บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2549
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
chumpot@hotmail.com
ตัวอย่างผู้ให้บริการธุรกิจสาธารณูปการ (ต่อ)
การสื่อสารแห่งประเทศไทย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม และธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกัน หรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ทั้งนี้เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอื่นโดยเฉพาะ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้
1. หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ
2. หน่วยงานด้านบริหาร
3. หน่วยงานด้านเศรษฐกิจและการตลาด
4. หน่วยงานด้านโทรคมนาคม
5. หน่วยงานด้านไปรษณีย์
ประเภทของที่ทำการ
1. ที่ทำการในความควบคุมและบังคับบัญชาของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.1 ศูนย์ไปรษณีย์ (MAIL CENTRE) คือ ที่ทำการซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการคัดแยกและส่งต่อสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
1.2 ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก (BULK POSTING CENTRE) คือ ที่ทำการซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการรับฝากสิ่งของส่งทางไปรษณีย์จากผู้ใช้บริการรายใหญ่ซึ่งมีปริมาณการฝากส่งคราวละมาก ๆ รวมทั้งการให้บริการด้านลูกค้าสัมพันธ์แก่ผู้ใช้บริการรายใหญ่ด้วย
1.3 ที่ทำการไปรษณีย์ (POST OFFICE) คือ ที่ทำการซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการไปรษณีย์ บริการการเงินและบริการโทรคมนาคมบางประเภท
1.4 ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตเอกชน (PRIVATE LICENSED POST OFFICE) คือ ที่ทำการซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการไปรษณีย์ บริการการเงิน (เฉพาะที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตเอกชนบางแห่ง) และบริการโทรคมนาคมบางประเภท โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
1.5 ร้านจำหน่ายตราไปรษณียากร (POSTAGE STAMPS AGENCY) คือ ที่ทำการซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการจำหน่ายตราไปรษณียากร
การสื่อสารแห่งประเทศไทยและหน้าที่ความรับผิดชอบ
กิจการไปรษณีย์โทรเลขแต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งดำเนินงานด้านนี้มาตั้งแต่ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีการแยกกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคมด้านปฎิบัติการออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ตาม พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งมีชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ดังนี้
1. ดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อ
ประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน
2. ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม
3. ดำเนินธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการไปรษณีย์และ
โทรคมนาคม
ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอื่นโดยเฉพาะ
ปัจจุบัน กสท. ได้ให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ให้บริการไปรษณีย์ในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น การรับฝากและนำจ่าย
จดหมาย ของตีพิมพ์ พัสดุไปรษณีย์ด่วนพิเศษ เป็นต้น
2. ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น โทรเลข เทเล็กซ์ โทรศัพท์
ระหว่างประเทศ วิทยุติดตามตัว วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า เป็นต้น
3. ให้บริการการเงินในประเทศและระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากและ
จ่ายเงินให้ผู้รับ เช่น ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ พัสดุไปรษณีย์เก็บเงิน เป็นต้น
