ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

โครงสร้างของความรู้

ถ้าพูดว่าอะไรที่มีประโยชน์เป็นความรู้ได้ทั้งนั้น การมีข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทางใดทางหนึ่งที่เราเรียกว่าสารสนเทศก็น่าจะเป็นความรู้ได้ระดับหนึ่ง เมื่อพูดถึงโครงสร้างกันเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และมักได้มาจากกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยการศึกษาค้นคว้านั้นสามารถแบ่งออกได้จากที่ซับซ้อนน้อยไปยังที่ซับซ้นมากกว่าคือ ข้อเท็จจริง (fact) , มโนทัศน์ (concept), หลักการ (principle), สมมุติฐาน (hypothesis) กฏ (law) และทฤษฏี ในแต่ละองค์ประกอบมีความหมายเฉพาะตัว ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่เราเห็นได้เชิงประจักษ์ เช่นน้ำแข็งลอยน้ำได้ ก้อนหินแข็งกว่าดิน ส่วนมโนทัศน์เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดเป็นความรู้ขึ้น มักเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาสัมพันธ์กัน แลมโนทัศน์ใหม่เกิดจากมโนทัศน์หลายมโนทัศน์มาสัมพันธ์กัน ซึ่งความเข้าใจมโนทัศน์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ เช่นไม่เพียงแต่จำได้ต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับอย่างอื่นด้วย หลักการนั้นเป็นความจริงที่สามารถใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ หรือได้มาจากการนำมโนทัศน์มาสัมพันธ์กันเช่นเดียวกับการเกิดมโนทัศน์ใหม่ สมมุติฐานเป็นคำตอบที่คาดคะเน เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน ที่อาจเป็นไปได้มากที่สุดตามความคิดของแต่ละคนในเรื่องที่กำลังสนใจ อาจเกิดจากความเชื่อแรงบันดาลใจ จะได้รับการยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลหลักฐานที่มาสนับสนุนหรือคัดค้าน สมมุติฐานที่ว่าถูกสมัยหนึ่งอาจเปลี่ยนหรือยกเลิกไปได้เมื่อมีผู้พบหลักฐานเหตุผลมาหักล้าง สมมุติฐานบางอย่างตั้งขึ้นเป็นเวลานานจนเป็นที่เชื่อถือ ไม่มีข้อโต้แย้งสมมุติฐานนั้นก็อาจกลายเป็นกฏ เช่นสมมุติฐานของอโวกาโดร ปัจจุบันยอมรับว่าเป็นกฏของอโวกาโดร

กฏกับหลักการอาจใช้แทนกันได้ เพราะกฏก็คือหลักการอย่างหนึ่ง เป็นหลักการที่เป็นเหตุและผล เขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ กฏอาจจะมาจากการหาเหตุผลแบบอนุมาน หรือแบปอุปมาน แต่กฏก็ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่าทำไมจึงมีความสัมพันธ์เช่นนั้น สิ่งที่จะอธิบายความสัมพันธ์ในกฏคือทฤษฎี ทฤษฎีจึงอธิบายได้ว่าทำไมกฏจึงเป็นเช่นนั้น ดังนั้นทฤษฎีจึงเป็นข้อความที่ยอมรับกันทั่วไปในการอธิบายกฏหรือหลักการ กล่าวโดยทั่วไปทฤษฎีคือข้อความที่ใช้อธิบายหรือนำนายปรากฏการณ์ต่างๆ นั่นเอง ในการสร้างทฤษฎีส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเกต การทดลอง การจินตนาการและการอุปมาณรวมกันเพื่อสร้างข้อความที่จะอธิบายการสังเกตนั้นให้ได้ บางครั้งนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ใช้การสังเกตทดลองแต่ใช้วิธีการจินตนาการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างทฤษฎีขึ้่นมาก็มี และปรากฏการณ์เพิ่งเกิดขึ้นที่หลังตามที่จิตนาการไว้ก็มีเช่นกัน ก็ได้อาศัยทฤษฎีนั้นมาอธิบายเช่นกัน

ที่กล่าวมาจัดเป็นโครงสร้างการเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากว่ามีความเป็นเหตุเป็นผลในทางการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ก็นำโครงสร้างลักษณะดังกล่าวไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม บางครั้่งก็ตั้งชื่อเป็นวิทยาศาสตร์สังคม เช่น political science, management science เป็นต้น และเข้าใจว่าการจัดแบ่งโครงสร้างทางความรู้ก็ล้อตามโครงสร้างทางวิทยาศาสตร์ แต่การจัดแบ่งประเภทความรู้อาจจะแตกต่างกันไปเพื่อให้สะดวกในการนำไปใช้ในแต่ละศาสตร์

แหล่งที่มา
หัสชัย สิทธิรักษ์ . (2555). โครงสร้างของความรู้. ค้นจาก

http://www.nstru.ac.th/portal/news/
show_news.php?id=10386

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com