banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

หลักนิเทศศาสตร์

302.2
หลักนิเทศศาสตร์

ผู้แต่ง: ปรมะ สตะเวทิน
ชื่อเรื่อง: หลักนิเทศศาสตร์

สรุปเนื้อหา

นิเศศาสตร์มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Communication Arts แปลว่า ศาสตร์แห่งการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงการสื่อสารทุกรูปแบบของมนุษย์

ความสำคัญ การสื่อสารนั้นจัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในชีวิตมนุษย์ นอกเหนือจากปัจจัยสี่ที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แม้การสื่อสารจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่การที่จะได้มาซึ่งปัจจัยทั้งสี่นั้นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือแน้นอน การสื่อสารเป็นพื้นฐานของการติดต่อของมนุษย์ และเป็น เครื่องมือสำคัญของกระบวนการสังคม การสื่อสารมีความสำคัญหลักๆต่อมนุษย์ 5 ประการ คือ
1. ความสำคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน
3. ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสำคัญต่อการปกครอง
5. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

นิเทศศาสตร์กับประโยชน์ทางสังคม
1. การรักษาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดำเนินต่อไป
2. การขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดสิ้นไปจากสังคม
3. การพัฒนาประเทศ บทบาทด้านการพัฒนาสังคมของนิเทศศาสตร์นี้เป็นบทบาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำประโยชน์แก่สังคม กล่าวคือ หากเราสามารถพัฒนาบุคคลแต่ละคนได้ ประชาชนแต่ละคนจะมีรายได้ดี มีความรู้มากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ที่มา:

ปรมะ สตะเวทิน. (2538).หลักนิเทศศาสตร์.

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002