ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

แฟรงคลิน , เบนจามิน

เบนจามิน แฟรงคลิน : Benjamin Franklin

เกิด

วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)

เสียชีวิต

วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)

ผลงาน

- ค้นพบประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ
- ประดิษฐ์สายล่อฟ้า

ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นความลับทางธรรมชาติอยู่จนกระทั่งเบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบสาเหตุ ที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และวิธีป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แฟรงคลิน ได้เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมเท่านั้น เขายังเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญคนหรนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

แฟรงคลินเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า โจซิอาร์ แฟรงคลิน มีอาชีพทำสบู่ และเทียนไข ซึ่งลี้ภัยทางศาสนาจากประเทศอังกฤษมาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา แฟรงคลินได้รับการศึกษาครั้งแรกที่ โรงเรียนใกล้ ๆ บ้านเขานั่นเอง แต่เรียนอยู่ได้ 2 ปี เท่านั้น ก็ต้องลาออก เพราะครอบครัวของเขาค่อนข้างจะยากจน และต้องช่วยเหลือ กิจการทำสบู่ และเทียนไขของครอบครัว แม้ว่ากิจการจะเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ แต่แฟรงคลินก็ยังต้องการศึกษาต่อ ซึ่งบิดาของเขา ก็เห็นใจและเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี บิดาก็ส่งเขาไปอยู่กับเจมส์ แฟรงคลิน (James Franklin) พี่ชายคนโต ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์ชื่อ ว่านิว อิงแลนด์ เคอร์เรนท์ (New England Current) อยู่ที่กรุงบอสตัน แฟรงคลินช่วยงานในโรงพิมพ์อย่างขยันขันแข็ง โดย ครั้งแรกเขาได้ฝึกงานในตำแหน่งช่างพิมพ์ ต่อมาเขาได้ลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น เหตุเกิดขึ้น จากวันหนึ่งแฟรงคลิน ได้นำงานเขียนของเขาไปใส่รวมไว้กับงานของนักเขียนคนอื่น เมื่อเจมส์ได้อ่านก็รู้สึกชอบ และตีพิมพ์เรื่อง ของแฟรงคลินเมื่อผลงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของชาวเมือง แฟรงคลินจึงออกมาเปิดเผยว่านั่นคือบทความของ เขา ทำให้พี่ชายเขาโกรธมาก และก็มีปากเสียงกับแฟรงคลินอย่างรุนแรง

หลังจากที่แฟรงคลินลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เขาก็มาเปิดกิจการโรงพิมพ์ของเขาเอง ที่เมืองฟิลลาเดเฟีย (Philadelphia) ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี เท่านั้น ในช่วงแรก ๆ แฟรงคลินได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับข่าวสาร และความรู้ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก จากนั้นแฟรงคลินได้หันมาพิมพ์หนังสือประเภทปฏิทินพิสดารแทน (Almanac) ซึ่งใช้ชื่อ หนังสือว่า Poor Richard ซึ่งแฟรงคลินเป็นผู้เขียนบทความลงในหนังสือเล่มนี้เอง โดยใช้นามปากกาว่า Richard Sander ภายในปฏิทินจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งคำคม และคติสอนใจ และแฟรงคลินยังได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อีกด้วย โดยใช้ชื่อ หนังสือพิมพ์ว่า เพนน์ซิลวาเนีย กาเซท (Pennsylvania Gazette) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนี้แล้ว เขายังพิมพ์หนังสือประเภทบันเทิงคดี และหนังสือตลกอีกด้วย ระหว่างนี้เขาได้ใช้เวลาที่ว่างในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเดิน ทางไปประเทศอังกฤษเพื่อศึกษางานด้านการพิมพ์ โดยการสนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่นคนหนึ่ง แต่เมื่อแฟรงคลินเดินทางไปถึง ประเทศอังกฤษแล้ว ผู้บริหารคนนี้กลับไม่ส่งเงินไปให้เขาตามที่รับปากไว้ ทำให้แฟรงคลินต้องหางานทำ โดยเปิดโรงพิมพ์เล็ก ๆ ที่บ้านพัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1725 เขาจึงเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา และเปิดโรงพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อกิจการโรงพิมพ์ของเขามีความมั่นคงดีแล้ว เขาจึงหันมาทำงานเพื่อสังคมบ้าง โดยเริ่มจากการรวบรวมสมาชิกเพื่อจัดตั้ง ห้องสมุดสาธารณะภายในเมืองขึ้น โดยสมาชิกภายในกลุ่มจะต้องจัดหาหนังสือมาเพื่อแลกเปลี่ยนให้กับสมาชิกคนอื่นได้อ่าน ต่อมาแฟรงคลินได้เข้าเล่นการเมือง เมื่อแฟรงคลินเป็นนักการเมืองแล้ว ทำให้ต้องเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ รวมทั้งประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งเมื่อเขาเดินทางไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาได้มีโอกาสพบกับนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับประกายไฟฟ้า จากเหตุนี้เองทำให้แฟรงคลินมีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เขาสนใจ มากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า แฟรงคลินเริ่มสังเกตลักษณะของฟ้าแลบและ สรุปว่า
- สามารถให้แสงสว่างได้ และมีสีของแสง
- มีเสียงดังซึ่งเรียกว่า "ฟ้าร้อง"
- เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง
- สามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต วัตถุ และสิ่งก่อสร้างได้ หรือปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- มีกลิ่นคล้ายกำมะถัน

จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องประจุไฟฟ้าสถิตของออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) และการสังเกต ลักษณะของฟ้าแลบในเบื้องต้น แฟรงคลินได้สันนิษฐานการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าน่าจะเกิดมาจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า แน่นอน แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น เขาจึงทำการทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ. 1749 โดยใช้ว่าวที่ทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ อีกทั้งมีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ส่วนปลายสายป่านเขาได้ผูกลูกกุญแจเอาไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น ว่าวของแฟรงคลินก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้า แฟรงคลินได้นำว่าวขึ้นในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อฝนตกและทำให้สายป่านเปียก ผลปรากฏว่ามีประจุไฟฟ้าไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ แต่แฟรงคลินไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านั้น เนื่องมาจากเขาจับ ริบบิ้นซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า จากนั้นเขาจึงลองใช้เศษหญ้าแห้งจ่อเข้ากับลูกกุญแจ ปรากฏว่าเกิดประจุไฟฟ้าไหลเข้าสู่มือเขา จากนั้น เขาก็นำลูกกุญแจวางลงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้าขึ้นอีก จากนั้นเขาจึงนำขวดเลเดน มาต่อเข้ากับกุญแจ ปรากฏว่าประจุไฟฟ้า ไหลลงมาในขวด จากผลการทดลองแฟรงคลินสามารถสรุปถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าเกิดขึ้นจากประจุ ไฟฟ้าบนท้องฟ้า ซึ่งเกิดจากการเสียดสีระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

จากการค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศครั้งนี้ นำไปสู่ความคิดในการประดิษฐ์สายล่อฟ้า เพื่อระบายประจุไฟฟ้าในอากาศไม่ทำ ให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า ในปี ค.ศ. 1752 แฟรงคลินได้ประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก สายล่อฟ้าของแฟรงคลิน มีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมผูกติดไว้บนยอดอาคารสูง ส่วนปลายโลหะเชื่อมต่อกับสายไฟยาวลงไปในแนวดิ่ง ห้ามคดหรืองอ เด็ดขาด มิฉะนั้นอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ปลายของสายไฟจะถูกฝังลึกลงในพื้นดินพอสมควร ซึ่งบริเวณด้านล่างของหลุมนี้จะมี แผ่นโลหะขนาดใหญ่ปูเอาไว้ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลลงมานั้นกระจายออกไปบนแผ่นโลหะนี้ สายล่อฟ้าของแฟรงคลินถือว่า เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันความเสียหายของอาคารสูง ที่มักจะถูกฟ้าผ่าได้ง่าย อีกทั้งผู้คนที่เดินไปมา ตามท้องถนนไม่ให้ถูกฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิตได้ การค้นพบครั้งนี้ยังทำให้แฟรงคลินได้ทราบเพิ่มเติมว่าประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบ

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแฟรงคลินไม่ได้นำสายล่อฟ้าสไปจดทะเบียนสิทธิบัตร เขาต้องการให้ทุกคนสามารถทำใช้กันเอง ได้ เนื่องจากสายล่อฟ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำได้ง่าย ไม่สลับซับซ้อนอะไรนัก และจากผลงานชิ้นนี้แฟรงคลินได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็น สมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) ด้วย ซึ่งสมาชิกราชสมาคมแห่งนี้ล้วนแล้วแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถทั้งสิ้น เป็นต้นว่า โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Issac Newton) เป็นต้น

นอกจากผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว แฟรงคลินยังมีความสามารถอีกหลายด้าน เป็นต้นว่า นักเขียน นักการทูต นักการ เมือง และนักหนังสือพิมพ์ แฟรงคลินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเขาเป็นผู้หนึ่งที่ทำ ให้สหรัฐฯ หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศอังกฤษ อีกทั้งเขายังเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอีกด้วย และเมื่อ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพออกไป สร้างความไม่พอใจให้กับประเทศอังกฤษอย่างมาก ทำให้เกิดสงครามขึ้น แฟรงคลินได้มีบทบาทสำคัญในครั้งนี้ เขาได้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอการสนับสนุนเรื่องการเงินและอาวุธสงคราม เมื่อสงครามยุติลง แฟรงคลินยังได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้ลงนามในสัญญาสันติภาพ ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้รับอิสรภาพแล้ว แฟรงคลิน ยังมีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าแฟรงคลินจะไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญใด ๆ เลย ทางด้านการเมืองเนื่องจากเขาชราภาพมากแล้ว แต่เขาก็เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของอเมริกา

แฟรงคลินเสียชีวิตในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แฟรงคลินยังได้สร้างคุณประโยชน์ไว้ โดยการมอบทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรียน ซ่อมแซมบ้านเรือนภายในเมืองบอสตัน และ ฟิลลาเดเฟีย และอีกส่วนหนึ่งยังใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แฟรงคลิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 เขาได้รับการยกย่อง จากสถาบันแห่งชาติสหรัฐฯ ในฐานะบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมือง

ที่มา:

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

(2553).เบนจามิน แฟรงคลิน : Benjamin Franklin .
ค้นเมื่อ สิงหาคม 22, 2553, จาก
http://siweb.dss.go.th/Scientist/
Scientist/Benjamin%20Franklin.html

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com