ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

155.6 ช764จ
จิตวิทยาและการพัฒนาการของมนุษย์

ผู้แต่ง: เชียรศรี วิวิธสิริ
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

สรุปเนื้อหา

จิตวิทยาและการพัฒนาการของมนุษย์
ชั่วชีวิตของคนเราที่ผ่านไปแต่ละวัยยั้น น่าสนใจน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เริ่งตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่ คลอดออกมาเป็นทารก เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน และวัยชาร เห็นได้ว่าชีวิตและสังขสรย่อมผันแปรไปตามธรรมชาติของมันเราห้ามมันไม่ได้ หลีกหนีไม่พ้นทุนคนเกิดมาแล้วต้องตาย คนเราจะมีความสุขความทุกข์ และประสบปัญหามากมายหลายประการ สภาพและเหตุการณืต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหล่านี้ เราจำเป็นต้องสนใจ ต้องศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้จักตนเองและผู้อื่นว่าในช่วงวัยต่างๆ นั้น มีอะไรขึ้นเกิดมีปัญหาและความต้องการอะไรบ้าง มีความสนใจและไม่สนใจอะไร และทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี สามารถปรับตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขจากเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว เป็นที่มาของรายละเอียดเนื้อหาที่นำเสนอในบทนี้ นั้นคือ เรื่องราวที่ว่าด้วยจิตวิทยาและพัฒนาดารของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ความหมายของสิ่งมีชีวิตที่ทราบกันดีคือ ลักษณะที่แสดงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีความเป็นตัวตน กับสิ่งที่สิ้นความเป็นตัวตน คือ ความตาย สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสิ่งที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ที่เราพูดภาษาทั่วไปว่า ความเป็นอยู่การอยู่กิน การดำรงชีพ การพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ริ่มตั้งแต่เกิด เจริญวัยไปสู่การมีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ ชราภาพ และตายตามลำดับ ที่เราเรียกว่า "วงจรชีวต" นั้น เป็นส่วนผสมผสานของลักษระทางชีววิทยา ทางจิตใจ และทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจเชิงพัฒนาการ เพื่อความสะดวกและทำความเข้าใจได้ง่ายในการศึกษาเรื่องราวชีวิตมนุษย์ จึงมีผู้นิยมแบ่งชีวิตตลอดชีวิตออกเป็นช่วงเวลาหลายช่วง ที่เรียกว่า การแบ่งวัยนั้นเอง จาการศึกษาเรื่องพัมนาการของมนุษย์และนักการศึกษาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งในประเทศตะวันตกและตะวันออก ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันในความจริงเรื่องขั้นตอนการพัฒนาในช่วงชีวิตของมนุษย์ โดยจะแบ่งช่วงอายุของแต่ละวัยในลักษระใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพราะแต่ละวัยของคนจะมีลักษระเด่นเป็นพิเศษเฉพาะวัยแตกต่างกัน
วิธีศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ มี2 วิธีคือ
1. วิธีศึกษาโดยใช้กลุ่มเดียวตลอดหรือวิธีศึกษาระยะยาว
วิธีศึกษาแบบนี้เริ่มต้นด้วยการหากลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษามากลุ่มหนึ่ง หรือหลายกลุ่มก็ได้ แล้วติดตามศึกษากลุ่มตัวอย่างนี้ไปจนกว่าที่จะได้สิ่งที่ต้องการด้วยกลวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน 1ปี 2ปี 3ปี หรือ5ปี 10ปี 20ปี ฯลฯก็ได้ เช่น เราต้องการจะศึกษาอัตราการเพิ่มน้ำหนักของเด็กวัยทารกเป็นรายเดือน เราจะต้องหาเด็กเพิ่งคลอดมา20-30 คนเป็นอย่างน้อย แล้วชั่งน้ำหนักของเด็กกลุ่มนี้ทุกเดือน ไปจนเด็กกลุ่มนี้อายุครบ 2 ปี หรือ การศึกษาเรื่องความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ว่าเปลี่ยนแปลงตาม อายุหรือไม่ โดยเลือกศึกษาในช่วงอายุ 20-24 ปี,25-30 ปี,31-34 ปี และ35-40 ปี โดยผู้ศึกษาจะต้องหาผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี มากลุ่มหนึ่ง สังเกตและสัมภาษณ์แล้วทำแบบทดสอบต่างๆ หลังจากนั้นก็ศึกษาติดตามเช่นนี้อีก เมื่อเขาเหล่านั้นมีอายุในระหว่าง 25-30 ปี,31-34 ปี ,35-40ปี ตามช่วงเกณฑ์ที่วางไว้แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบดู
2. วิธีศึกษาโดยใช้กลุ่มหลายๆกลุ่มหรือวิธีศึกษาแบบภาคตัดขวาง การศึกษาด้วยวิธีนี้จะต้องมีกลุ่มตัวอย่างหลายๆ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะต่างกันที่อายุ เช่น ในกรณีศึกษาเรื่องอัตราการเพิ่มน้ำหนักของเด็กทารกเป็นรายเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ต้องมีอายุ 1เดือน กลุ่มอายุ 2 เดือน กลุ่มที่ 3 อายุ3 เดือน.... จนถึงกลุ่มที่ 24 อายุ 2 ขวบพอดีเมื่อเราหากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้แล้วก็สามารถทำาการชั่งน้ำหนักของเด็ก 24 กลุ่มนี้พร้อมกันได้เลย ทำให้ได้ข้อมูลทั่งหมดมาในเวลาอันสั้น หรือในกรณีที่จะศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเรียนรู้ของ ผู้ใหญ่ระหว่างช่วง 20-24 ปี 25-30ปี 31-34 ปี และ35-40 ปี ผู้ศึกษาจะต้องหากลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 4 กลุ่ม โดยแยกตามช่วงอายุละ 1 กลุ่ม แล้วดำเนินการศึกษาพร้อมกันไปได้เลย ไม่ต้องรอเวลาเหมือนการศึกษาด้วยวิธีแรก เมื่อเรานำข้อมูลที่ได้จากทุกกลุ่มมาเรียงกันก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน โดยไม่ต้องใช้เวลานานถึง 20-30 ปี วิธีศึกษารวบรวมข้องแบบนี้จะได้ผลสรุปเช่นเดียวกับวิธีแรกเพียงแต่ผลสรุปนั้น รวบรวมมาจากกลุ่มประชากรหรือดลุ่มตัวอย่างหลายๆ กลุ่มทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษา แต่ละ ลักษณะพัฒนาการหรือพฤติกรรที่จะศึกษาด้วยวิธีนี้ ควรมีพฤติกรรมหรือพัฒนาการที่มีกระส่วนในส่วนการพัฒนาแบบเดียวกันเพื่อที่จะสามารถประยุกต์ไปสู่บุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นๆ ได้

ที่มา :

เชียรศรี วิวิธสิริ. (2541).

จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ประสานมิตร , หน้า180.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com