ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

อักษรไทย

411
อักษรไทย

ผู้แต่ง: เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์
ชื่อเรื่อง: อักษรไทย

สรุปเนื้อหา

ถ้าพิจารณาถึงรูปร่างลักษณะของอักษรไทยถิ่นต่าง ๆ แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มตามรูปแบบของอักษรแล้วจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มอักษรไทยล้านนา รูปแบบของอักษรเป็นรูปกลมคล้ายอักษรมอญและพม่า แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
1.1 กลุ่มอักษรธรรม มีอักษรลานนา (ตั๋วเมือง) อักษรธรรมอีสาน อักษรไทยขึน อักษรไทยลื้อ
1.2 กลุ่มอักษรไทยใหญ่ มีอักษรไทยใหญ่ อักษรไทยอาหม อักษรไทยรง อักษรไทยโนรา อักษรไทยขำตี้ อักษรไทยอ้ายตน
2.กลุ่มอักษรไทย - ลาว รูปแบบของอักษรค่อนข้างจะเป็นแบบบรรจงแนวตั้ง หรือกึ่งนอนกึ่งตั้ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1 กลุ่มอักษรไทยสยาม มีอักษรไทยสยามหรือไทยกลาง อักษรพ่อขุนรามฯ อัการฝักขาม อักษรขอมไทย
2.2 กลุ่มอักษรไทยน้อย อักษรลาวปัจจุบัน
2.3 กลุ่มอักษรไทยตังเกี๋ย มีอัการไทยดำหรืออัการโซ่ง อักษรไทยขาว
3.กลุ่มอักษรไทยพิเศษ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอักษรไทยผสมระหว่างอักษรธรรมกับอักษรโรมัน มีอักษรไตเหนอ ในประเทศจีน เป็นต้น อักษรโรมันที่นำมาใช่ขียนกับภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ ในเวียดนาม อักษรไทยถิ่นใดที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสองกลุ่มแรกก็ควรจัดอยู่ในกลุ่มนี้

ที่มา:

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2530). อักษรไทย.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com