banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

ไขปริศนาฮวงจุ้ย

133.5 ม487ข
ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาฮวงจุ้ย

ผู้แต่ง: มาโนช ประภาษานนท์
ชื่อเรื่อง: ไขปริศนาฮวงจุ้ย

สรุปเนื้อหา

ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาฮวงจุ้ย
การเรียนรู้วิชาฮวงจุ้ยไม่ใช่เรื่องยากอะไร ทุกคนสามารถเรียนรู้วิชานี้ได้เหมือนกับวิชาอื่นๆ ทั่วไป ยิ่งในยุคสมัยยี้มีตำราฮวงจุ้ยออกมาให้ศึกษากันมากมาย โอกาสที่จะเข้าถึงวิชานี้ก็จะมีมากขึ้น ไม่ต้องแสวงหากันเอาเองเหมือนแต่ก่อน แต่การเรียนรู้ส่วนใหญ่เท่าที่ผมพบเห็นมา มักจะเรียนกันแบบท่องจำ จำกฏเกณฑ์ข้อห้ามกันแบบตายตัว ตำราอย่างไรก็ยึดเอาคามนั้น โดยไม่มีการนำเอามาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เรียนเมื่อนำเอาหลักวิชาไปปฏิบัติ ตัวเองก็ไม่รู้ว่าทำไมจะต้องทำอย่างนั้น ทำไมต้องห้ามอย่างนี้ บางคนปฏิบัติตามตำราฮวงจุ้ยทุกอย่าง เรียกว่าไม่ผิดเพี้ยนเลยแม้แต่ข้อเดียว แต่เมื่อถูกถามว่า ทำไมต้องทำแบบนี้นั้น ก็ไม่สามารถตอบได้ ได้แต่บอกว่าตำราว่าเอาไว้อย่างนั้น ผมยกตัวอย่างให้ฟัง เพื่อนผมคนหนึ่งสนใจวิชาฮวงจุ้ยอ่านตำราฮวงจุ้ยเกือบทุกเล่มที่มีการแปลออกมา เพื่อนผมคนนี้สามารถจดจำข้อห้ามที่บัญญัติเอาไว้ในตำราฮวงจุ้ย ได้เกือบทั้งหมด เรียกว่าสามารถบอกได้ทันทีว่า บ้านไหนมีลักษณะถูกหรือผิดฮวงจุ้ย
ปัจจุบันคนที่เป็นซินแสฮวงจุ้ยหลายคนก็ยังอธิบายแบบนี้อยู่ เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ถึงจะเข้าใจคำอธิบายก็ไม่กล้สซักถาม ซินแสบอกอย่างไรก้ทำตามอย่างนี้ เพราะว่ามีความเชื่อมากกว่าเหตุผลนั้นเอง เพราะฉะนั้น การทความเข้าใจในหลักการของฮวงจุ้ยนั้นจึงมีความสำคัญมาก ผู้เรียนต้องรู้จักตีความของกฏเกณฑ์หรือข้อห้ามต่างๆให้ออกว่าแต่ละข้อห้ามนั้นต้องการบอกอะไรให้เรารู้ ไม่ใช่จดจำเพียงอย่างเดียวการเรียนแบบท่องจำก็เปรียบ ได้กับคนที่เก่งทฤษฎี แต่ไม่เคยปฏิบัติเลยหรือคนที่สวดมนต์เป็นภาษาบาลีได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ไม่รู้ความหมายของบทสวดนั้นเลยผู้ที่สนใจศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้จากในตำรา เพื่อที่จะนำหลักวิชานั้นมาปรับใช้กับสภาพจริงที่เป็นรูปธรรมได้
หัวใจของวิชาฮวงจุ้ย
ถ้าพูดถึง " ฮวงจุ้ย" สิ่งที่หลายคนนึกถึงก็คือ เรื่องของการดูบ้าน ที่อยู่อาศัย การเลือกทำเลที่ตั้ง การจัดวางข้าวของภายในบ้าน การดูทิศดี-ทิศร้าย หรือไม่ก็เป็นเรื่องสุสานที่ฝังศพคนตาย คนส่วนใหญ่จะมองภาพของฮวงจุ้ยเป็นเช่นนี้ ไม่ได้ผิดอะไร เพราะวิชาฮวงจุ้ยจะนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของสถานที่เหล่านั้น เพียงแต่ว่าที่กล่าวมาเป็นเพียงวิธีการปฏิบัติไม่ใช่รากฐานของวิชา สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ก็คือ ฮวงจุ้ยสอนให้เราเข้าใจถึงเรื่องอะไร ไม่ใช่สอนให้เรารู้เรื่องอะไร " การรู้" กับ "การเข้าใจ" จะให้ความหมายที่แตกต่างกัน "การรู้" จะแทนความหมายเพียงแต่การจดจำกฏเกณฑ์ในตำราเท่านั้น เช่นรู้ว่าการวางเตียงนอนตรงกับประตูไม่ดี เป็นข้อห้ามข้อหนึ่งในทางฮวงจุ้ย แต่ถ้าเป็นเรื่องของ "การเข้าใจ" จะต้องทราบว่า ทำไมการวางเตียงตรงกับประตูถึงไม่ดี มันไม่ดียังไง เพราะฉะนั้นการเข้าใจจึงกินความหมายที่กว้างกว่า ผู้ที่สนใจวิชาฮวงจุ้ยควรที่จะศึกษาแก่นแท้ของวิชา มากกว่าจะรู้เพียงกฏเกณฑ์ หรือข้อบัญญัติในทางฮวงจุ้ยเท่านั้น ถ้าเปรียบกับคนก็คือการศึกษาไปถึงจิตใจของคน ไม่ใช่เพียงมองแค่รูปร่างหน้าตาที่เป็นส่วนประกอบภายนอกเพียงอย่างเดียว

ที่มา :

มาโนช ประภาษานนท์. (2542).

ไขปริศนาฮวงจุ้ย. กรุงเทพฯ:
มติชน, หน้า 159.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002