. แม้นศรี สถานที่ตั้งเลขที่ 372 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ ติดต่อขอใช้บริการ โทร.226-5893, 223-0040-9 โทรสาร 226-5894
    8. ทุ่งมหาเมฆ สถานที่ตั้ง 9/2 ถนนนางลิ้นจี่ เขตสาธร ติดต่อขอใช้บริการ โทร. 286-3012,286-0174-5 โทรสาร 826-0153
    9. สุขุมวิท สถานที่ตั้ง อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจดับเพลิงพระโขนง ถนนสุขุมวิท ติดต่อขอใช้บริการ โทร.331-0028-32, 332-8985 โทรสาร 331-7533
    10. พระโขนง สถานที่ตั้ง อยู่ข้ามสถานีตำรวจดับเพลิงพระโขนง ถนนสุขุมวิท ติดต่อขอใช้บริการ โทร. 331-0028-32,331-57479 โทรสาร 331-1117
    11. สมุทรปราการ สถานที่ตั้งเลขที่ 1 ซอยวินิตเนรมิตร เชิงสะพานข้ามคลองมหาวงษ์ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ติดต่อขอใช้บริการ โทร. 384-1411-2 โทรสาร 384-5243
    12. ลาดพร้าว สถานที่ตั้งเลขที่ 591 ซ.จำเนียรเสริม ถนนประชาอุทิศ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ติดต่อขอใช้บริการ โทร.934-4432-6 โทรสาร 934-4815
    13. ประชาชื่น สถานที่ตั้งเลขที่ 87/1 หมู่ 18 ซ. เสริมสุข ถ.ประชาชื่น แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ติดต่อขอใช้บริการ โทร.585-0319, 585-0490,585-3889, 585-5546, 585-7444

การชำระค่าน้ำประปา

การประปานครหลวงได้ตระหนักดีว่าการบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้น้ำด้วยความรวดเร็วและดีที่สุดเป็นภารกิจที่สำคัญของการประปานครหลวงที่ต้องให้บริการผู้ใช้น้ำ ดังนั้นจึงได้ปรับปรุงบริการชำระเงินค่าน้ำประปา โดยทางเลือกที่หลากหลายดังนี้

ชำระกับพนักงานเก็บเงิน
ณ บ้าน/ สถานที่ใช้น้ำ
ชำระเป็นเงินสด
ชำระเช็คสั่งจ่าย “การประปานครหลวง”
ชำระด้วยตนเอง
ณ สำนักงานประปาสาขา 8.30-15.30 น.
ชำระเป็นเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต
ชำระเป็นดร๊าฟ ตั๋วแลกเงิน เช็คสั่งจ่าย “การประปานครหลวง”

ชำระทาง ATM
ผ่านบัตร ATM ธนาคาร โดยเลือกรายการชำระค่าน้ำ จากเครื่อง ATM แล้วกดตัวเงินทีชำระ เมื่อได้รับบัตรบันทึกรายการให้นำใบแจ้งค่าน้ำประปาและบัตรบันทึกรายการบรรจุซองใส่ในช่องของเครื่อง ATM มีธนาคาร 7 แห่ง คือ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.นครหลวงไทย ธ.ทหารไทย และ ธ.สยาม

ชำระทางไปรษณีย์ ไม่รับเงินสด
- ชำระโดยเช็คสั่งจ่าย “การประปานครหลวง”
- ชำระด้วยธนาณัติ ดร๊าฟ ตั๋วแลกเงิน
- แนบ “ใบแจ้งค่าน้ำประปา” มาพร้อมกับการชำระเงินทุกครั้ง
- ระบุทะเบียนผู้ใช้น้ำด้านหลังเช็ค หรือธนาณัติ หรือดร๊าฟ หรือตั๋วแลกเงิน

