แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

***เข้าสู่โลกแห่งการศึกษาค้นคว้า ไร้ขอบเขต ไร้กาลเวลา***

สารสนเทศในสังคมความรู้

แหล่งค้นสารสนเทศ
และวิธีการสืบค้น
ในระบบอินเทอร์เน็ต

การค้นสารสนเทศ
จากฐานข้อมูล

การค้นสารสนเทศจากหนังสือ

การค้นสารสนเทศจากวารสาร

การค้นสารสนเทศจาก
หนังสือพิมพ์

การค้นสารสนเทศจาก
สื่อประเภทอื่นๆ

คู่มือที่เกี่ยวข้องกับ
การค้นสารสนเทศ


Home

แหล่งค้นสารสนเทศและวิธีการสืบค้น
ในระบบอินเทอร์เน็ต

พัฒนาการของการค้นข้อมูล เริ่มต้นจากพัฒนาการการให้ข้อมูลในลักษณะอักษรคูนิฟอร์ม อักษรเฮียโรกลิฟฟิก มาจนกระทั่งเป็นตัวอักษรในปัจจุบัน ที่บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว กระดาษปาไปรัส และกระดาษใน ปัจจุบัน ให้บริการผ่านแหล่งให้ข้อมูล คือ ห้องสมุดประเภทต่างๆ สังคมโลกาภิวัตน์ปัจจุบันทำให้ห้องสมุดทุกแห่งกลายเป็นห้องสมุดโลกที่ไร้พรมแดน

ข้อมูลในปัจจุบันได้จากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ จุดใดๆก็ได้จาการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเทอร์เน็ต (Browsers) โดยมีขั้นตอนการค้นข้อมูลดังต่อไปนี้
1. รู้จักที่อยู่ของ Website ที่ต้องการค้น

ในระบบเครือข่าย Internet เราจะสามารถติดต่อกับคน องค์การ สมาคม บริษัท หรือ หน่วยงานต่างๆได้ ทั่วโลกโดยไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถเข้าถึงตัวสารสนเทศได้อย่างมหาศาล ข้อมูลที่ได้รับอาจตรงตามความต้องการ แต่ข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการและเกินความจำเป็น ผู้ใช้ข้อมูลจึงต้องเรียนรู้วิธีการได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ

ผู้ค้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้บริการข้อมูล นั่นคือทราบ url หรือ address ของผู้ให้บริการข้อมูล โดยการพิมพ์คำว่า www ตามด้วยชื่อของผู้ให้บริการข้อมูลลงไปในกรอบเมนู address ของโปรแกรม Browser เช่นการค้นข้อมูลจาก สำนักวิทยบริการ ต้องทราบที่อยู่ url ว่า จะต้องพิมพ์ที่อยู่ คือ lib.kru.ac.th จึงจะสามารถเข้าสู่รายการหน้าแรกของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมความรู้ในโลก

ที่อยู่ของ Website ที่ให้บริการค้นข้อมูล (Search engines) ที่สำคัญๆ ได้แก่

WWW.YAHOO.COM
WWW.LYCOS.COM
WWW.GOOGLE.COM
WWW.MSN.COM

ตัวอย่าง Website ของ Yahoo

ตัวอย่าง Website ของ Lycos

ตัวอย่าง Website ของ Google

2. รู้จักวิธีการค้น

ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Yahoo

ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Google
3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น

เมื่อเริ่มต้นคำค้นจากการพิมพ์คำค้น หรือเลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้น จนกว่าจะได้ข้อมูลฉบับเต็ม (Full text) ที่ต้องการ ดังเช่นผลการค้นข้อมูลเรื่อง English language and teaching จาก Website ของ Google จะได้คำตอบ จำนวนมาก และผู้ค้นจะต้องเลือกรายการต่อไปจนกว่าจะพอใจกับ คำตอบ ที่ได้รับ

ผู้ให้บริการค้นข้อมูลจะอำนวยความสะดวกทั้งจากการจัดทำหน้าจอเมนูสำหรับการค้น และการจัดลำดับ หัวข้อเรื่องสำหรับการค้นเหมือนกับเรากำลังค้นข้อมูลจากตู้บัตรรายการประเภทบัตรเรื่องในห้องสมุด ดังที่ Google ได้จัดทำให้บริการ

ตัวอย่างคำตอบที่ได้รับจากการเลือกรายการที่ต้องการ ในกรณีนี้จะเข้าสู่ Webpage ของ BBC ผู้ค้นข้อมูลสามารถเลือกรายการเมนูต่างๆต่อไปได้

4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบน WWW

กลยุทธ์ในการวางแผนในการสืบค้นข้อมูลบน WWW (Web Search Strategy)

