banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่

306.349
สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่

ผู้แต่ง: วิบูลย์ เข็มเฉลิม
ชื่อเรื่อง: สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่

สรุปเนื้อหา

วนเกษตรเป็นเกษตรพึ่งตนเอง พึ่งตนเองไม่ได้หมายความว่าไม่พึ่งใครเลย ทุกอย่างทำเอง กินเอง ใช้เอง ไม่ต้องซื้อไม่ต้องขาย นั่นเป็นความคิดที่แคบมาก การพึ่งตนเองเป็นเรื่องการจักชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆอย่างเหมาะสม สัมพันธ์กับคน สังคมและะรรมชาติรอบตัวเรา พึ่งตนเองหมายถึง การมีสวัสดิการและความมั่นคง ให้กับชีวิตของตัวเองในปัจจุบันจนถึงอนาคต สวัสดิการตัวนี้พร้อมที่จะสนองต่อเราทันที โดยที่เราไม่ต้องไปเรียกให้ใครมาจัดสวัสดิการให้ หรือให้ใครมาช่วยเหลือ เราสามารถจะช่วยตัวเราเองหรือพึ่งพาตัวเราเองได้ในโอกาสนั้นๆ

การพึ่งตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อม เราไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีใหม่ ถ้าหากสิ่งนี้สนับสนุนให้เรามีเวลามากพอที่จะไปเสริมสร้างสิ่งที่เราทำด้วยความยากลำบากให้มันง่ายขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสิ่งที่เอื้อต่อการพึ่งตนเองแล้วก็เป็นเรื่องถูกต้อง แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีเพื่อมาอำนวยความสะดวกทำให้เราพึ่งตนเองไม่ได้ ก็ไม่น่าจะถูกต้อง

วนเกษตรทำให้คนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง พอเรามีความเชื่อประการนี้ ก็ทำให้เรามีเสรีภาพทางความคิด เราคิดอย่างไรก็ไม่กลัวใครปฏิเสธความช่วยเหลือเรา คมมีเสรีภาพย่อมกล้าคิด เราเริ่มจะมีการตัดสินใจได้เองในเรื่องต่างๆ คิดอะไรก็ได้ที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง สามารถกำหนดได้ว่า ชีวิตคนควรเป็นอย่างไร เราจะวิเคราะห์ได้มากขึ้นว่า อะไรเป็นตัวส่งเสริม อะไรเป็นตัวบั่นทอนสำหรับชีวิต เราจะรู้อะไรถูกอะไรผิดมากขึ้น

ปัญหาสังคมไทยทุกวันนี้มาจากการขาดพื้นฐานทางความคิด และทิศทางที่ชัดเจนของสังคม จากสภาพการณ์ทางการเมือง ผู้มีบทบาทกระจุกอยู่ในหมู่คนชั้นสูงหลากหลายกลุ่มล้วนแต่มุ่งสร้างฐานทางเศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อรับใช้กลุ่มของตัวเอง จนกลายเป็นความโลภหลงในอำนาจ คนชั้นล่างกลับไร้สิทธิ

วนเกษตรเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นการอยู่ร่วมกัน เป็นอำนาจต่อรอง หรืออำนาจทางการเมืองซึ่งชาวบ้านสามารถตัดสินใจได้เอง เป็นฐานเศรษฐกิจและหลักประกันการมีอยู่มีกินสำหรับปัจเจกบุคคล สำหรับ ชุมชน หมู่บ้าน ชนบท ตลอดจนประเทศชาติด้วย

ที่มา :

วิบูลย์ เข็มเฉลิม. (2534).สู่สังคมวน

เกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร.
กรุงเทพฯ : หมู่บ้าน.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002