banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย

303.37
คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย

ผู้แต่ง: กรมวิชาการ กระทวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง: คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย

สรุปเนื้อหา

วินัยในพระไตยปิก หมายถึง อุบายสำหรับการฝึกหัดกาย วาจา นั้นคื่อเป็นเรื่องของศิล ส่วน วินัยในการดำรงชีวิต ปราชญ์ทั้งหลายให้ความหมายว่า คือ กระบวนการปฏิบัติเป็นอุบายการฝึกหัดกาย วาจา และใจ

จริยธรรม ( Ethics ) มาจากภาษากรีกว่า Ethos คือ Habit นั้นคือนิสัย ดังนั้นจริยธรรมและจริยศาสตร์จึงเป็นเรื่องการฝึกนิสัย ซึ่งก็มีคำถามว่าฝึกอย่างไรจึงจะเป็นนิสัยบ้างก็มีข้อสงสัยว่านิสัยฝึกกันได้หรือไม่
Ethos หรือนิสัยตามทฤษฎีของชาวกรีกกล่าวว่า คนเราเกิดมาเหมือนผ้าขาวมาฝึกกันโดยต้องทำบ่อย ๆทำซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย แล้วจะกลายเป็นคุณธรรม เป็นนการเริ่มจากภายนอกเข้าไปสู่ภายในสู่เป็นลักษณะนิสัยเป็นคุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ฉะนั้นการทำดีต้องทำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย ตามหลักพุทธศาสนา มองวิธีฝึกเป็น 2 ส่วนคือ
1 ) ฝึกจากภายนอกเข้าสู่ภายใน เป็นกระบวนการฝึกกายวาจา ซึ่งจะส่งผลไปทางจิตใจ
2 ) ฝึกจากภายในออกสู่ภายนอก เป็นการฝึกจิตสิกขาโดยตรง ฝึกจิตให้มีกรรมฐาน มีสติ จนเกิดความสังวรระวัง จะได้ทำอะไรไม่ผิดพลาด
นอกจากนี้ยังมีวิธีฝึกอีกวิธีหนึ่งคือ ขาดตรงก็ปรุงแต่งตรงนั้น เช่น การฝึกเป็นผู้นำต้องรู้ว่าผู้นำจะต้องมีคุณธรรมอย่างไรก็ฝึกอย่างนั้น ซึงจะดีเฉพาะเรื่อง เป็นการพัฒนาบางส่วนของบุคลิกภาพ แต่จะไม่ลงถึงใจ ไม่ฝังลึกราก ไม่เป็นคุณธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการฝึกกาย วาจา ใจ เพื่อให้เข้าถึงใจ การฝึกตามหลักของศาสนาจะเป็นเรื่องของการฝึกบุคลิกภาพ จิตซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายของวินัย วินัยที่เราพูดกันนี้ น่าจะเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ดี
การเรียนการสอนน่าจะเป็นเรื่องของชีวิตที่ดี แต่ทุกส่วนต้องเป็น part ที่ไปถึง goal คือแต่ละส่วนจะนำไปสู่เป้าหมาย เป็นองค์รวม เป็นภาพรวมของการเป็นคนดีที่พึงประสงค์ การไม่ว่าจะเป็นการฝึกจากภายนอกเข้าสู่ภายใน หรือจากภายในออกสู่ภายนอก ล้วนเพื่อต้องการฝึกกาย วาจา ใจ กระบวนการฝึกจะต้องเป็น ไตรสิกขา เป็นองค์รวม คือมรรค มีองค์ประกอบ 8 ประการ นั่นคือ เป็นทางเดียวที่มี 8 ประการ
ส่วนจริยธรรม ตามพจนานุกรมที่เราใช้คือ หลักที่ควรประพฤติ เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวม ในการฝึกจริยธรรมต้องรวมถึงคุณธรรมด้วย จริยธรรมด้วย จริยธรรมคุณธรรมต้องไปด้วยกันคุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ คนดีมีศีลธรรมเราเรียกว่า กัลยาณชน นั่นคือ คนดีอย่างน้อยต้องมี เบญจศีล เบญจธรรม เบญจธรรมเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลยาธรรม คือคนที่มีคุณธรรม คนมีศีล คือ มีวินัย ด้วยวินัยจะอยู่ได้ต้องมีฐานรองรับ คือคุณธรรม และสามารถที่จะสร้างเสริมวินัยให้กับเด็กได้โดยเริ่มจากการสร้างวินัย นั่นคือ ให้เขาทำซ้ำ ทำบ่อย ๆ วินัยเป็นเครื่องมือสร้างการศึกษา อบรม ให้เกิดกระบวนการที่เราประสงค์ นั่นคือ วินัยเป็นเครื่องมือให้การศึกษาอบรม ในมางพุทธศาสนาจะมีบทลงโทษถ้าฝ่าฝืนวินัย และมีรางวัลถ้าปฏิบัติถูกต้อง วินัยที่เป็นแหล่งเสริมสร้างให้เกิดแรงจูงใจมี 3 ส่วนคือ
2 1. เกิดจากตัณหา กล่าวได้ว่าการที่คนเรารักษาวินัยส่วนหนึ่งเพราะต้องการรางวัลและหลีกเลี่ยงการลงโทษ
2. เกิดจากศรัทธา นั่นคือมีความเชื่อมั่นว่าวินัย ระเบียบนั้นดี ศรัทธาในแหล่งที่มาของวินัย ระเบียบ อนึ่ง ในการบัญญัติวินัยนั้นทุกคนต้องเห็นชอบ วินัยนั้นจึงจะกลายเป็นวินัยตนเอง
3. เกิดจากคุณธรรม นั่นคือคุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ถ้ามีคุณสมบัติที่ดีในจิตใจจะมีวินัยโดยไม่ต้องฝืนใจ หลักการสอนวินัย ประชาธิปไตยในโรงเรียน
1. สอนให้จำ นั่นคือต้องชี้แจงให้เห็นว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น ต้องสอนให้มีเหตุผลว่าถ้าตนเองมีวินัย สังคมจะเป็นอย่างไร ต้องชี้ให้เห็น การมีวินัยจะไม่เกิดขึ้นถ้าเขาไม่รับเป็นของตนและเห็นค่า
2. ทำให้ดู สาธิตให้ดู
3. อยู่ให้เห็น เรื่องบางเรื่อง การกระทำดีกว่าคำพูด เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ให้เห็น

ที่มา :

กรมวิชาการ กระทวงศึกษาธิการ.

(2541).คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและ
ทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม
ที่เน้น ความาวินัยและความเป็น
ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : กระทวง
ศึกษาธิการ.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002