ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

จริยศาสตร์ตะวันตก : ค้านท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ทร์

170.1 น881จ
ความขัดแย้งระหว่างประสบการณ์นิยม กับเหตุผลนิยม

ผู้แต่ง: เนื่องน้อย บุณยเนตร
ชื่อเรื่อง: จริยศาสตร์ตะวันตก : ค้านท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ทร์

สรุปเนื้อหา ความขัดแย้งระหว่างประสบการณ์นิยม กับเหตุผลนิยม

แนวคิดทางปรัชญาทั่วไปของค้านท์มักจะถูกมองว่า เป็นแนวคิดที่ว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างสำนักประสบการณ์นิยม เช่น ของเดวิด ฮิวม์ กับแนวคิดสำนักเหตุผลนิยม กระนั้นก็ดี อาจกล่าวได้ว่าค้านท์เองต้องการจะหาข้อสรปของความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์ กับศาสนาและศีลธรรมนั่นเอง แนวความคิดวิทยาศาสตร์แบบนิวตันมองโลกเป็นระบบจักรกลที่ประกอบด้วยส่วนย่อยที่เป็นสสาร สสารเหล่านี้ตกอยู่ในความควบคุมของกฎธรรมชาติที่ตายตัวที่อาจแทนด้วยสูตรคณิตศาสตร์ กฎดังกล่าวอาจกล่าวได้กว้างๆ ว่าคือกฎสาเหตุสากล กล่าวคือ ถ้ามีสาเหตุหรือเหตุการใดเกิดขึ้นก่อนหน้าในระบบจักรกลนี้ ก็จะมีผลเฉพาะหรือเหตุการณ์เฉพาะอีกอย่างตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัญหาของการยอมรับภาพลักษณ์ของโลกเช่นนี้คือ วิทยาศาสตร์ยังอ้างด้วยว่า ระบบจักรกลเป็นระบบที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่อย่างที่ไม่มีเขตกำจัด และวิธีการวิทญาศาสตร์เท่านั้นที่จะใหความรู้ที่แท้จริงแก่เราได้ แต่การยอมรับสมมติฐานสองประการหลังนี้ขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานบางประการของคนตะวันตก เช่นความเชื่อที่ว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและหล่อหลอมให้โลกเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ ซึ่งก็มีใยตามมาว่าอย่างน้องที่สุดการสร้างโลกของพระองค์จะต้องมิได้อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ดังกล่าว และนัยอีกประการก้คือ เราอาจไม่เข้าใจ ได้อย่างสมบูรณ์เพียงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพราะแม้แต่ความมีอยู่ของพระองค์เองก็มิอาจพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ความคิดทางวิทยาศาสตร์ยังขัดแย้งกับความเชื่อของเราที่ว่ามนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์เป็นอิสระที่จะเลือกทำหรือไม่ทำตามพันธะทางศีลธรรมของตน กล่าวคือ โดยทั่วไปเราเชื่อว่ามนุษย์เป็นอิสระ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน แต่ถ้าเรามองว่ากฎสาเหตุแบบจักรกลนิยมครอบคลุมทุกสิ่งในโลกธรรมชาติ นั่นหมายความว่า การเลือกของมนุษย์ก็ต้องมีสาเหตุก่อนหน้ามากำหนด และถ้ามีสาเหตุก่อนหน้ามากำหนด มนุษย์ก็ไม่อาจเลือกได้จริงๆ "เลือก" หรือ "อิสรภาพ" จะเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า มนุษย์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ดังนั้นหากเชื่อตามวิทยาศาสตร์แล้วความศรัทธาในศาสนาจะกลายเป็นเรื่องงมงาย ความเชื่อเรื่องอิสรภาพ และความรับผิดชอบทางศีลธรรมของมนุษย์จะกลายเป็นภาพลวงตาต่อไป
นักปรัชญา เช่น ฮอบส์ เดส์คาร์ทส์ และไลบ์นิส พยายามแก้ความชัดแย้งดังกล่าว เช่น ไลบ์นิสมองภาพลักษณ์ของโลกในแนวคิดนิวตันว่า แม้จะเข้าได้กับจินตนาการของมนุษย์แต่ก็ขัดแย้งกับเหตุฟล และสรุปว่า โลกทัศน์ของนิวตันนั้นอาจยอมรับได้ถ้ามองว่าเป็นเพียงการบรรยายให้เห็นถึงโลกที่ปรากฏแต่มิใช่โลกที่แท้จริงด้วยตนเอง ส่วนคนที่แท้จริงจะรู้ได้ด้วยเหตุผล ในทางตรงข้ามค้านท์กลับมองว่า ปัญหามิได้อยู่ในแนวคิด ซึ่งก็อาจเป็น เพราะปัญหาอภิปัญญาเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและยากที่จะตอบ แต่สำหรับค้านท์เขาชื่อว่าที่จริงแล้วนักอภิปรัชญากำลังทำสิ่งที่เป็นไม่ได้ กล่าวคือ ที่จริงแล้วเราไม่อาจรู้โลกที่แท้จริงแท้ได้เลย ดังนั้นคำถามที่จะต้องถามก่อนอื่นก็คือคำถาม อภิปรัชญาที่จริงแท้ได้เลย ดังนั้นคำถามที่จะต้องถามก่อนอื่นก็คือคำถามที่ว่า อภิปรัชญาเป็นไปได้หรือไม่

ที่มา :

เนื่องน้อย บุณยเนตร . (2539). จริยศาสตร์ตะ

วันตก : ค้านท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ทร์.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
หน้า :1-7

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com