banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย

303.4
การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ผู้แต่ง: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ชื่อเรื่อง: การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย

สรุปเนื้อหา

ธรรมาภิบาลหรือ(good governance)ในความหมายแบบสากลนี้รวมถึง ระบบ โครงสร้าง และกระบวนการต่างๆที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศ เพื่อที่ภาคต่างๆของสังคมจะพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสงบ จากความนี้แสดงให้เห็นว่า ธรรมมาภิบาลแบบสากลเน้นตรง กฎเกณฑ์ ที่วางระบบ โครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในการบริหาร จัดการเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของรัฐซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดี โดยมีสมมติฐานว่าวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาเป็นผลมาจากอธรรมมาภิบาลส่วนหนึ่ง ดังนั้นการสร้างธรรมาภิบาลขึ้นจะเป็นการดำเนินการเพื่อกอบกู้ชาติเพราะกลไกประชารัฐที่ดี เป็นเรื่องของคนไทยในชาติจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นมาจากรากฐานการยอมรับและการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างจริงจัง เมื่อเรามีกลไกประชารัฐที่ดี(ธรรมาภิบาล) ก็คงจะช่วยย่อนระยะเวลาการกอบกู้วิกฤตให้สั้นลงและประเทศไทยก็สามารถหลุดพ้นจากพันธะของ IMF ได้ในเวลารวดเร็วสิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการกอบกู้วิกฤต คือ จะเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับสังคมไทยให้เป็นสังคมเสถียรภาพ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นรากฐานธรรมาภิบาลหากพิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีเนื้อหา 336 มาตรา จะพบว่ารัฐธรรมนูญได้วางรากฐานของธรรมาภิบาลได้อย่างครบถ้วน กล่าวคือในแง่วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยึดประโยชน์สาธารณะ ของคนทุกภาคในสังคมในด้านโครงสร้างและกระบวนการ รัฐธรรมนูญได้เพิ่มภาคประชาสังคมเข้าสู่โครงสร้างการจัดการรัฐไทย และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคโดยเฉพาะภาคประชาสังคมในทุกด้านทั้งระดับชาติ- ท้องถิ่น-ชุมชนและทุกในระดับตั้งแต่ร่วมรับรู้ไปจนถึงร่วมทำและรับผลในด้านของสาระของธรรมาภิบาลเอง รัฐธรรมนูญได้วางหลักการให้เกิดการประสานประโยชน์ ของทุกคนในสังคม เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
1. ประโยชน์สาธรณะของคนทุกภาค คือเป้าหมายการจัดการรัฐไทยตามรัฐธรรมนูญ
2. โครงสร้างและกระบวนการในรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของธรรมาภิบาลสากล
3.สาระของธรรมาภิบาลตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ที่มา:

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542).การสร้างธรรมา

ภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002