ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

495.91ส749ว วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา

วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา
แรงจูงใจ (motivation)
แรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในด้านสอนภาษาไทย เพราะโยทั่วๆไปแล้วมักจะไม่มีใครให้ความสนใจกับภาษามากนักไม่ว่าจะเป็น ตัวนักเรียนหรือผู้ปกครอง ทั้งนี้เพราะภาษาไทยเป็นภาษาของเราเองเกิดมาก็สามารถพูดจาติดต่อสื่อสารได้รู้เรื่อง ส่วนจะดีมากน้อยแค่ไหนไม่ใคร่จะ สนใจกัน ครูภาษาไทยจึงควรพยายามสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าเพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้นักเรียนสนใจเรียน ตั้งใจฝึกฝนทักษะและมีทัศคติที่ดีต่อ ภาษาไทย แรงจูงใจมี 2ประเภท
1. แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) คือแรงจูงใจที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกที่ควรจัดขึ้น เช่น การาสร้างบรรยากาศ การจัด กิจกรรม และประสบการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจสนุกสนาน เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียน ครูภาษาไทยอาจสร้างแรงจูงใจภาย นอกด้วย
2. แรงจูงใจภายใน คือ แรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวของผู้เรียนเอง แรงจูงใจภายในเป็นความกระตือรือร้น ความใคร่รู้ใคร่เรียน ความ รู้สึกอนากร่วมทำกิจกรรมอยากเสาะแสวงหาความรู้ซึ่งเกิดขึ้นเอง ส่วนใหญ่มักมักจะเกิดขึ้นเนื่องจากผลของแรงจูงใจภายนอก คือ หลังจากที่นักเรียน รู้สึกสนุกสนานในการเรียนภาษาไทยแล้วก็ใคร่ที่จะทำกิจกรรมเอง อยากศึกษาหาความรู้เอง ตังอย่างเช่น หลังจากที่ได้เรียนลักษณะคำประพันธ์ประเภท กลอนอย่างสนุกสนานแล้ว นักเรียนก็เกิดแรงบันดาลใจอยากเขียนกลอนให้ตัวเอง ครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่จะจัดกิจกรรมและสร้างแรงจูงใจ ภายนอก ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุก เกิดความศรัทธาในภาษาไทยจนเกิดแรงจูงใจภายในตัวนักเรียน

ที่มา สุจริต เพียรชอบ,2538, วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา,กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com