ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

สภาพภูมิศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาคพื้นทวีปยุโรป หรือทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิประเทศของจีนโดยทั่วไป จะเป็นที่ราบสูงทางทิศตะวันตก แล้วค่อย ๆ ลดต่ำลงมาทางทิศตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศจะมีลักษณะต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเทือกเขาสูงเสียดเมฆ จนถึงมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน อันได้แก่ที่ราบสูงเนินเขา และที่ราบอันกว้างใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ ทะเลทรายและทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่จะแผ่ปกคลุมแผ่นดินจีนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ขณะที่แม่น้ำลำคลองและปากแม่น้ำฉางเจีย-แยงซี อยู่ทางตะวันออก ถ้ามองจากเบื้องบนลงมา ลักษณะเส้นขอบของภูมิประเทศจีน จะมีลักษณะเหมือนขั้นบันไดสูงจากตะวันตกแล้วลดเป็นขั้น ๆ มาทางตะวันออกตามลำดับ คือจากที่ราบสูงซิงไฮ-ทิเบต มายังตะวันออกและฝั่งทะเล ขั้นสูงที่สุดของภูมิประเทศ ได้แก่ ที่ราบสูงชิงไฮ-ทิเบต มีเนื้อที่กว้างขวางประมาณ 2.2 ล้าน ตารางกิโลเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 4,000 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดของโลกจนรู้จักกันทั่วไปว่าเป็น "หลังคาของโลก"

พื้นที่ถัดมาทางตะวันออกจะลดระดับความสูงเหลือเพียง 2,000-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำจุงกา ตาริม และซือฉวน ตลอดจนที่ราบสูงมองโกเลียใน และที่ราบสูงยูนนาน-ไกวเจา

เมื่อข้ามแนวยาวของเทือกเขาต่าง ๆ ทางตะวันออกของบันไดขั้นที่สองอันได้แก่เทือกเขาใหญ่ฮิงกัน ไทหาง อู่ชาน อู่หลิง และซุยเฟง มายังฝั่งทะเลระดับความสูงของพื้นดินจะลดลงเหลือน้อยกว่าระดับ 500 เมตรที่สูงจากระดับ น้ำทะเลโดยทั่ว ๆ ไป ทำให้กลายเป็นบันไดขั้นที่สามซึ่งประกอบด้วยดินแดนจากทางเหนือมาใต้คือ ที่ราบจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ราบจีนเหนือ ที่ราบแยงซีเกียงหรือฉางเจียงตอนกลาง และดินดอนสามเหลี่ยมชูเจียง (แม่น้ำเพิร์ล) ขอบเขตของที่ราบทั้งหลายดังกล่านี้จะเป็นเชิงเขาและชนบทที่มีลักษณะเป็นเนินเขา

ทางตะวันออกของบันไดขั้นที่สามจะเป็นที่ตื้นเขินซึ่งขยายบริเวณกว้างขวางไปถึงเขตมหาสมุทร โดยจะต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำไม่เกิน 200 เมตร เป็นที่ซึ่งแม่น้ำพัดพาทรายและโคลนลงไปยังทะเล บริเวณนี้นับ เป็นบันไดขั้นสุดท้าย

สภาพภูมิศาสตร์

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่เฉพาะส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ทางเหนือมีบริเวณตั้งแต่ตอนกลางของแม่น้ำเฮลุงเจียงใกล้โมเหอ (ละติจูดที่ 53 องศาเหนือ) ลงมาถึงฝั่งเจิงมู่ ของหมู่เกาะหนานชาทางทิศใต้ (ละติจูด 4 องศาเหนือ) และจากที่ราบสูงปามีร์ทางทิศตะวันตก (ลองติจูด 73 องศาตะวันออก) มาจนถึงบริเวณที่แม่น้ำเฮลุงเจียง และแม่น้ำวาสุลี ไหลมาบรรจบกันทางทิศตะวันออก (ลองติจูด 135 องศาตะวันออก)

บริเวณพรมแดนทางบกยาวกว่า 20,000 กิโลเมตร และเป็นพรมแดนที่ติดต่อกับประเทศเกาหลีทางตะวันออก สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียทางเหนือ ประเทศรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม และภูฐาน และติดต่อกับพม่า ลาว และเวียดนามทางตอนใต้ ส่วนฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่นั้นมีความยาวมากกว่า 18,000 กิโลเมตร ทางฝั่งทะเลจีนตะวันออก ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้นั้น ติดต่อกับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ดังนั้น ผืนแผ่นดินใหญ่จีนจึงถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำโบไฮ แม่น้ำฮวงไฮ ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ แม่น้ำโบโฮนั้น เป็นทะเลภายใน ขณะที่น่านน้ำอีกสามแห่งที่เหลือนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

จีนมีบริเวณดินแดนที่เป็นหมู่เกาะใหญ่น้อยมากกว่า 5,000 เกาะ ซึ่งอยู่กระจัดกระจายตามน่านน้ำทะเลที่มีขนาดกว้างใหญ่ของจีน หมู่เกาะใหญ่น้อยทั้งที่อยู่ในที่ลึกและตื้นเขินได้รับการเรียกรวม ๆ กันว่า หมู่เกาะทะเลจีนใต้ มีชื่อเป็นทางการว่า หมู่เกาะตงชา ซีชา จวงชา และหนานชา

การปกครองของจีน แบ่งเป็น 22 มณฑล 5 เขต ปกครองตนเอง และ 3 เทศบาลนคร อยู่ใต้การปกครองส่วนกลางโดยตรง หน่วยปกครองย่อย ๆ ภายใต้มณฑลและเขตปกครองตนเองนั้นได้แก่ จังหวัด (cities) จังหวัดที่ปกครองตนเอง (autonomous prefectures) อำเภอ และอำเภอที่ปกครองตนเอง ประมาณว่า จีนมีอำเภอทั้งหมดมากกว่า 2,000 แห่ง

ส่วนเขตที่ปกครองตัวเอง 5 แห่งได้แก่ เขตมองโกเลียใน (ฮูเหอเฮาเถอะ) เขตหนิงเซี้ยหุย (ยินฉวน) เขตซินเจียง เหวยเว่อ (อูรุ่มฉี) เขตกวางสี จ้วง (หนันนิง) และเขตทิเบต (ลาซา) เทศบาลนคร 3 แห่ง ได้แก่ นครปักกิ่ง หรือเปยจิง (Beijing) นครเซึ่ยงไฮ้ (Shanghai) และนครเทียนสิน หรือเทียนจิน (Tianjin) ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของรัฐบาลกลาง

เมืองหลวงของจีนก็คือกรุงปักกิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโบไฮทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบตอนเหนือของจีน กรุงปักกิ่งมีเนื้อที่ 17,800 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 7.5 ล้านคน และถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศ เช่นเดียวกันเป็นชุมทางการคมนาคมด้วย นอกจากนี้กรุงปักกิ่งยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการเป็นเมืองหลวงเก่าแก่มาร่วม 800 ปี มีสถานที่ท่องเที่ยวทิวทัศน์งดงาม ตลอดจนสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจต่าง ๆ อีกมากมาย

แหล่งที่มา

สภาพภูมิศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. (2555). ค้นจาก

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_
detail.php?mul_content_id=17700

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to chumpot@hotmail.com