ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

เคมีวิเคราะห์ปริมาณเล่ม 1

543
เคมีวิเคราะห์ปริมาณเล่ม 1

ผู้แต่ง: มุกดา จิรภูมิมินทร์
ชื่อเรื่อง: เคมีวิเคราะห์ปริมาณเล่ม 1

สรุปเนื้อหา

หลักในการทำปริมาตรวิเคราะห์ การทำปริมาตรวิเคราะห์หรือการวิเคราะห์เชิงปริมาตร เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่งในทางเคมีวิเคราะห์ เพราะว่าทำได้เร็วและให้ผลของการทดลองที่ถูกต้องดีมากวิธีหนึ่ง การไทเทรต การคำนวนที่ใช้การทำปริมาตรวิเคราะห์ ซึ่งเราใช้หน่วยความเข้มข้นเป็นโมลาริตี นอร์แมลิตี และไทเทอร์ การไทเทรต หมายถึงการที่เราต้องการนำมาวิเคราะห์ มาทำปฎิกิริยากับรีเจนต์ที่เติมลงไป ซึ่งเป็นสารที่เราทราบความเข้มข้นแน่นอนแล้วรีเอเจนต์ที่กล่าวถึงนี้มักจะหมายถึงสารละลายมาตรฐาน และตามปกติแล้วเราจะเติมรีเจนต์ตัวนี้ลงมาจากบิวเรต สารละลายที่เติมลงมานี้เรียกว่า ไทเทรนต์ เราจะต้องวัดปริมาตรของไทเทรนต์ที่ใช้ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารที่เราต้องการวิเคราะห์ให้แน่นนอน จากความเข้มข้นของไทเทรนต์ และจากปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสารที่เราวิเคราะห์กับไทเทรนต์ จะทำให้เราสามารถคำนวนหาปริมาตรของสารที่เราต้องการวิเคราะห์ได้ สารละลายมาตรฐานเตรียมขึ้นมาจากการละลายที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งเราชั่งมาให้ได้น้ำหนักแน่นอนแล้ว สารที่กล่าวนี้คือสารมาตรฐานปฐมภูมิ หลังจากนั้นทำการเจือจางสารละลายนั้นให้มีปริมาตรถูกต้องตามการในขวดวัดปริมาตร ถ้สารที่เรานำมาเตรียมเป็นสารละลายนี้มีความบริสุทธิ์ไม่มากนักเราก็เตรียมสารละลายนั้นให้มีความเข้มข้นประมาณเท่าที่ต้องการ แล้วนำมาทำการเทียบมาตรฐาน ด้วยไทเทรดกับสารมาตรฐานปฐมภูมิปริมาณหนึ่ง ที่เราทราบน้ำหนักที่แน่นอนของสารนั้นแล้ง ตัวอย่างเช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นสารที่มีความบริสุทธิ์ไม่มากเพียงพอที่เราจะทำเป็นสารละลายมาตรฐานได้โดยตรง เราจะต้องนำมันมาไทเทรตกับกรดมาตรฐานปฐมภูมิ เช่น โพแทสเซียม แอชิด พีทาเลต ซึ่งเป็นของแข็ง ดังนั้นเราจึงนำมาชั่งน้ำหนักที่แน่นอนได้

ที่มา :

มุกดา จิรภูมิมินทร์. (2533). เคมีวิเคราะห์

ปริมาณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและฝึกหัด
อบรมการเกษตรแห่งชาติ.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com