ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ภาษาถิ่นตระกูลไทย

417
ภาษาถิ่นตระกูลไทย

ผู้แต่ง: เรืองเดช ปันเขื่องขัติย์
ชื่อเรื่อง: ภาษาถิ่นตระกูลไทย

สรุปเนื้อหา

ภาษาถิ่นตระกูลไทยในประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปในหมู่นักภาษาว่าในประเทศไทยมีภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ ที่นักภาษาจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทยอยู่หลายภาษา เท่าที่พบมีพูดอยู่ 19 ภาษาถิ่นด้วยกัน เรียกตามภาษาถิ่นตระกูลไทยดังนี้
1. ภาษาไทสยาม หรือ ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยมาตรฐานที่พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นภาษากลางและภาษาราชการ
2. ภาษาไทใต้ หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้ พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ จ.ชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย
3. ภาษาไทตากใบ หรือ ภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งที่พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่บริเวณ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
4. ภาษาไทลาว หรือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
5. ภาษาไทญ้อ เป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งของภาษาถิ่นตระกูลไทยกลุ่มภาษาลาว ชาวไทยญ้อได้อพยพมาจากเมืองคำเกิด ประเทศลาว
6. ภาษาไทโย้ย เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาถิ่นตระกูลไทยมีพูดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ชาวไทยโย้ยได้อพยพจากประเทศลาวเข้ามาสู่ประเทศไทย
7. ภาษาไทพวน ผู้พูดภาษานี้เดิมอยู่ที่เมืองพวน จ.เชียงขวาง ประเทศลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายร้อยปีมาแล้ว
8. ภาษาผู้ไท เดิมผู้พูดภาษานี้อยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยประเทศลาวและเวียดนาม ส่วนใหญ่มีอยู่หลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
9. ภาษาไทกะเลิง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาลาว สันนิษฐานว่าชาวไทยกะเลิงอพยพมาจากประเทศลาวมาอยู่ในประเทศไทย
10. ภาษานครไท ภาษานครไทยมีสำเนียงแบบประสมระหว่างภาษาไทยถิ่นเหนือ (แพร่ น่าน) กับภาษาถิ่นอีสาน (เลย)และภาษาไทยกลาง (พิษณุโลก)
11. ภาษาไทแสก เป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งที่มีผู้พูดอยู้เฉพาะที่ จ.นครพนมเท่านั้น ชาวไทยแสกเดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เวียดนาม
12. ภาษาไตยวน หรือ ภาษาคำเมือง ผู้ที่พูดส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางภาคเหนือของไทย
13. ภาษาไตใหญ่ ชาวลานนาและชาวลาวมักจะเรียกว่า เงี้ยว ส่วนนัภาษาจะเรียกว่า ภาษาชาน พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ในรัฐชานประเทศพม่า
14. ภาษาไตหย่า เจ้าของภาษามีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองหย่าในมณฑลยูนนานหรือคุนมิ้ง ซึ่งได้มีการอพยพเข้ามาในประเทศไทย
15. ภาษาไตขึน ภาษาไทยที่พูดในรัฐชานประเทศพม่า ส่วนใหญ่พูดในเขตเชียงตุงประเทศพม่า ซึ่งชาวไตขึนได้อพยพมาอยู่ทางภาคเหนือของไทย
16. ภาษาไตลื้อ ชาวไทยลื้อเรียกตัวเองว่า ไตลื้อ มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองพันนา มณฑลยูนนานประเทศจีน
17. ภาษาไตยอง เป็นภาษาถิ่นของภาษาไทยลื้อที่พูดอยู่ในเมืองยอง แต่สำเนียงต่างจากภาษาไตลื้อที่พูดอยู่ที่เมืองยองปัจจุบันและภาษาไตลื้อที่สิบสองพันนามาก
18. ภาษาไตดำ ภาษาไทยถิ่นหนึ่งมีพูดส่วนใหญ่ในประเทศเวียดนามและลาว ต่อมาชาวไทยดำได้อพยพมาสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมือง
19. ภาษาไตแดง เจ้าของภาษาจะเรียกตนเองว่า ไตแหลง ชาวไทยแดงมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณเดียวกับชาวไทยดำในเวียดนาม

ที่มา:

เรืองเดช ปันเขื่องขัติย์. (2531)ภาษาถิ่น

ตระกูลไทยกรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com