ชำระโดยหักบัญชีธนาคาร

นองจากการชำระค่าน้ำวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวช้างต้นแล้ว การประปานครหลวงยังมีการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าใช้บริการโดยการส่งเสริมให้ผู้ใช้น้ำชำระค่าน้ำประปา โดยวิธีการหักบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ใช้น้ำ
ข้อดีของการชำระค่าน้ำประปาโดยการหักบัญชีเงินฝาก ธนาคาร
- ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะมีพนักงานมาเก็บเงินค่าน้ำที่บ้านเมื่อไร
- เดิมทีถ้าพนักงานมาเก็บค่าน้ำแล้ว ไม่มีใครอยู่บ้านท่านจะต้องไปชำระเงินค่าน้ำที่สำนักงานประปาสาชา แต่ถ้าท่านชำระค่าน้ำผ่านธนาคารเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น
- เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในระบบการจัดเก็บเพื่อจะได้นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาด้านบริการอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น

การให้บริการที่ท่านจะได้รับความสะดวกและไม่ผิดพลาด
- ส่งใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาให้ท่านทราบล่วงหน้าทุกเดือน
- ส่งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาให้ท่าน หลังจากธนาคารได้หักค่าน้ำประปาจากบัญชีเงินฝากของท่านแล้ว
- กรณีใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาไม่ถ็กต้องและหักบัญชีของท่านไปแล้วทางการประปานครหลวงจะรีบดำเนอนการคืนเงินเข้าบัญชีของท่านโดยเร็วที่สุด

การขอใช้บริการ

หากผู้ใช้น้ำประสงค์จะใช้บริการชำระค่าน้ำโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคารผู้ใช้น้ำที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร หรือผู้แทนยื่นความจำนงต่อธนาคารเพื่อขอหักค่าน้ำประปาจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ชำระค่าน้ำประปาผ่านบริการบัวหลวงโฟน หรือบัวหลวงพรีเมียร์ เป็นการชำระค่าน้ำประปาทางโทรศัพท์ ผ่านบริการของธนาคารกรุงเทพโดยเฉพาะผู้ใช้น้ำประปาธุรกิจและราชการและอุตสาหกรรม ผู้ใช้บริการจะต้องรับภาระค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร สำหรับการชำระค่าน้ำประปาโดยผ่านบริการบัวหลวงโฟนนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้น้ำโดยเฉพาะผู้ประกอบการการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเพราะสามารถใช้บริการได้ตลด 24 ชั่วโมง โทร.636-5000เพียงแต่ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้ยินทางโทรศัพท์เท่านั้น

ข้อแนะนำสำหรับการเป็นผู้ใช้น้ำ
กรณีค้างชำระค่าน้ำประปา
ปฏิบัติดังนี้โดยเร็ว
- ติดต่อชำระเงินค่าน้ำที่ค้างชำระทั้งหมดที่สำนักงานประปาที่ท่านใช้น้ำบริการ กรณีถูกรื้อเส้นท่อให้นำหลักฐานไปแสดงดังนี้
- ใบเสร็จค่าน้ำประปาเดือนสุดท้าย
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สัญญาซื้อขาย (ถ้าเป็นการซื้อบ้านต่อจากผู้อื่น

ถ้าท่านต้องการย้ายมาตรวัดน้ำจะทำอย่างไร
- ให้ท่านนำเอกสาร เช่นใบเสร็จค่าน้ำประปามายื่นคำขอที่สำนักงานประปาสาขาที่ท่านใช้น้ำอยู่
ถ้าบ้านท่านไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานาน
- ยื่นคำขอฝากมาตรวัดน้ำไว้กับสำนักงานประปาสาขาที่ใช้บริการอยู่
ถ้าท่านมีการซื้อขายบ้านจะต้องจัดการกับสิทธิการใช้น้ำประปาอย่างไร
- ติดต่อสำนักงานประปาสาขาที่บ้านที่มีการซื้อขายอยู่ให้ครวจสอบหนี้ค้างชำระก่อนทำการชื้อขายบ้าน
- ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำภายใน 15 วันหลังจากการซื้อขายโดยใช้เอกสารดังนี้
- หนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้โอน ผู้รับโอน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้โอนและผู้รับโอนหรือรับมอบอำนาจ
- ในเสร็จรับเงินค่าติดตั้งประปาครั้งแรก (ผู้โอนเซ็นชื่อ สลักหลังใบเสร็จ) ถ้าไม่มีต้องวางเงินประกันใหม่
- ใบเสร็จค่าน้ำประปาเดือนสุดท้าย

