ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

923.7   Geography & History
ชีวประวัติบุคคลในสาขาการศึกษา

สุด แสงวิเชียร


ประวัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียรศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450— 8 มิถุนายน พ.ศ. 2538) แพทย์ชาวไทย นักกายวิภาคศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี ราชบัณฑิต และ ผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่น บุคคลดีเด่นแห่งชาติ และนักอนุรักษ์ดีเด่น

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียรมีผลงานโดดเด่นในเรื่องวิทยาเอ็มบริโอ ด้านจุลกายวิภาคศาสตร์ ด้านมหกายวิภาคศาสตร์ หนึ่งในแพทย์ผู้ชันสูตรพระบรมศพ รัชกาลที่ 8

ประวัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร เกิดเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของ ขุนแสงสุรพาณิชย์ (จันทร์ แสงวิเชียร) และ นางแสงสุรพาณิชย์ (ทรัพย์ แสงวิเชียร*2413 - 2512: 99 ปี) เป็นบุตรคนที่ 6 ของพี่น้อง 7 คน พี่ชาย 4 คน พี่สาว 1 คน น้องชาย 1 คน ท่านเสียชีวิตแล้วเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เมื่ออายุได้ 88 ปี เป็นอาจารย์แพทย์ผู้สร้าง ความเจริญให้กายวิภาคศาสตร์ของศิริราช หนึ่งในคณะกรรมการฝ่ายแพทย์ ผู้ชันสูตรพระบรมศพ ผู้เขียนบันทึก เรื่อง "เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต" : หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์

ท่านสมรสกับนางผจงจีบ แสงวิเชียร (จีบ บุตรานนท์ *2455 - 2542:87 ปี) บุตรี นายนาวาตรี หลวงเจียรเจนสมุทร์ (เจียร บุตรานนท์) และนางเจียรเจนสมุทร์ (ยิ้ม บุตรานนท์) มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 5 คน เป็นแพทย์ 3 คน ทันตแพทย์ 1 คน คือ ผศ.พญ.คุณหญิงแสงจันทร์ แสงวิเชียร, รศ.นพ.สรรใจ แสงวิเชียร, นายสายสุด แสงวิเชียร, ผศ.ทญ.จุติศรี แสงวิเชียร, และผศ.พญ.จีระสุข จงกลวัฒนา

การศึกษา

การศึกษาเบื้องต้นกับบิดาของตน ศึกษาชั้นประถมปีที่ 1-3 มัธยมปีที่ 3 ที่โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ มัธยมปีที่ 4-8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้น ในปี พ.ศ. 2469 เป็นนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่น 2 (นิสิตแพทย์) ที่ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2473 ผลการเรียนยอดเยี่ยม จนได้รับทุนเรียนดีของ พระยาอุเทนเทพโกสินทร (ประสาร บุรณศิริ) พ.ศ. 2473 ได้รับพระราชทานปริญญาเวชชบัณฑิตชั้นตรี หรือแพทยศาสตร์บัณฑิต เป็นแพทย์ศิริราช รุ่นที่ 36 (แพทย์ปริญญารุ่น 3) ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองเยี่ยมตลอดหลักสูตร 4 ปี เหรียญทองแดงที่ 1 ในแผนกศัลยศาสตร์ และเหรียญทองแดงที่ 1 ในแผนกอายุรศาสตร์ นอกจากนี้ระหว่างเข้ารับราชการเป็นอาจารย์แผนกกายวิภาคศาสตร์ จุฬาฯ และได้รับทุนมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ไปศึกษาต่อทางกายภาคศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน และมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเซิร์ฟ สหรัฐอเมริกา ได้รับเงินทุนจากกองทุนพระมรดก ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และใน พ.ศ. 2506 ได้รับทุน WHO ไปศึกษาวิชามนุษยพันธุศาสตร์และวิจัยโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ที่ขุดพบในประเทศไทย ที่ University of Copenhagen ประเทศเดนมาร์ก

