ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ลาวัวซิเยร์ , อังตวน ลอเรนต์

อังตวน ลอเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier

เกิด

วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)

เสียชีวิต

วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)

ผลงาน

- พบสมบัติของการสันดาป หรือการเผาไหม้

หลังจากยุคของโรเบิร์ต บอลย์ (Robert Boyle) ผ่านมา วิชาเคมีก็มีความเจริญก้าวหน้ามาตลอด จนกระทั่งถึงยุคของ ลาวัวซิเยร์วิชาเคมียิ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากผลงานการค้นพบทางเคมีของเขาหลายชิ้น

ลาวัวซิเยร์เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นผู้ที่มั่งคั่งที่สุด ในปารีสก็ว่าได้ทั้งบิดาและมาตดาของเขาต่างก็มาจากตระกูลที่มั่งคั่งบิดาของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายแระจำรัฐสภา ชื่อว่า ฌาน อังตวน ลาวัวซิเยร์ (Jean Anton Lavoisier) ส่วนมารดาชื่อว่า เอมิลี่ ปุงตีส เป็นบุตรีของเลาขานุการ ของนายทหารเรือ ยศนายพลเรือโทและยังเป็นทนายความชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นสมาชิกรัฐสภากรุงปารีสอีกด้วย เมื่อลาวัวซิเยร์อายุได้ 7 ปี มารดาเขา เสียชีวิต บิดาได้ส่งลาวัวซิเยร์ไปอยู่กับน้า เนื่องจากฐานะทางครอบครัวที่ร่ำรวยของลาวัวซิเยร์ทำให้เขาได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจากที่จบการศึกษาเบื้องต้นแล้ว พ่อของเขาก็ส่งเขาไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่วิทยาลัยมาซาริน (Mazarin College) ด้วยพ่อ ของเขาต้องการให้เขาเป็นทนายเช่นเดียวกับพ่อและตานั่นเองในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เมื่อเขาเรียนจบวิชากฎหมาย ลาวัวซิเยร์ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นทนายความ แต่กลับ ไปศึกษาต่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แทน โดยเฉพาะวิชาเคมี ลาวัวซิเยร์เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หรือวิชาอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) โดยเขาใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของอากาศวันละหลาย ๆ ครั้งแล้วจดบันทึก อุณหภูมิไว้ทุกครั้ง และทำเช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเขาเสียชีวิต และด้วยวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ต่อมาเขา สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1765 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเคมี โดยครั้งแรกเขาได้ทดลองเกี่ยวกับแร่ยิปซัม (Gypsum) ภายหลังการทดลองลาวัวซิเยร์พบสมบัติของแร่ยิปซัมที่ว่าเมื่อนำแร่ยิปซัมมาเผาเพื่อทำปูนปลาสเตอร์จะมีไอน้ำระเหยออกมา และเมื่อ เย็นตัวลงจะหลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำหนักเท่ากับปูนปลาสเตอร์ที่ผาได้จากแร่ยิปซัม และจากผลการทดลองครั้งนี้ลาวัวซิเยร์ได้ทำ รายงานเสนอต่อราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (France Academy Royal of Science) ให้กำหนด มาตราในการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์เห็นด้วย และแต่งตั้งให้ ลาวัวซิเยร์ เป็นกรรมการศึกษาเรื่องนี้ในที่สุดลาวัวซิเยร์ก็ตกลงในระบบเมตริก (Metric system) ในการชั่ง ตวง วัด ซึ่ง ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ก็ตกลงเห็นชอบ และกำหนดให้ใช้ระบบเมตริกเป็นมาตราในการทดลองวิทยาศาสตร์ และยังคง ใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1767 ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญจากศาสตราจารย์กูเอท์ตาด (J.E.Guettard) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแร่ธาตุและธรณีวิทยา ชาวฝรั่งเศส ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจทางธรณีวิทยา ที่จะทำการสำรวจหาแร่ธาตุ และลักษณะทางธรณีทั่วประเทศฝรั่งเศส จากการสำรวจครั้งนี้ ลาวัวซิเยร์ได้เขียนแผนที่แสดงทรัพยากรทางธรรมชาติภายในประเทศฝรั่งเศส แผนที่ฉบับนี้ถือว่าเป็นแผนที่ แสดงทรัพยากรธรณีฉบับแรกของฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1768 ขณะที่เขามีอายุเพียง 25 ปี ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่ง ฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างมาก เพราะสมาคมแห่งนี้เป็นที่รวมของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ทุกสาขาวิชา อีกทั้งผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี อีกทั้งสมาชิกในสมาคมนี้ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ให้กับรัฐบาล นอกจากราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ เขายังได้รับเชิญจากองค์การแฟร์มเจอเนรอล (Ferme Generale) ซึ่งเป็นองค์การเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้รู้จักและแต่งงานกับมารีแอน พอลซ์ (Marie Ann Paulze) บุตรสาวของจาคส์ พอลซ์ (Jacques Paulze) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในองค์การแฟร์ม เจอเนรอล มารีแอนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของลาววัวซิเยร์ เพราะเธอมีความรู้หลายภาษา จึงแผลตำราวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หลายท่าน อีกทั้งยังเป็นผู้วาดภาพประกอบลงในรายงานทางวิทยาศาสตร์ของลาวัวซิเยร์อีกด้วย

