ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

การฝึกสมาธิ

268.1
ความหมายและหลักการของการฝึกสมาธิ

ผู้แต่ง: สุจิตรา รณรื่น
ชื่อเรื่อง: การฝึกสมาธิ

สรุปเนื้อหา

1.ความหมายและหลักการของการฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิมีมาแต่ครั้งโบราณกาล คือประมาณสมัยอารยธรรมโมเห็นโจดาโร ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุ
สมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ ทรงออกไปศึกษายังสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน เท่ากับอาฬารดาบส ผู้เป็นอาจารย์ สมัยปัจจุบันมีการนิยมฝึกสมาธิแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก คือเมื่อมีความเจริญทางวัตถุ แล้วทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจ ความทุกข์กังวลทำให้หันมาแก้ปัญหาทางจิตใจ เกิดการนิยมฝึกสมาธิ
1.1 ความหมายของสมาธิ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของสมาธิไว้ว่า "ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมใจ ให้แน่วแน่เพื่อเพ่งเล็งในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยพิจารณาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดปัญญาเห้ฯแจ้งในสิ่งนั้น"
พระราชวรมุนี อธิบายความหมายของสมาธิไว้ว่า สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิตหรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรค ให้คำจำกัดความว่า "ความมีอารมณ์อันเดียวแห่งจิตที่เป็นกุศล เป็นสมาธิ" จากความหมายและคำจำกัดความที่ยกมานี้ ทำให้เข้าใจความหมายของสมาธิว่า หมายถึง ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แน่วแน่ต่ออารมณ์เดียว หรือภาวะที่จิตกำหนดแน่วอยู่กับอารมณ์อันหนึ่ง
1.2 หลักการของการฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิก็คือการใช้อารมณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นเครื่องฝึกหัดให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตอยู่ในความควบคุม สามารถจับอยู่กับอารมณ์อันนั้นอันเดียวได้
1.3 สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์เป็นศัตรูของสมาธิ เป้นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียจึงจะเกิดสมาธิได้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิวรณ์ นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง นิวรณ์ 5 อย่างคือ
1.3.1 กามฉันทนิวรณ์ ความพอใจในกาม
1.3.2 พยาบาทนิวรณ์ ความขัดเคืองแค้นใจ
1.3.3 ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็ง
1.3.4 อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ
1.3.5 วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัย
1.4 ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ จิตที่เป็นสมาธิหรือมีคุณภาพดีมีสมรรถภาพสูง มีลักษณะดังนี้
1.4.1 แข็งแรง มีพลังมาก
1.4.2 ราบเรียบ สงบซึ้ง
1.4.3 ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด
1.4.4 นุ่มนวลควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน
จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ องค์ประกอบด้วยองค์ 8 คือ (1) ตั้งมั่น (2) บริสุทธิ์ (3)ผ่องใส (4) โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา (5) ปราศจากสิ่งมังหมอง (6) นุ่มนวล (7) ควรแก่งาน (8) อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว
1.5 ระดับของสมาธิ ในชั้นอรรถกถาจัดแยกสมาธิออกเป็น 3 ระดับคือ
1.5.1 ขณิกสาธิ สมาธิชั่วขณะเป็นสมาธิขั้นต้น จะใช้เป็นจุดตั้งต้นในการเจริญวิปัสสนาก็ได้
1.5.2 อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ หรือสมาธิจวนจะแน่วแน่เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ได้
1.5.3 อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิที่แนบสนิทเป็นสมาธิระดับสูงสุด

2. อิทธิบาท 4 ในฐานะเป็นตัวสำคัญในการสร้างสมาธิ อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ หรือธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ มี 4 อย่างคือ ฉันทะ - ความพอใจ วิริยะ - ความเพียร จิตตะ - ความคิดจดจ่อ และวิมังสา - ความสอบสวนไตร่ตรอง จากพุทธพจน์ที่ยกมานี้ จึงมีสมาธิ 4 ข้อ คือ

(1) ฉันทสมาธิ - สมาธิที่เกิดจากฉันทะ
(2) วิริยสมาธิ - สมาธิที่เกิดจากวิริยะ
(3) จิตตสมาธิ - สมาธิที่เกิดจากจิตตะ
(4) วิมังสาสมาธิ - สมาธิที่เกิดจากวิมังสา
สมาธิเกิดจาก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรือจากความมีใจรัก มีแนวความเข้าใจดังนี้
2.1 ฉันทสมาธิ สมาธิเกิดจากฉันทะ ฉันทะ แปลว่า ความพอใจ ได้แก่ ความีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น
2.2 วิริยสมาธิ สมาธิเกิดจากวิริยะ วิริยะแปลว่า ความเพียร ได้แก่ ไม่ย่อท้อไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก
2.3 จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ จิตตะ แปลว่า ความคิดจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตผูกพัน ใจอยู่กับเรื่องงาน
2.4 วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา วิมังสา แปลว่า ความสอบสวนไตร่ตรองไ ด้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณา ตรวจหาเหตุผล รู้จักทดลองและ คิดหาทางแก้ไขปรับปรุง

3. สมาธิในฐานะเป็นองค์มรรค

สมาธิในฐานะเป็นองค์มรรคมีชื่อเรียกเฉพาะว่าสัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อหนึ่งในบรรดาองค์มรรค 8 ข้อ ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิเป็น- ความรู้ในทุกข์ สัมมาสังกัปปะเป็น - ความดำริในการออกจากกาม สัมมาวาจาเป็น - การงดเว้นจากการพูดเท็จ สัมมากัมมันตะเป็น - การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต สัมมาอาชีวะเป็น - สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ สัมมาวายามะเป็น - วินัยให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร สัมมาสติเป็น - มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ สัมมาสมาธิเป็น - สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม สรุปความได้ว่า อริยมรรคมีองค์ 8 มีดังนี้

(1) สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ

(2) สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ

(3) สัมมาวาจา - เจรจาชอบ

(4) สัมมากัมมันตะ - กระทำชอบ

(5) สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ

(6) สัมมาวายามะ - เพียรชอบ

(7) สัมมาสติ - ระลึกชอบ

(8) สัมมาสมาธิ - ตั้งจิตมั่นชอบ

สมาธิที่เป็นองค์มรรคนั้นจะต้องเป็นสมาธิที่ควบคู่กับวิปัสสนา หรือสมาธิที่ใช้เป็นบาทฐานของวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง กระทั่งสามารถทำลาย กิเลสตัณหา อุปาทานได้หมดสิ้น

4. ขอบเขตความสำคัญของสมาธิ

สมาธิเป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนา มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธืมีขอบเขต ความสำคัญอาจสรุปได้ดังนี้
3.1 ประโยชน์ของสมาธิในการปฏบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรม นำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับ ให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลดีที่สุด
3.2 ฌานต่างๆ ทั้ง 8 ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่า สมถะ
3.3 ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆ สงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราว เรียกว่าเป็นโลกียวิโมกข์ สมาธิเป็นองค์ธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน ขอบเขตความสำคัญ จะเป็นตัวตัดสิน จะต้องเป็นปัญญา ที่ใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะว่า วิปัสสนา

ที่มา:

สุจิตรา รณรื่น.

(2532). การฝึกสมาธิ.
กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com