4. ให้บริการอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการของ กสท. เช่น
การส่งเสริมการสะสมไปรษณียากร การจำหน่ายกล่องกระดาษลูกฟูกและซองจดหมาย
มาตราฐาน การจำหน่ายวัสดุกันกระแทก การจำหน่ายตู้รับไปรษณียภัณฑ์ การให้
บริการหุ้มห่อ การจัดส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีทางไปรษณีย์ การรับ
ชำระภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ เป็นต้น
สิ่งของส่งทางไปรษณีย์
1. สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ให้ถือว่าอยู่ในทางไปรษณีย์ตั้งแต่เวลาที่ได้สอดใส่ลงในตู้ไปรษณีย์หรือ
ได้มอบให้แก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จนถึงเวลาที่ได้จ่ายให้ผู้รับ หรือจ่ายคืนผู้ฝากส่งหรือได้จัดการ
เป็นอย่างอื่นตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ระเบียบเกี่ยวกับการไปรษณีย์บัญญัติไว้
สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่อยู่ในทางไปรษณีย์ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฝากส่งเสมอ
2. การสื่อสารแห่งประเทศไทยจะรับผิดชอบต่อสิ่งของส่งทางไปรษณีย์เมื่ออยู่ในทางไปรษณีย์เท่า
นั้น หากสิ่งของนั้นได้พ้นทางไปรษณีย์ไปแล้ว ถือว่าความรับผิดชอบเป็นอันสิ้นสุดลง
3. การสื่อสารแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรับผิดในการที่สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่อยู่ในทาง
ไปรษณีย์สูญหาย ส่งผิด เนิ่นช้า แตกหัก หรือบุบสลาย เว้นไว้แต่ในกรณีพิเศษที่มีกฎหมายหรือ
กฎข้อบังคับระบุไว้แจ้งชัด
4. หากปรากฎว่าสิ่งของที่บรรจุภายในสิ่งของส่งทางไปรษณีย์เกิดการเสียสภาพหรือเน่าเหม็นใน
ระหว่างทางไปรษณีย์จนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ หรืออาจทำให้สิ่งของส่ง
ทางไปรษณีย์อื่น ๆ หรืออุปกรณ์ไปรษณีย์เปรอะเปื้อนหรือเสียหาย การสื่อสารแห่งประเทศไทย
จะสั่งทำลายหรือจัดการอย่างใดตามที่เห็นสมควรแก่สิ่งของส่งทางไปรษณีย์นั้นก่อนกำหนดก็
ได้
สิ่งของนอกทางไปรษณีย์
1. เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้จัดการไปรษณีย์ขึ้นที่ใดแล้ว ห้ามมิให้บุคคลซึ่งไม่ได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 หรือกฎหมายอื่น ส่ง จัดให้ส่ง ฝาก ส่งมอบให้แก่ผู้อื่นเพื่อให้ไปส่งนำส่ง หรือกระทำการอื่นเกี่ยวกับการนำส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรโดยทางอื่นนอกจากทางไปรษณีย์ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
1.1 จดหมายหรือไปรษณียบัตรไม่เกินสามฉบับที่ฝากผู้เดินทาง โดยผู้รับฝากนั้นมิได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง รางวัล หรือผลประโยชน์อย่างใด ๆ ในการนั้น
1.2 จดหมายหรือไปรษณียบัตรที่ได้จัดให้ผู้เดินหนังสือพิเศษถือไปและเกี่ยวข้องด้วยกิจธุระของผู้ฝาก หรือผู้รับจดหมายหรือไปรษณียบัตรนั้นโดยเฉพาะ และผู้เดินหนังสือนั้นต้องห้ามมิได้รับจดหมายหรือไปรษณียบัตรจากผู้อื่น หรือนำส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรให้แก่ผู้อื่น
1.3 จดหมายหรือไปรษณียบัตรที่เกี่ยวข้องเฉพาะสินค้า หรือทรัพย์สินที่ส่งไปโดยทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ ซึ่งจะต้องส่งมอบพร้อมกับสินค้าหรือทรัพย์สินนั้น โดยมิต้องเสียค่าจ้าง รางวัล หรือได้ผลประโยชน์อย่างใด ในการนำไปหรือส่งมอบจดหมายหรือไปรษณียบัตรนั้น แต่จดหมายหรือไปรษณียบัตรนั้นต้องให้เจ้าพนักงานตรวจดูได้ และต้องมีคำว่า จดหมายของผู้รับตราส่ง หรือถ้อยคำอย่างอื่นทำนองเดียวกัน
2. ภายใต้บังคับข้อ 1 ห้ามมิไห้บุคคลต่อไปนี้นำส่ง รับ รวบรวม หรือส่งมอบจดหมายหรือไปรษณียบัตร หรือแม้ตนจะมิได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง รางวัล หรือผลประโยชน์อย่างใด ๆ
2.1 ผู้ทำการรับขนของหรือคนโดยสาร โดยปกติ รวมทั้งผู้ขับ ลูกจ้าง หรือตัวแทนของบุคคลนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จดหมายหรือไปรษณียบัตรอันเกี่ยวข้องกับของซึ่งรับขนนั้น
