|
การค้นหนังสือในห้องสมุด
(Finding books in the libraries)
ห้องสมุดทั่วโลกนิยมจัดเก็บและให้บริการการค้นหนังสือในห้องสมุดด้วย ระบบทศนิยมสากลของดิวอี้
นักศึกษาจึงต้องรู้จักการค้นหนังสือในระบบทศนิยมของดิวอี้เพื่อขอใช้บริการยืมเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ลักษณะการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
การจัดหมู่หนังสือใช้ตัวเลขเป็นสัญญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือ มี 10 หมวดใหญ่ ดังต่อไปนี้ คือ
000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษา
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว ชีวประวัติ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง
การแบ่งหมวดใหญ่ทั้ง10หมวดนี้เป็นการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้อย่างกว้างขวาง เรียกว่า การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary)
เลขหมวดใหญ่ยังแบ่งออกเป็นครั้งที่ 2 (Second Summry) ได้อีกหมวดละ 10 หมู่ ดังเช่น
หมวดใหญ่ 300 สังคมศาสตร์ แบ่งเป็น 10 หมู่ ดังนี้
300 สังคมศาสตร์
310 สถิติ
320 รัฐศาสตร์
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รัฐประศาสนศาสตร์
360 สวัสดิการสังคม
370 การศึกษา
380 การพาณิชย์
390 ขนบธรรมเนียมประเพณีและนิทานพื้นเมือง
นอกจากการแบ่งครั้งที่ 2 แล้ว แต่ละหมู่ใหญ่ยังแบ่งได้อีก 1 หมู่ย่อย เป็นการแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) ดังตัวอย่าง
ดังนี้ คือ
370 การศึกษา
371 โรงเรียน
372 ประถมศึกษา
373 มัธยมศึกษา
374 การศึกษาผู้ใหญ่
375 หลักสูตร
376 การศึกษาสำหรับสตรี
377 โรงเรียนกับศาสนา
378 อุดมศึกษา
379 การศึกษาและรัฐ
การแบ่งที่ละเอียดลงไปมากกว่านี้คือ การแบ่งสาขาวิชาให้ละเอียด โดยใช้จุดทศนิยม ตัวอย่างเช่น
371 โรงเรียน
.1 การสอนและครู
.2 วิธีสอนและวิธีศึกษา
.3 วิธีสอนและวิธีศึกษา
.32 หนังสือตำราเรียน
.33 โสตทัศนวัสดุเพื่อการสอน
.4 การแนะแนว
.5 ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน
.6 อาคารเรียน
.7 สุขวิทยาโรงเรียนและความปลอดภัย
.8 นักเรียน
.9 การศึกษาพิเศษ
การค้นตามระบบดิวอี้ดังกล่าวจะสังเกตได้จากเลขเรียกหนังสือ ซึ่งพิมพ์อยู่ที่สันหนังสือแต่ละเล่ม
ในปัจจุบันนักศึกษาสามารถค้นหนังสือจากโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่แต่ละห้องสมุดได้ให้บริการการค้น เช่น โปรแกรม Alice for Windows
โปรแกรม VTLS เป็นต้น
|
|