ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

การศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ในทวีปเอเซีย

รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล

รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในทวีปเอเซีย

การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศญี่ปุ่น พัฒนาการศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์เริ่มต้นจากการเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ โดยเริ่มต้นเปิดสอน เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2446 จนกระทั่งในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 113 แห่ง และมหาวิทยาลัย 105 แห่ง เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ และเริ่มมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยเคโอ มหาวิทยาลัยเออิชิ โชกุโตกุ มหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์( University of Library and Information Science-ULIS) นับเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว ที่มีฐานะเรียกว่ามหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นสถาบันวิชาชีพ
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่สำคัญในประเทศญี่ปุ่น เริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2523 และระดับปริญญาโท เมื่อ พ.ศ. 2527 การศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นหลักสูตร 4 ปี ประกอบไปด้วยการเรียนรายวิชาต่าง ๆ รวม 134 หน่วยกิต เป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์และฝึกงานทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ องค์ประกอบของ หลักสูตรแบ่งเป็น 5 สาขาวิชาคือ วิชาพื้นฐานทางศิลปศาสตร์ 24 หน่วยกิต วิชาภาษาต่างประเทศ 8 หน่วยกิต วิชาอนามัยศาสตร์และพลศึกษา 4 หน่วยกิต วิชาชีพ ก ซึ่งเป็นรายวิชาหลักด้านการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 37 หน่วยกิต และวิชาชีพ ข ซึ่งเป็นรายวิชาเลือกตามความสนใจของนักศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับวิชาชีพ ก

ตัวอย่างรายชื่อวิชาทางสารสนเทศศาสตร์

    ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศศาสตร์
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสารสนเทศศาสตร์
    การสัมมนาการบริการอ้างอิงและบริการสารสนเทศ
    การจัดการสารสนเทศ
    การสืบค้นสารสนเทศ
    ทฤษฎีของระบบสารสนเทศ
    การวิเคราะห์ระบบ
    ระบบคอมพิวเตอร์
    การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
    การดำเนินงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ

การศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท เป็นหลักสูตร 2 ปี ประกอบไปด้วยการเรียนรายวิชาต่าง ๆ จำนวน 30 หน่วยกิต หรือมากกว่า นักศึกษาต้องเรียนวิชาวิจัยและ ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ รายวิชาที่เรียนแบ่งเป็น 8 สาขาวิชา คือ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ กลุ่มวิชาทฤษฎี กลุ่มวิชาสื่อสารสนเทศ กลุ่มวิชาการจัดระบบแหล่งห้องสมุดและสารสนเทศ กลุ่มวิชาการใช้เครื่อง ปฎิบัติการสารสนเทศ และกลุ่มวิชาการค้นคืนสารสนเทศ โดยมีตัวอย่างรายชื่อวิชาจากกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    ทฤษฎีของสัญลักษณ์
    การวิเคราะห์ภาษาสารสนเทศ
    คณิตศาสตร์สารสนเทศชั้นสูง
    ระบบการจัดการห้องสมุดและสารสนเทศ
    ทฤษฎีเครื่องจักรอัตโนมัติ
    รูปแบบการประมวลผลสารสนเทศ
    โครงสร้างสารสนเทศชั้นสูง
    ทฤษฎีของฐานข้อมูล
    โครงสร้างสารสนเทศทางบรรณานุกรม
    ระบบสังคมสารสนเทศ
    สังคมข่าวสาร
    การออกแบบภาวะแวดล้อมสารสนเทศ
    มนุษย์และสารสนเทศ
    สื่อสารสนเทศในรูปการบันทึก
    องค์ประกอบของวัสดุในการสื่อสาร
    การถ่ายทอดการสื่อสาร
    การเผยแพร่สารสนเทศชั้นสูง
    ระบบสารสนเทศชั้นสูง
    ระบบคอมพิวเตอร์ชั้นสูง
    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชั้นสูง
    การปฏิบัติการค้นคืนสารสนเทศ
    การค้นคืนสารสนเทศชั้นสูง

มหาวิทยาลัยบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาทันสมัย มีห้องสมุดเฉพาะด้านโดยตรงในการศึกษา ค้นคว้า มีการใช้คอมพิวเตอร์บริหารงานทั้งระบบ มีฐานข้อมูลหลายฐานข้อมูลซึ่งอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการฝึกปฎิบัติงานของนัก ศึกษาเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่นโดยส่วนรวม

การศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน

ในกลุ่มประเทศอาเซียนการศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ได้พัฒนาไปตามลำดับ การเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในสถาบัน วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งแผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 และเริ่มเปิดสอนใน ระดับปริญญาโท ในปี ค.ศ. 1969 ได้เริ่มเปิดรายวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา และมีวิชาเลือก เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเอกสารสิ่งพิพม์มาตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1970 และมีวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น

ในประเทศมาเลเซีย สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ คือ โรงเรียนบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีมารา ได้เปิดสอน ในระดับ Diploma เริ่มเปิดสอนวิชาทางสารสนเทศศาสตร์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศศาสตร์ที่เปิดสอน มีดังนี้
    ความรู้พื้นฐานทางการจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ
    การทำดรรชนีของแหล่งสารสนเทศ
    ระบบการจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ
    คอมพิวเตอร์และห้องสมุด I
    คอมพิวเตอร์และห้องสมุด II
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาปัญหาทางด้านสารสนเทศศาสตร์

การสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันบรรณารักษศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ได้เปิดสอนรายวิชาสารสนเทศศาสตร์ในระดับปริญญาโท มาตั้งแต่ ค.ศ. 1971 โดยมีรายวิชาดังต่อไปนี้
    ความรู้เบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
    การวิเคราะห์สารสนเทศ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ I
    เทคโนโลยีสารสนเทศ II
    สารสนเทศและสังคม
    ระบบสารสนเทศ
    การวางแผนและการพัฒนาการสัมมนาเกี่ยวกับการจัดหมู่และการทำดรรชนี
    เทคโนโลยีสื่อสารในบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    การศึกษาเชิงปริมาณในบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com