2.2 เจ้าของ นาย ผู้บังคับการ หรือกะลาสีเรือ หรืออากาศยานที่ผ่าน หรือแล่นไปตามแม่น้ำลำคลอง หรือในอากาศภายในราชอาณาจักร หรือแล่นไปตามชายฝั่งทะเล หรือระหว่างท่าเรือ หรือที่ใด ๆ ภายในราชอาณาจักร หรือระหว่างที่ใด ๆ ภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือลูกจ้าง หรือตัวแทนของบุคคลนั้น ๆ เว้นแต่จดหมายหรือไปรษณียบัตรนั้นเกี่ยวกับของที่รับขนนั้น หรือเป็นจดหมายหรอืไปรษณียบัตรที่ได้รับไว้ เพื่อนำส่งไปโดยได้รับอำนาจจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
3. ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนตามข้อ 1 คือ
3.1 นำส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรโดยทางอื่นนอกจากทางไปรษณีย์ ภายในเขตซึ่ง
การสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิพิเศษที่จะทำการนี้ฝ่ายเดียว
3.2 กระทำการอย่างใด ๆ ที่เกี่ยวแก่การนำส่งจดหมาย หรือไปรษณียบัตรโดยทางอื่น
นอกจากทางไปรษณีย์ภายในเขตซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิพิเศษที่จะทำ
การนี้ได้ฝ่ายเดียว
3.3 ส่งหรือขอให้รับ หรือส่งมอบจดหมายหรือไปรษณียบัตรเพื่อให้ส่งไปโดยทางอื่น นอก
จากทางไปรษณีย์ ภายในเขตซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิพิเศษที่จะทำการ
นี้ได้ฝ่ายเดียว
3.4 รวบรวมจดหมายหรือไปรษณียบัตรเพื่อส่งไปทางอื่นนอกจากทางไปรษณีย์ เว้นแต่ได้
สิทธิพิเศษดังกล่าวข้างต้น
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับตามจำนวนจดหมายหรือไปรษณียบัตรไม่เกินฉบับละ
สิบบาท
4. ผู้ใดนำส่ง รับ ขอให้รับ หรือส่งมอบจดหมายหรือไปรษณียบัตร หรือรวบรวมจดหมายหรือ
ไปรษณียบัตรเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อ 2 ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับตามจำนวนจดหมาย
หรือไปรษณียบัตรไม่เกินฉบับละยี่สิบบาท
5. จดหมายนอกทางไปรษณีย์นั้นจะใส่ห่อซองปิดผนึกหรือเปิดผนึก หรือมิได้ใส่ห่อหรือซองก็ตาม
ย่อมไม่ได้รับสิทธิยกเว้นแต่ประการใด ถ้าใส่ห่อหรือซองจะนับห่อหรือซองหนึ่งเป็นจดหมาย
ฉบับหนึ่ง เว้นแต่ในห่อหรือซองนั้นมีจดหมายรวมกันอยู่หลายฉบับ จะนับแยกออกเป็นฉบับ ๆ
ตามจำนวนจดหมายที่มีอยู่
มาตรา
1. มาตรา 7 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 ประกอบกับมาตรา 4 พระราชบัญญัติการสื่อ
สารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519
2. มาตรา 61 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 ประกอบกับมาตรา 4 พระราชบัญญัติการสื่อ
สารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519
3. มาตรา 63 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477
สิ่งของในห่อซองเดียวกัน
1 ผู้ใดรวบรวมจดหมาย หรือไปรษณียบัตรหลายฉบับถึงบุคคลหลายคนเข้าในห่อหรือซองเดียวกัน
เพื่อส่งทางไปรษณีย์เป็นห่อจดหมาย หรือตนรู้อยู่แล้วขอให้รับหรือส่งมอบจดหมายหรือ
ไปรษณียบัตรเพื่อให้ส่งเป็นห่อจดหมาย เว้นแต่ได้สิทธิพิเศษดังกล่าวข้างต้น ผู้นั้นมีความผิด
ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนจดหมายหรือไปรษณียบัตร ไม่เกินฉบับละสิบบาท
2. การรวบรวมจดหมายหรือไปรษณียบัตรหลายฉบับจากผู้ฝากส่งรายเดียวกันส่งถึงผู้รับรายเดียว
กัน หรือรวบรวมจดหมายหรือไปรษณียบัตรถึงผู้รับหลายราย แต่ผู้รับทั้งหมดนั้นอาศัยอยู่กับผู้
รับตามจ่าหน้าห่อหรือซองใหญ่ไม่ถือว่าเป็นความผิด
3. การรวบรวมไปรษณียภัณฑ์ต่างชนิดไปด้วยกันจะกระทำได้เฉพาะเท่าที่ได้รับอนุญาตจากการ
สื่อสารแห่งประเทศไทย
ผู้จัดทำรายงาน
1. นายมงคล พิพิธไพบูลย์
2. นางกานดา ลือกาญจนวนิช
3. นางสาววิไลรัตน์ สิงหภาณุพงศ์
4. นางวารีพร ศักดิ์น้ำสมบูรณ์
5. นางสุภาภรณ์ วัดอ่อน
หน้าสารบัญ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2549
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com