การทำงาน

เมื่อจบการศึกษาแล้ว พ.ศ. 2474 ท่านเข้ารับราชการเป็นอาจารย์แผนกกายวิภาคศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้รับทุนมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ไปศึกษาต่อทางกายภาคศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกา และได้มาเป็น อาจารย์ที่กายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2476-2513 ในระหว่างเหตุการณ์ "กรณีสวรรคต" นั้น ศ.นพ.สุดดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกกายวิภาคศาสตร์ และได้เข้าร่วมเป็นแพทย์ผู้ชัณสูตรพระบรมศพ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช

ท่านได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนที่ 9 ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช ระหว่างปี พ.ศ. 2511 - 2512 เมื่อเกษียณอายุแล้วก็ยังช่วยสอนที่นี่ทุกวันจนถึง พ.ศ. 2536 จนไปทำงานเฉพาะวันพุธ วันละ 4 ชั่วโมง จากปัญหาสุขภาพ จนเสียชีวิต และได้สั่งครอบครัวไว้ให้มอบร่างกายของท่านแก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภายหลังบำเพ็ญกุศลแล้ว ปัจจุบันได้แขวนโครงกระดูก ไว้ให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ ใช้ประกอบการศึกษา ไว้ที่ ตึกกายวิภาคศาสตร์

ท่านมีผลงานโดดเด่นทางด้านวิทยาเอ็มบริโอ ด้านจุลกายวิภาคศาสตร์ ด้านมหกายวิภาคศาสตร์ (การดองศพ) ท่านมีผลงานวิจัยมากกว่า 250 เรื่อง เป็นหัวหน้าแผนกที่สามารถทำให้ แผนกกายวิภาคศาสตร์เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะงานด้านพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน (เป็นเกียรติแก่ ศ.คองดอน) เมื่อ พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวในโลก ที่มีระบบประสาทและระบบหลอดเลือดแดงทั้งตัว

ผลงาน

ศ.นพ.สุด มีผลงานทางวิชามากมาย ได้แก่
หนังสือกว่า 20 เล่ม เช่น เมื่อข้าพเจ้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต, กายวิภาคศาสตร์ (ภาษาไทย), The Prehistoric Thai Skeleton from Ban-Kao Karnchanaburi Archiological Excavation in Thailand Vol. lll, ศาสตราจารย์ อีดี คองดอน กับประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ของประเทศไทย, ประวัติพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์, ศิริราชที่ผมรู้จัก, ดร.ไฮเซอร์ กับความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ต่อรัฐบาลไทย, พิพิธภัณฑ์ศิริราช, ตามรอยพระยุคลบาท, Studies on physical anthropology in Thai subjects (E.D. Congdon Ph.D., Sood Sangvichien M.B., M.D., Puket Vachananda M.B.,Ph.D.), กายวิภาคศาสตร์ ทรวงอก (บทที่ 1 กายวิภาคศาสตร์ของทรวงอกและอวัยวะภายใน)
บทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษกว่า 150 บทความ
บทความประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ กว่า 100 บทความ
บทความทางโบราณคดี กว่า 40 บทความ
บทความอื่นๆ อีกจำนวนมาก

เกียรติคุณ

ศ.นพ.สุด ได้รับการเชิดชู ทั้งระดับประเทศ และนานาชาติ ที่สำคัญได้แก่

เกียรติที่ได้รับทางวิชาการ
1.ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อ พ.ศ. 2485
2.แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2492
3.F.I.C.S. กิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2504
4.วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2517
5.ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (โบราณคดี) กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2517
6.สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2524
7.แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2526

เกียรติที่ได้รับจากสังคม

1.แพทย์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2526
2.คนไทยตัวอย่างของมูลนิธิธารน้ำใจ พ.ศ. 2530
3.บุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านกายวิภาคศาสตร์) ของคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2531
4.นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. 2533

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
มหาวชิรมงกุฎ
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
เหรียญจักพรรดิมาลา

ที่มา

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2555). สุด แสงวิเชียร. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 19, 2555, จาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%
B8%B8%E0%B8%94_%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%
B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%
B8%A2%E0%B8%A3

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com