ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ธนาคารไทยล่มสลาย

332.1
ธนาคารระบบครอบครัวไทยล่มสลายแล้ว

ผู้แต่ง: เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
ชื่อเรื่อง: ธนาคารไทยล่มสลาย

สรุปเนื้อหา

จากนี้ระบบธนาคารไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งรุนแรงที่สุดตั้งแต่ระบบธนาคารไทยสถาปนาขึ้นอย่างมั่นคงในสังคมไทย สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากแนวคิดและกระบวนการในการผ่าตัดระบบธนาคารไทยของไอเอ็มเอฟ ที่มากกว่า การลดจำนวนธนาคารไทย พร้อม ๆ กับการเข้ามาครอบงำของธนาคารระดับโลก ก็คือ ระบบครอบครัวที่ฝังรากลึกในระบบธนาคารไทย กำลังพังทลายไปอย่างสิ้นเชิง ระบบครอบครัวของธนาคารไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนตั้งแต่รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 'อิทธิพลของสหรัฐฯ เริ่มมีมากขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา ในช่วง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอิทธิพลทางด่านเศรษฐกิจ โดยเข้ามาลงทุนที่เริ่มด้วยระบบสาธารณูปโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ ซึ่งกำลังขยายตัวในภูมิภาคซึ่งถือเป็นยุคสงครามเย็นที่ยาวนานช่วงหนึ่ง
อันเป็นช่วงที่ประเทศในภูมิภาคนี้กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจกลายเป็นศูนย์กลางความสนใจแห่งใหม่ของโลก "ปี 2500-2516 ถือเป็นฐานของการเจริญเติบโตทางธุรกิจพร้อม ๆ กับสังคมไทย ค่อยๆกลายเป็นสังคมเปิดมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งแรก "ธุรกิจธนาคาร ชาตรี โสภณพนิข กลับจากการศึกษาวิชาการการธนาคารจากอังกฤษ พร้อมๆ กับสุวิทย์ หวั่งหลี กลับจาก สหรัฐมาฟื้นฟูกิจการของตระกูลโดยเฉพาะกิจการธนาคาร ด้านตระกูลล่ำซำทายาทรุ่นใหม่ ๆ ก็ทยอยกลับมาในช่วงเดียวกัน ไม่ว่า บรรยงค์ โพธิพงษ์ หรือ บัญชา ผู้ที่ก้าวมาบริหารธนาคารกสิกรไทยในปี 2505" (ยอดเงินฝากในระบบธนาคารในประเทศไทย ขยายตัวอย่างเชื่องช้าในรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม (2590-2500) เพียงประมาณ 3 % แต่กลับก้วกระโดดเกือบ 8 เท่าในช่วงทศวรรษถัดมา อันเนื่องมาจากนโยบาย ส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลใหม่ ทั้งระบบสาธาณูปโภคของภาครัฐ การลงทุนของเอกชนกับต่างชาติเพื่อผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า ไปจนถึงการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวอย่างมาก
สิ่งที่สำคัญมาก ก็คือ บทบาทของธนาคารต่างชาติในประเทศลดลงอย่างมากในช่วงปี 2500-2516 เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนยอดเงินฝากที่เคยครองส่วนแบ่งตลาดอยู่นะดับกว่า 30% ในปี 2493 ลดลงเหลือเพียง 14% ในปี 2505 และ 7% ในปี 2515 การลดบทบาทของธนาคารต่างชาติในประเทศไทย เป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่สองและต่อเนื่องด้วยสงครามเกาหลี ในปี 2484 ก่อนที่สงครามมหาเอเชียบูรพาจะลุกลามเข้าสู่ไทยนั้น ระบบเศรษฐกิจ ไทยมีธนาคารดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด 12 แห่ง เป็นสาขาธนาคารต่างประเทศ 7 แห่งและธนาคารพาณิชย์ไทย 5 แห่ง

ที่มา:

วิรัตน์ แสงทองคำ. (2541).

ธนาคารไทยล่มสลาย.
กรุงเทพฯ : พี. เพรส.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com