จิตนิยม คือ ลัทธิที่ทมีทรรศนะร่วมกันว่า
จิตหรือสภาวะนามธรรมมีความเป็นจริงสูงสุดและมีความสำคัญ
กว่าวัตถุสิ่งที่เป็นวัตถุเป็นเพียงมโนภาพ (ideas) ซึ่งมีอยู่ในจิตของพระเป็นเจ้า
141.1 จิตนิยมแบบเพลโต (Platonism) คือ ทรรศนะที่ถือว่า
มีสภาพความจริงอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เรียกว่า มโนภาพ(Idea)
หรือแบบ(Form) ซึ่งโพลโตถือว่าเป็นจริงและสำคัญกว่าวัตถุ
141.3 จิตนิยมอุตรภาพ (Transcendentalism)
คือทรรศนะที่ถือว่า สิ่งที่มนุษย์รับรู้นั้น จะต้องผ่านระบบการทำงาน
ของจิตเสียก่อน มนุษย์จะรับรู้ความเป็นจริงโดยไม่ผ่านระบบ
การทำงานของจิตไม่ได้ และระบบการทำงานของจิตนี้อยู่ในระดับที่
เหนือกว่าระดับประสบการณ์
141.4 ปัจเจกนิยม(Individualism)
คือ ทรรศนะคติที่เน้นความสำคัญหรือความเป็นจริงของปัจเจกบุคคล เช่น
ในปรัชญาการเมืองคือทรรศนะที่ถือว่า รัฐมีอยู่เพื่อปัจเจกบุคคล
ไม่ใช่ปัจเจกบุคคลมีอยู่เพื่อรัฐ นั่นคือ ปัจเจกบุคคลคนสำคัญกว่ารัฐ
141.5 บุคคลลักษณนิยม(Persoanlism)
คือทรรศนะที่ถือว่า เอกภพ(universe)
และสิ่งทั้งปวงมีลักษณธเป็นบุคคล
141.6 จินตนิยม หรือ ลัทธิโรแมนติก(Romanticism)
คือ ทรรศนะที่แสดงออกให้เห็นความต้องการ เป็นตัวของตัวเอง
เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ และระเบียบการที่ยึดถือกันมา
ลัทธินี้ถือว่า อารมณ์ความรู้สึก สำคัญกว่าเหตุผล