ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

410
ภาษาอินเดีย

ผู้แต่ง: จินดา เฮงสมบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

สรุปเนื้อหา

การศึกษาภาษาในอินเดีย เริ่มต้นจากการศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาอันเก่าแก่ของชาวฮินดู คือ คัมภีร์ฤคเวท ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงสมัยพุทธกาล ภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเริ่มจะเป็นที่ไม่เข้าใจกันในหมู่ชนที่เกี่ยวข้อง ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ปาณินิ * (Panini) ได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถ หาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ และจักรวบรวมเข้าเป็นหมวดหมู่ เขียนเป็นตำราไวยากรณ์ ขึ้น 8 บท รวมเรียกว่า อัษฏาธยายี (Astadhayayi) มีกฎหรือสูตร (Sutra) ซึ่งอธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นับเป็นผลงานค้นคว้าทางภาษาที่ละเอียดลออที่สมบูรณ์ ปาณินิ ให้ชื่อตำราภาษา ที่ศึกษาวิเคราะห์และเรียบเรียงไว้นั้นว่า สันสกฤต (Sanskrit) หมายถึง ภาษาที่ตกแต่งดีแล้ว มีหลักเกณฑ์งดงามแล้ว
นักภาษาศาสตร์ที่ได้ศึกษาไวยากรณ์ของปาณินิ * กล่าวว่าวิธีการศึกษาและอธิบายของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้ สังเกตเห็นจริง ๆ มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อหรือเหตุผลของตัวเอง มิได้เรียบเรียงตามหลักปรัชญา จึงเป็นที่ยกย่องกันทั่วไปในหมู่นักภาษาศาสตร์ ว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด

ที่มา:

จินดา เฮงสมบูรณ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้อง

ต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com