ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

จิตวิทยาการเรียนรู้

153.15พ978จ
การจูงใจกับการเรียนรู้

ผู้แต่ง: ไพบูลย์ เทวรักษ์
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาการเรียนรู้

สรุปเนื้อหา

การจูงใจกับการเรียนรู้
การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ซับซ้อนและยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งมีการสร้าง (นิสัย) ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่คน ตลอดจนอุดมการณ์ของชาติ มนุษย์อาจจะเต็มใจที่จะประพฤติปฏิบัติตามโดย ไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆ หรือมนุษย์อาจไม่อยากจะทำตามแต่จำยอมต่อภาวะการณ์ที่จูงใจให้การกระทำ ซึ่งนักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยกระบวนการ จูงใจเละได้เสนอแนวคิดทฤษฎีต่างๆ เช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีแนะสิ่งเร้า ทฤษฎีเร้าอารมณ์ ทฤษฎีสร้างความต้องการ-แรงขับ-สิ่งล่อใจ ฯลฯ
ธรรมชาติการจูงใจ
การจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมโดยมีความต้องการ มีแรงขับ และการกระทำสัมพันธ์ต่อเนื่งเพื่อสู่เป้าหมายและเมื่อเกิดมี ความต้องการจึงมีแรงขับ แล้วก่อให้เกิดการกระทำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นพฤติกรรมการจูงใจถูกกำหนดทิศทางให้แสดงออกตามความประสงค์หรือความ มุ่งหมายไม่ว่าบุคคลจะเต็มใจหรือจำใจต้องกระทำกระบวนการ ซึ่งปกติอธิบายได้ง่ายเมื่อมีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสรีระ เช่น ร่างกายขาดสารเคมีหรือ ขาดน้ำ ในกรณีร่างกายขาดน้ำร่างกายผลิตน้ำเองไม่ได้ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้คนนแสดงพฤติกรรมโดยการแสวงหาน้ำมาให้ได้ จะโดยวิธีการใดก็ตาม เมื่อ ได้รับน้ำแล้วร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุลย์ ซึ่งกว่าจะปกติสุขได้อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยุ่งยากซับซั้อนและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย แรงขับปฐมภูมิ ที่สำคัญได้แก่
1. กระหาย (Thirst) เมื่อร่างกายขาดน้ำแล้วตามปกติแล้วจะมีอาการปากคอแห้ง
2. หิว (Hunger) ความหิวโหยของคนเราถูกนำมาอ้างอิงหรือหาเหตุก่อการณ์ต่างๆ มากมาย
3. เพศ (sex) ในคนเนั้นแรงขับทางเพศมีลักษณะเป็นการเรียนเสียส่วนใหญ่ กล่าวคือการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ได้มาจากประสบการณืมากกว่า ระดับฮอร์โมนเพศอื่นแล้ว
4. การหลับและการตื่น (Sleep and Activation) โดยทั่วไปการหลับ-ตื่น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ซับซ้อนมากนัก กล่าวคือ ร่างกายยที่เหน็ดเหนื่อย มาทั้งวันก็ต้องการพักผ่อนนอนหลับ แล้วตื่นขึ้นมาทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตามแต่ละบุคคล
ทฤษฎีการจูงใจ
ทฤษฎีวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้มีความเห็นว่าคนเราทำกิจกรรมใดๆ ก็เพราะแรงผลักดันทางเพศ และความก้าวร้าว อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ตัวอย่างการแต่งกายของคนเรา ถ้ามองในทัศนะของทฤษฎีนี้ เป็นการกระทำให้เกิดการยั่วยวนทางเพศมากว่าเพื่อสิ่งอื่นใด ก็คือแสดงถึงความต้องการทางเพศ นั่นเอง
ทฤษฎีอารมณ์ มาจากแนวคิดที่ว่าคนเราจะพยายามหนีทุกข์และแสวงหาสุข ทฤษฎีนี้เน้นอารมณ์พึงพอใจเป็นแรงผลักดันให้คนทำกิจกรรมต่างๆ
ทฤษฎีปัญญา เชื่อว่าความเข้าใจสถานะการณ์และความสามารถคาดคะเนหรือตั้งระดับความคาดหวังที่จะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นการ กระตุ้นให้เกอดพฤติกรรมการจูงใจขึ้น
ทฤษฎ๊สิ่งแนะ-สิ่งเร้า พฤติกรรมการจูงใจเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งแนะหรือสิ่งล่อใจเป็นพื้นฐาน นี่คือความเชื่อตามแนวคิดของทฤษฎีนี้ สิ่งแนะหรือสิ่ง ล่อใจ ล้วนแต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น
ทฤษฎีสร้างความต้องการ-แรงขับ-สิ่งล่อใจ
อธิบายกระบวนการของพฤติกรรมที่เริ่มต้นที่ความต้องการแล้วทำให้เกิดแรงขับและมีพฤติกรรมมุ่งไปสู่เป้าหมายในที่สุด

ที่มา :

ไพบูลย์ เทวรักษ์. (2540).

จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:
เอส ดี เพรส การพิมพ์, หน้า91-101.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com