ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.27 รวมข่าวทางการศึกษา

สพฐ.ดันSmart classroom แทนแท็บเล็ต

วันที่ 17 มิถุนายน นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าหลังจากที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติให้ยุติโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน ทั้งในส่วนของการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2557 และปีงบประมาณ 2556 ในโซน 4 ของนักเรียนชั้นม. 1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่ยังค้างอยู่ และให้นำงบประมาณทั้งสอง 2 ส่วน รวมแล้วเกือบ 7,000 ล้านบาท มาดำเนินโครงการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแทนว่าหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องทำเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงโครงการไปยังสำนักงบประมาณ โดยต้องใช้ชื่ออื่นแทนโครงการเดิมอาจใช้ชื่อโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หรือโครงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

นอกจากนี้ต้องขอกันงบประมาณเหลื่อมปี เพื่อให้สามารถใช้งบฯ ปี 2556 ในการจัดทำโครงการใหม่ต่อไปได้ โดย10 หน่วยงานที่มีงบฯ จัดซื้อแท็บเล็ต มีความเห็นตรงกันว่าโครงการใหม่ควรเป็นลักษณะของห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้แท็บเล็ตร่วมกัน หรือที่เรียกว่าสมาร์ทคลาสรูม(Smart Class room)

แต่ในห้องดังกล่าวจะมีรูปแบบและการบริหารจัดการแท็บเล็ตอย่างไรนั้น พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มอบให้ สพฐ.ในฐานะเจ้าภาพหลักมาประชุมหารือ และเสนอข้อมูลกลับมาอีกครั้ง ก่อนเสนอ คสช.เพื่อพิจารณาต่อไป

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ในวันที่ 23 มิถุนายนจะเชิญผู้แทนจาก 10 หน่วยงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอซีที มาให้คำแนะนำว่าควรเป็นห้องเรียนลักษณะใด

เบื้องต้น สพฐ.ได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการจัดทำสมาร์ทคลาสรูมแบบมาตรฐานทั่วไป ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ห้องละ250,000 บาท โดยงบฯ ปี 2557 จะทำสมาร์ทคลาสรูมได้ 15,000 ห้อง และงบฯ ปี 2556 ที่เหลืออยู่ในโซน 4 ทำสมาร์ทคลาสรูมได้ 4,000 ห้อง รวมงบประมาณสองส่วนจะทำได้ 19,000 ห้องหรือประมาณ 19,000 โรงเรียน

ขณะนี้ได้กำหนดเกณฑ์ในการจัดทำสมาร์ทคลาสรูมของแต่ละโรงเรียนไว้เบื้องต้นแล้วโดยให้ทำ 1 ห้องต่อ 1 โรงเรียนก่อนภายใน 2 ปีก็สามารถทำสมาร์ทคลาสรูมได้ประมาณ 30,000 โรงเรียนทั่วประเทศจะครอบคลุมนักเรียนทั่วประเทศ 10ล้านคน

แหล่งที่มา

สพฐ.ดันSmart classroom แทนแท็บเล็ต. (มิถุนายน 18, 2557). ค้นจาก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1402991193

 

All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC.
Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey
are registered trademarks of OCLC.
Revised:May 2014

Send comments to wachum49@hotmail.com