การใช้น้ำอย่างถูกวิธี
เมื่อเปิดก๊อกน้ำประปาในตอนเช้า พบว่ามีสีน้ำตาลแดงจะทำอย่างไร
น้ำมีสีน้ำตาลแดง เพราะสภาพสนิมเหล็กที่เกิดภายในท่อประปาหรือข้อต่ออุปกรณ์ท่อภายในบ้านที่เป็นชนิดเหล็กอาบสังกะสีเสื่อมสภาพ ควรปล่อยน้ำทิ้งไปสักระยะก่อนนำมาใช้หรือนำไปรดต้นไม้เพื่อการประหยัดควรสำรวจและเปลี่ยนท่อภายในที่เป็เหล็กอาบสังกะสีซึ่งหมดสภาพการใช้งานโดยเฉพาะเมื่อติดตั้งใช้งานแล้วประมาณ 5 ปี ควรใช้ท่อประปาภายในชนิดพลาสติก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

จะทำอย่างไรเมื่อน้ำประปามีรสเฝื่อน
น้ำประปามีรสเฝื่อนที่เกิดจากกลิ่นคลอรีน ควรปฏิบัติดังนี้

    1. ควรใส่น้ำในภาชนะที่เป็นแก้วหรือพลาสติกที่สะอาดทิ้งไว้ เพื่อให้กลิ่นคลอลีนหมดไปสักระยะ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น
    2. หากไม่คุ้นเคยกับกลิ่นคลอรีนที่เติมในน้ำประปา อาจจะนำน้ำประปาไปต้มประมาณ 5 นาที คลอรีนจะระเหยหมดไป แต่จะต้องเก็บรักษาน้ำที่ต้มแล้วให้ดี เพราะอาจจะปนเปื้อนได้ในภายหลัง (เมื่อไม่มีคลอรีนฆ่าเชื้อโรคหลงเหลืออยู่)
    3. การเติมน้ำมะนาวหรือสารอย่างอื่น เช่น ใบเตยหอม , มะตูมในน้ำแล้วแช่ในตู้เย็น จะทำให้มีรสที่ชวนดื่ม

ควรติดตั้งเครื่องกรองน้ำหรือไม่
น้ำประปาที่มีกลิ่นคลอรีนเหลือในน้ำแสดงถึงความปลอดภัยต่อการดื่มและปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ในน้ำจึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องกรองน้ำแต่หากผู้ใช้น้ำไม่ต้องการให้มีกลิ่นคลอรีนในน้ำประปา อาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้งานด้วย ควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำชนิดผลิตน้ำกลั่นหรือชนิด Reverse Osmosis ที่อาจจะสกัดเอาสารเคมี เกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายออกไป ควรทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นอาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

น้ำดื่มบรรจุขวด เหมาะสมเป็นน้ำดื่มหรือไม่
น้ำดื่มบรรจุขวด สะดวกในการดื่มในขณะเดินทางนอกบ้าน แต่ควรระมัดระวังน้ำดื่มที่ไม่ได้มาตราฐานภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดที่ปรุงรสหรือเติมเกลือแร่บางชนิดเป็นพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ และควรตอบสอบหลักฐาน การอนุญาตผลิตภัณฑ์ อย. ให้แน่ชัด เมื่อซื้อน้ำบรรจุขวด

