banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย

306.8
รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย

ผู้แต่ง: จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ
ชื่อเรื่อง: รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย

สรุปเนื้อหา

พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ความคิด และศักยภาพเชิงสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของเด็กแต่ละคน ดำเนิน และการเปลี่ยนแปลงไปในสภาพเงื่อนไขแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต่างๆทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และองค์ประกอบทางสังคมไทยที่ห่อหุ้มคลุมวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนและเชื่อถือได้เกี่ยวกับสถาวะของเด็กและเยาวชนจะเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยในเชิงวิชาการและนำไปสู่การกำหนดนโยบายสังคมต่อไป คณะทำงานได้ตรวจสอบทบทวนวรรณกรรมเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวเท่าที่จะบันทึกไว้ในระยะ 10-20 ปีที่ผ่านมา สามารถสรุปสถานะและขอบเขตคล่าวๆขององค์ความรู้เท่าที่มีเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและสถานะภาพของเด็ก เยาวชน และครอบครัวไทย
1. ครอบครัว สถาบันแรกของเด็กและเยาวชนไทยการศึกษาวิจัยที่ผ่านมามีข้อสรุปที่บ่งชี้ว่า ครอบครัวไทยทั้งในชนบทและในเมืองมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเป็น ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
2.สถานภาพความรู้เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนไทย ครึ่งหนึ่งของเยาวชน 13-24 ปีเข้าสู่แรงงาน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมแต่มีแนวโน้มลดลงทุกที พบว่าแรงงานเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นในภาคพาณิชยกรรมและบริการ และภาคอุตสาหกรรมโดยที่จะย้ายตามครอบครัวเข้าสู่แรงงานในเมือง
3.เด็กในสภาวะยากลำบาก เด็กปรมาณ 6 ล้านคนอยู่ในครอบครัวยากจน เด็กถูกทอดทิ้งเกือบแสนคน เด็กกำพร้าประมาณ 3 แสนห้าหมื่นคน เด็กเร่ร่อนประมาณ 3 แสนเจ็ดหมื่นกว่าคน
4. สถานภาพของเด็กในพื้นฐานวัฒนธรรมและความเชื่อของสังคมไทย พื้นบานแต่ดั้งเดิมที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม ความเชื่อของสังคมไทยในการมองและให้คุณค่าต่อเด็กและเยาวชน คือลักษณะการปกครองแบบพ่อกับลูก
5. การลงทุนเพื่อเด็กในสังคมไทย รัฐบาลไทยลงทุนเพื่อเด็กและเยาวชนประมาณ 7000 บาทต่อคนต่อปีหรือ 3.9%
6. นโยบาย องค์กร และการดำเนินงานเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่ผ่านมายังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ โดยละเลยศักยภาพภาคธุรกิจและเอกชน
7. สถานภาพการวิจัยเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง ใช้การสำรวจ แบบสอบถาม หรือทดสอบปัจจัยต่างๆ
8. ประเด็นการวิจัยที่อยู่ในอันดับสำคัญ การศึกษาพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลแก้ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานต่างๆนำไปปรับนโยบายและวิธีการทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาชนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
9.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายบางประการในการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
รัฐพึงประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และผลกระทบอันเนื่องจากการที่สังคมไทยลงทุนเพื่อเด็กและเยาวชน
มาตราการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และครอบครัวในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง

ที่มา :

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2541).

รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก
เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิ
จัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับ
สนุนการวิจัย.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002