ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

004.678v3 SMS กำลังจะไป EMS กำลังจะมา

ทั้งนี้ EMS ได้ถูกคิดค้นขึ้นและพัฒนาให้เป็นระบบเปิดซึ่งหมายถึงโทรศัพท์มือถือค่ายใดที่สนใจก็สามารถออกแบบให้รองรับกับระบบนี้ได้ ไม่จำกัดเพียงแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น ขณะนี้มีโทรศัพท์มือถือจากค่ายอีริคสัน ซีเมนส์ อัลคาเทลและโมโตโรล่าได้พัฒนาเครื่องลูกข่ายให้มารองรับกับระบบ EMS ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้บริโภคและทำให้ตลาดกว้างขึ้น

ในประเทศไทยเองได้เริ่มเปิดให้บริการ EMS แล้ว ด้วยการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ให้บริการ ซึ่งบางท่านอาจจะทดลองใช้กันมาบ้าง ถ้าถามว่าในส่วนนักพัฒนาโปรแกรมหรือผู้ที่สนใจอยากจะอบรมในส่วนของ EMS กันได้อย่างไรเพื่อที่จะได้ร่วมพัฒนา EMS ด้วยไอเดียแปลกๆตรงนี้นับว่าเป็นโอกาสที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ซอฟต์แวร์ปาร์ก) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับบริษัทอีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดศูนย์อบรมเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย (Mobility Educayion Center) ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโมบายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแน่นอนมีการอบรม EMS เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ถ้าสนใจลองติดต่อหรือสมัครผ่าน http://www.ericsson.co.th/mobilityworld/training 2002.asp หรือ http://www.swpark.or.th/mec

กลับมาที่ EMS มีบางคนยังนึกไม่ออกว่ารูปแบบเป็นอย่างไร ตรงนี้ง่ายๆลองนึกถึง EMS กล่าวคือ จากการรับส่งแค่ข้อความธรรมดา เพื่อสื่อความหมายในการติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยกัน Text เหล่านี้จะเป็นข้อความเพียงอย่างเดียว ถ้าต้องการทำให้เป็นรูปอะไรต่างๆจะค่อนข้างยากพอสมควรเพราะต้องใช้ Text สร้างกันขึ้นมา ซึ่งผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือคงจะผ่านสายตากันไปบ้างแล้ว

EMS จะเป็นระบบการส่งแบบใหม่ ที่มีลูกเล่นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง SMS กับ EMS คือการใช้บริการในแบบ EMS จะมีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงไปพร้อมๆกันในการส่งข้อความครั้งเดียว เพราะฉะนั้นผู้ส่งจะสามารถเลือกข้อความ ภาพ และเสียงดนตรีที่ต้องการสื่อให้เหมาะสมอยู่ในการส่งเพียงครั้งเดียวได้ เช่น ถ้าจะส่งเป็นข้อความไปอวยพรวันเกิด ก็เลือกภาพดอกไม้และพิมพ์ข้อความอวยพร พร้อมกับเลือกเพลง Happy Birthday พอผู้รับเปิดขึ้นมาก็จะได้ภาพที่คุณเลือกไว้ พร้อมข้อความที่คุณอวยพรและสียงเพลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสร้างสีสันใหม่ของการส่งข้อความถึงกัน

และในอนาคตการส่งข้อความคงไม่ได้หยุดนิ่งเพียงเท่านี้ แต่ยังมีทางเลือกใหม่ในการส่งข้อความที่จะถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อีกไม่นานการบริการรูปแบบใหม่ๆก็จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตคุณมากขึ้น

ที่มา:http://technology.mweb.co.th/articles/9674.html

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to chumpot@hotmail.com