โรคเอดส์ สามารถติดต่อผ่าทางน้ำดื่มได้หรือไม่
“ AIDS” ได้มีการยืนยันอย่างแน่นอนว่าโรคเอดส์ไม่สามารถติดต่อผ่านทางน้ำดื่มคุณไม่สามารถได้รับเชื้อโรคเอดส์จากการดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคเอดส์เข้าไปเพราะเชื้อไวรัสนี้ต้องผ่านทางเลือดโดยตรงและเชื้อไวรัสก็ยังอ่อนแอเมื่ออยู่ภายนอกร่างกายและไม่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วอีกด้วยถึงแม้ว่าในที่สุดเชื้อโรคเอดส์จะมีอยู่ในน้ำ มันก็จะถูกทำลายอย่างง่ายดายระหว่างขั้นตอนของกรรมวิธีการผลิต

ข้อแนะนำการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
บ้านที่มีบริเวณควรดัดแปลงรดน้ำต้นไม้สนามหญ้าให้น้อยลง หรือ เปลี่ยนรูปแบบของสนามใหม่ เช่น ใช้ไม้และหินแต่งสนามแทนการปลูกหญ้า หากบ้านใดมีพิ้นที่กว้างง ควรขุดบ่อตื้นใกล้บริเวณที่คิดว่าจะมีน้ำซึมจากดินขึ้นมาไว้ลดน้ำต้นไม้ จัดเตรียมภาชนะเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ให้ได้อย่างน้อย 1 วันเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินน้ำไม่ไหล น้ำที่ใช้แล้ว เช่นน้ำสุดท้ายในการซักผ้า กลับมาใช้ในการถูบ้าน ล้างห้องน้ำ หรือรดน้ำต้นไม้ สำรวจท่อรั่วภายในบ้านตรวจก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ดี ไม่มีการรั่วไหล

คุณภาพน้ำประปาที่ผลิตมาตราฐานขององค์การอนามัยโลก น้ำที่ผลิตตามกรบวนการที่ผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวงได้รับการตรวจสอบโดยนักวิทยสศาสตร์ตลอด 24 ชม. เพื่อให้เป็นไปตามมาตราฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งตรวจซุมตัวอย่างน้ำประปามาวิเคราะห์ กองควบคุมคุณภาพน้ำของการประปานครหลวง โทร . 0-2270-0998 นอกเหนือจากความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงขยายการบริการให้น้ำประปาสดอคล้องกับสภาพความเจริญเติบโตของชุมชนเมืองทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพที่ได้มาตราฐานและสามารถดื่มได้ทุกที่ช่วยให้ประชาชนหันมาดื่มน้ำประปาแทนการบริโภคน้ำบรรจุขวด ช่วยลดภาระค่าใช่จ่ายระจำวันอันก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทางด้านเศษรฐกิจของชาติจำนวนไม่น้อยอีกทั้งปัญหามลพิษขยะพลาสติกที่มีผลต่อสภาพสังคมสิ่งวแวดล้อมอีกด้วย การประปานครหลวงจึงได้ดำเนินการในโครงการประกาศเขตพื้นที่น้ำประปาดื่มได้ตั้งแต่ปี 2539 ด้วยความร่วมมือสนับสนุนของกระทรวงสาธรณสุขในการตรวจสอบติดตามและรับรองคุณภาพน้ำเพื่อประกาศพื้นที่เป็นเขต ๆ และขยายออกไปอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการควบคุมมาตราฐานของน้ำประปาในระบบการผลิตจ่ายน้ำ และการปรับปรุงระบบท่อประปา

โทรศัพท์ที่ควรรู้

สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ 13 และ 183

แจ้งโทรศัพท์ขัดข้อง (ตามด้วยหมายเลขสามตัวแรก) 17 XXX
การประปานครหลวง 125
สอบถามพยากรณ์อากาศ น้ำท่วม 258-2056
บริษัท ประปานครหลวงบริการ จำกัด 504-0123


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2549
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com