ต่อมาลาวัวซิาเยร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโรงงานผลิตดินปืนของรัฐอีกตำแหน่งหนึ่งเพราะเขา เป็นผู้เสนอต่อเทอร์โกต์ (Turgot) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้รัฐควบคุมกิจการดินปืนไว้เอง ด้วยในขณะนั้นภายในกรุงปารีส มีการผลิตดินปืนกันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เทอร์โกต์ก็เห็นด้วยกับลาวัวซิเยร์ จึงสั่งห้ามมิให้ประชาชนผลิตดินปืน เอง โรงงานผลิตดินปืนของรัฐบาลฝรั่งเศสแห่งนี้สามารถทำรายได้ให้กับประเทศฝรั่งเศสอย่างมหาศาล ด้วยในขณะนั้นประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ทำสงครามกอบกู้เอกราชกับประเทศอังกฤษ จำเป็นต้องใช้ดินปืนจำนวนมากในสงคราม จึงเป็นหนทางที่ดีของ ฝรั่งเศสที่จะจำหน่ายดินปืนให้กับสหรัฐอเมริกาในจำนวนมาก

แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะต้องทำหน้าที่ในหน่วยราชการหลายอย่าง เขาก็ยังมีเวลาส่วนหนึ่งสำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใน ปี ค.ศ. 1772 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองสมบัติของเพชรเขาทำการทดลองโดยการนำเพชรใส่ไว้ในภาชนะแก้วปิดสนิท และใช้ แว่นขยายรับแสงให้ถูกเพชรเพื่อให้เกิดไฟเผาเพชร ปรากฏว่าเพชรหายไป แต่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) เข้ามาอยู่ภายในภาชนะนั้นแทน แต่ถ้านำเพชรไปเผาในสูญญากาศ เพชรกลับไม่ไหม้ไฟ จากการทดลองพบว่าเพชรเป็นคาร์บอน ชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อนำไปเผาไฟเพชรจะกลายเป็นก๊าซ เพชรจึงไม่ใช่สิ่งวิเศษอย่างที่เคยเข้าใจกันมา ซึ่งการค้นพบนี้โจเซฟ แบลค (Joseph Black) นักเคมีชาวสก๊อตได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา ต่อจากนั้นลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองต่อไป โดยนำโลหะมาเผา ไฟในที่ที่จำกัดประมาณอากาศ เขาพบว่าไฟจะไหม้ไปจนกว่าอาการจะหมด เมื่ออากาศหมดไฟก็จะดับ ลาวัวซิเยร์ได้นำผลการ ทดลองรายงานให้กับราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส โดยเขาสรุปผลการทดลองว่าสิ่งที่รวมกับโลหะ จนเกิดเป็นกาก โลหะ หรือที่เรียกว่า Clax คือ อากาศที่บริสุทธิ์กว่าอากาศที่อยู่ในธรรมชาติเสียอีก และเมื่อนำ Clax เผารวมกันกับถ่านจะได้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของก๊าซ โลหะ และคาร์บอน

ปี ค.ศ. 1783 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้ของสารเคมี ซึ่งเกิดจากการทอลองเผาสารเคมีชนิดต่าง ๆ ของเขานั่นเอง ลาวัวซิเยร์สามารถค้นพบสมบัติของการเผาไหม้ของสารเคมีชนิดต่าง ๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การสันดาป" ว่าเกิดจากการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วระหว่างสารที่ติดไฟได้ กับออกซิเจน ซึ่งเขาตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเผาไหม้ (Theory of Combustion) ผลงานการทดลองชิ้นนี้ทำให้ลาวัวซิเยร์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ผู้คนพบ สาเหตุที่สสารต่าง ๆ ไหม้ไฟได้

ลาวัวซิเยร์สรุปทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปออกเป็น 5 ข้อ ได้แก่
1. วัตถุจะไหม้ไฟได้ในเฉพาะที่ทีมีอากาศเท่านั้น
2. เมื่อนำอโลหะไปเผาไฟจะทำให้เกิดกรด (Acid) รวมถึงจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย
3. ในอากาศประกอบไปด้วยก๊าซ 2 ชนิด คือ ออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ช่วยในการเผาไหม้และอาโซต (Azote)
4. ในการเผาไหม้จะไม่มีธาตุฟลยยิสตอน
5. เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ของโลหะ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเสมอไป

