banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย

306.1
วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย

ผู้แต่ง: วิเชียร รักการ
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย

สรุปเนื้อหา

เมื่อกล่าวสรุปวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติ วัฒนธรรมของไทยทำให้กลุ่มคนไทยแตกต่าง ไปจากคนชาติอื่นในโลกความแตกต่างที่เราเห็นได้เรียกว่า เอกลักษณ์ เอกลักษณ์ของไทยที่ได้รับตกทอดจาก บรรพบุรุษทำให้ สังคมไทยแตกต่างจากชนชาติอื่น แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะไม่เหมือนเดิมจากบรรพบุรุษแต่เมื่อ พิจารณาจากกระแสรวมแล้วก็ยังมีแนวโน้มให้เห็นไม่มากก็น้อย ถ้าพิจารณาถึงลักษณะถึงลักษณะของวัฒนธรรม ไทยที่มีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันอาจกล่าวถึงเอกลักษณ์บางประการของวัฒนธรรมได้ดังนี้
1.การทำบุญและการประกอบการกุศล เนื่องจากคนไทยเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม จึงนิยมทำบุญและประกอบ การกุศลโดยทั่วไป
2.พิธีกรรม วัฒนธรรมโดยทั่วไปจะแสดงออกในรูปของงานพิธีหรือพิธีการ
3.ความสนุกสนาน คนไทยชอบรักสนุก ฉะน้นแบบแผนของพฤติกรรมต่างๆจึงอยู่บนพื้นฐานแห่งความสนุก เช่นจัดงานวันเกิด
4.ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมของไทยจะมีลักษณะเด่นที่มีความละเอียดอ่อน และประณีต ทั้ง ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรี และนาฏศิลป์

ลักษณะของวัฒนธรรม
1.วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในอาณาบริเวณหนึ่ง
2.พฤติกรรมที่เห็นว่าเป็นวิถีชีวิตมนุษย์นั้นไม่ใช่เป็นพันธุกรรม แต่เป็นการเรียนรู้
3.พฤติกรรมต่างๆจะสืบทอดกันต่อๆไป โดยอาศัยตัวมนุษย์เองและมนุษย์ก็อาศัยสัญลักษณ์เป็นตัวสื่อ
วัฒนธรรมของแต่ละละสังคมจะแตกต่างกันออกไปมากน้อยบ้างแล้วแต่ควมจำเป็น และความจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ และทรัพยากรต่างๆ แต่โดยที่วัฒนธรรมเปรียบเสมือนเขี้ยวเล็บของมนุษย์แต่ละสังคมเพื่อช่วยดำรงชีพของมนุษย์สามารถ สืบต่อกันไปได้อย่างน้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง วัฒนธรรมจึงมีลักษณะขั้นพื้นฐานหรือลักษณะความจำเป็นต่างๆอยู่ร่วม กันเสมอลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมช่วยให้วัฒนธรรมต่างๆได้กลายมาเป็นของสิ่งเดียวกัน

ที่มาของวัฒนธรรม
1.ปัจจัยทางชีวภาพ นั้นเป็นลักษณะสากลที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมมนุษย์ชาติฉะนั้นการวิวัฒนาการทางชีวภาพจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมาก
2.ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการครองชีพ
3.ปัจจัยทางจิต ร่างกายและจิตใจต่างก็เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันเพราะต่างก็เกี่ยวข้องกัน

สถาบันสังคมไทย หมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตร่วมกันของ สมาชิกในสังคม สถาบันเป็นวัฒนธรรมประเภทปทัสถานที่มีลักษณะเป็นนามธรรมอยู่มากซึ่งทำหน้าที่ประการสำคัญคือรักษาไว้และถ่ายทอดวัฒนธรรมสืบต่อไป

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม คือ ลักษณะทางสังคมนั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่หยุดนิ่ง หากแต่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นแนวโน้มโดยทั่วไปของสังคมไทยจึงอยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยความหมายของการเปลี่ยนแปลงแล้วพิจารณา ในลักษณะเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งๆหนึ่งในเวลาต่างกัน การเปลี่ยนแปลงจึงเกี่ยวข้องกับเวลา

ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยทั่งไปจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นไปในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตร เป็นต้น เป็นการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเป็นระยะเวลานานๆ อาจมีผลให้เกิดความสัมพันธ์แบบมีแผน อย่สงไรก็ตาม ความสัมพันธ์ย่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่ความสัมพันธ์ในระดับโครงสร้าง จะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะว่าอาจมีความสัมพันธ์ใหม่ที่ถือปฏิบัติเกิดขึ้นมาแทนที่ ทำให้สังคมอยู่ในสภาพที่สมดุลย์ ต่อไป นอกจากนี้สังคมที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมอื่นแล้ว อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย

ที่มา:

วิเชียร รักการ. (2529). วัฒนธรรม

และพฤติกรรมของไทย. กรุงเทพฯ : โอ
เดียนสโตร์.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002