การสืบค้นข้อมูล WWW หากมีการวางแผน หรือวางกลยุทธ์ในการสืบค้นเสียก่อนจะช่วยให้ผลการสืบค้นถูกต้องตามที่ต้องการและใช้เวลา อันสั้น การสืบค้นแบบ Key Word Searching ควรมีกลยุทธ์ซึ่งอาจแบ่งขั้นตอนในการเตรียมตัวได้ 6 ขั้นตอน คือ

1. การตั้งหรือกำหนดคำถามและขอบเขตของคำถามนั้น (Formulate the Question) คือ ผู้ที่ค้นต้องมีหัวข้อ ลักษณะ ประเภท วัตถุประสงค์ และระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการชัดเจน เช่น คำถามเกี่ยวกับฮิตเลอร์เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไร ข้อมูลที่ต้องการได้คือต้องการ ให้เป็นลักษณะบทความหรือหนังสือที่เหมาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยม เพื่อประกอบการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์โลก เป็นต้น

2. การจำแนกแนวคิดในคำถามนั้น ๆ (Identify the Important Concepts) ให้ออกมาเป็นส่วน ๆ โดยอาจใช้ตารางในการกำหนดเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ เช่น ตัวอย่างคำถามต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น เราสามารถแยกประเด็นหลักของคำถามที่ได้ 3 หัวข้อ คือ Japan, export และ electronics อาจนำใส่ตารางเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น

3. การกำหนดคำค้น หรือการแปลคำถามที่ต้องการสืบค้นออกมาเป็นคำค้นให้ถูกต้อง (Identify Search Terms) เป็นจุดสำคัญมากที่จะช่วย ให้การสืบค้นได้ผลถูกต้องในขั้นแรก นอกจากคำหลักแล้วควรกำหนดคำค้นที่มีรูปแบบผันแปรตามหลักภาษาด้วย เช่น Synosyms คือ คำพ้องความหมายเดียวกัน
คำว่า buy มีคำพ้อง order, purchase
คำว่า alien มีคำพ้อง ufo
English dialects คือ ภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น เช่น
color หรือ colour
catalog หรือ catalogue
Truncation คือ คำที่มีรากศัพท์ชุดเดียวกันแตกต่างกันที่ตัวอักษรที่เชื่อมต่อด้านหลัง เช่น
Prevent -
prevention
prevents
prevented
preventing
ect
child -
children
chilhood
ect

4. การเชื่อมคำ (Combining Search Terms) หมายถึง เป็นการระบุให้กลุ่มคำที่เราต้องการสืบค้นให้มีความสัมพันธ์กันโดยมีตัวเชื่อมต่าง ๆ เช่น Phrase Searching คือกลุ่มคำ หรือวลี ที่ปกติมักไปด้วยกันเป็นกลุ่มตามลำดับที่ ระบุตัวอย่างเช่น
World Health Organization
Real Estate
Fiber Optics
Boolean Searching คือตัวเชื่อม AND, OR, NOT เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำที่เราต้องการสืบค้น
AND เป็นการเชื่อมคำที่ทุก ๆ คำต้องปรากฎขึ้นมาในเอกสารฉบับเดียวกันเป็นการระบุการสืบค้นให้แคบลง
OR เป็นการเชื่อมคำที่คำใดคำหนึ่งหรือทั้งหมดให้ปรากฏขึ้นมา เป็นการขยายการสืบค้นให้กว้างขึ้น
NOT เป็นการเชื่อมคำโดยให้ลบคำที่ระบุหลัง not ออกจากเอกสารชุดนั้น
ตัวอย่าง :-
children AND television AND violence
หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับความรุนแรงในโทรทัศน์ที่มีผลต่อเด็กjournalism AND ethics AND censorship
หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับการตรวจสอบจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(women OR females) AND networking
หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือของผู้หญิง

5. การเลือกใช้ Search Engines หรือ Web Pages Databases ดังที่ได้แสดงรายละเอียดของ Search Engines แต่ละประเภทแต่ละชื่อให้ทราบแล้ว ควรตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใช้ Search Engines ชื่อใด

6. ทำการสืบค้น และประเมินผลข้อมูลที่ได้รับปกติผลจะให้แตกต่างกันไป แต่ควรตรวจสอบไม่เกิน 50 อันดับแรกที่ส่งมาให้ อาจทำการแก้ไขโดยการสืบค้นใหม่หากผลที่ได้ไม่ถูกต้อง

 


Send comments to chumpot@hotmail.com
Copyright © 2005
Revised:August 2008