การที่ลาวัวซิเยร์สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่วัตถุไหม้ไฟได้ ทำให้สามารถลบล้างทฤษฎีฟลอยิสตอน (Phlogiston) ของจอร์จ เออร์เนส สตาห์ล (George Ernest Stahl) นักเคมีและนายแพทย์ ชาวเยอร์มัน โดยทฤษฎีนี้อธิบายเกี่ยวกับการไหม้ ของวัตถุว่า เกิดจากธาตุชนิดนั้นมีฟลอยิสตอนผสมอยู่ เมื่อนำวัตถุมาเผาไหม้และมีขี้เถ้า ทำให้น้ำหนักวัตถุลดลง นอกจากนี้เขายัง อธิบายถึงสาเหตุของวัตถุที่ไม่ติดไฟว่า เกิดจากไม่มีฟลอยิสตอนผสมอยู่ ทฤษฎีของสตาห์ลเป็นที่เชื่อถือในวงการวิทยาศาสตร์ นานกว่า 100 ปี แต่เมื่อลาวัวซิเยร์พบทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปความเชื่นในทฤษฎีนี้ก็หมดไป

หลังจากนั้นลาวัวซิเยร์ทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีการเผาไหม้เพิ่มเติมอีกจนสามารรถตั้งกฎทรงมวลของสสาร (Law of the Conservation of Matter) อธิบายว่าสสารไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำให้หายไปได้ แต่สสารสามารถเปลี่ยนสถานะภาพได้ เช่น น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ จากทฤษฎีนี้เองได้นำลาวัวซิเยร์ไปสู่การทดลองเกี่ยวกับเผาไหม้ในร่างกายมนุษย์ลาวัวซิเยร์ได้อธิบายว่าใน ร่างกายของมนุษย์ก็มีการเผาไหม้เช่นเดียวกัน คือ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ก็จะถูกเปลี่ยนสภาพ หรือเผาผลาญ ให้เป็น พลังงาน และสิ่งที่ไม่ต้องการหรือขี้เถ้าก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายในวิธีการต่าง ๆ เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ เป็นต้น และ ไม่เพียงอาหารเท่านั้น อากาศที่เราหายใจก็ต้องผ่านการเผาไหม้ที่ปอดเช่นเดียวกัน คือ เมื่อมนุษย์หายใจก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ปอดเพื่อ เปลี่ยนเลือดดำให้เป็นเลือดแดง ออกซิเจนที่ผ่านการเผาไหม้ก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ในปี ค.ศ. 1787 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Method de Nomenclature Chimique เป็นเรื่อง เกี่ยวกับวิชาเคมีเบื้องต้น ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิชาเคมี และการเปลี่ยนชื่อสารเคมีบางชนิด ให้ถูกต้องตามสมบัติของสารชนิดนั้น อย่างแท้จริง ซึ่งมีมากมายกว่า 55 ชื่อเป็นต้นว่า Dephlogisticated air มาเป็น Oxygen เปลี่ยน Inflammable air แปลว่า สารติดไฟ มาเป็น Hydrogen หมายถึง ผู้ให้กำเนิดน้ำ ซึ่งชื่อสารเคมีที่ลาวัวซิเยร์เปลี่ยนยังเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1789 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งว่า Traite Elementaire de Chimie ต่อมามีผู้แปลมาเป็น ภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อหนังสือว่า Elementary Treatise of Chemistry เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทาง วิทยาศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1790 ประเทศฝรั่งเศสต้องประสบภาวะที่ย่ำแย่ที่สุด ทั้งเศรษฐกิจ และการเมืองจนในที่สุดเกิดการปฏิวัติใหญ่ใน ฝรั่งเศส โดยสภาคณะปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในฝรั่งเศส และกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ พระบรม วงศานุวงศ์ และขุนนางข้าราชการสำนักกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์จากแผ่นดิน และประชาชน สภาคณะปฏิวัติได้ยกกำลัง บุกเข้ายึดพระราชวังตูเลอรีส์ (Tuileries) และปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยวิธีกิโยตีน (Guillotine) เมื่องวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1793 ภายหลังจากพระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพระชนม์ สภาคณะปฏิวัติได้สั่งยุบองค์แฟร์มเจอเนรัล พร้อมดับจับกุม ข้าราชการภายในองค์กรทั้ง 27 คน รวมทั้งลาวัวซิเยร์โดยสภาคณะปฏิวัติได้ตั้งข้อกล่าวหาคณะกรรมการทั้งหมดว่า ฉ้อราษฏร์ บังหลวง และกดขี่ข่มเหงประชาชนอย่างโหดร้าน แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ศาลของสภาคณะปฏิวัติก็พิจารณา ว่าลาวัวซิเยร์ผิด และตัดสินประหารชีวิตเขาด้วยเครื่องกิโยตีน

ลาวัวซิเยร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกเลย ทีเดียว ผลงานชิ้นสุดท้ายของลาวัวซิเยร์ก่อนที่จะเสียชีวิต คือ การหาความหนาแน่นของน้ำ ลาวัวซิเยร์พบว่าที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด นอกจากนี้แล้วเขายังได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดสนิมในโลหะการลุกไหม้ของไม้ และการ ระเบิดของดินปืน ซึ่งล้วนแต่เกิดจากก๊าซออกซิเจนทั้งสิ้น

ที่มา:

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

(2553).อังตวน ลอเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier.
ค้นเมื่อ สิงหาคม 22, 2553, จาก
http://siweb.dss.go.th/Scientist/
Scientist/Anton%20Laurent%20Lavoisier.html

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com