ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ระบบประกันสุขภาพด้านการปลอดภัยของอาหาร HACCP

363.192
ระบบประกันสุขภาพด้านการปลอดภัยของอาหาร HACCP

ผู้แต่ง: สุวิมล กีรติพิบูล
ชื่อเรื่อง: ระบบประกันสุขภาพด้านการปลอดภัยของอาหาร HACCP

สรุปเนื้อหา

ในการผลิตอาหารให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอัตรายต่างๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้บริโภค เพื่อที่จะหาแนวทางหรือมาตรการควบคุมอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ Codex ได้นิยามคำว่าอันตราย (Hazard) ไว้ว่า เป็นสิ่งที่มีคุณลักษณะชีวภาพ เคมี หรือฟิสิกส์ ที่มีอยู่ในอาหาร หรือสภาวะของอาหารที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ดังนั้น อันตรายของอาหารจึงสามารถแบ่งออก เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

1. อันตรายชีวภาพ ได้แก่ จุลินทรีย์ ไวรัส พาราไซต์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

2. อันตรายเคมี ได้แก่ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว

3. อันตรายกายภาพ ได้แก่ สิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ หิน เป็นต้น

นอกจากอันตรายดังกล่าวทั้ง 3 กลุ่มแล้ว Codex ยังไดระบุถึงสภาวะของอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความปลอดภัยของอาหาร สภาวะดังกล่าวนี้ได้แก่สภาวะที่ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญเติบโตหรือสร้างสารพิษ เมื่อเก็บผลิตภัณฑ์อาหารไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเป็นเว ลานาน สภาวะที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคจากพนักงานหรือจากการปนเปื้อนของชิ้นส่วนแมลงและขนสัตว์ เป็นต้นอัน ตรายต่างๆทั้ง 3 กลุ่ม และสภาวะที่อันตรายเหล่านี้สามารถควบคุมได้โดยการจัดการด้าน GMP หรือโปรแกรมพื้นฐานและการควบคุมกระบวน การผลิตอย่างถูกต้องโดยใช้ระบบHACCP

ที่มา:

สุวิมล กีรติพิบูล.(2544).ระบบประกันคุณภาพ

ด้านความ ปลอดภัยของอาหาร HACCP.
กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
(ไทย-ญี่ปุ่น).

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com