สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

การเขียนเชิงอรรถ

การเขียนเชิงอรรถ
การเขียนเชิงอรรถ (Footnote) คือ การอ้างอิงข้อความที่ผู้เขียนนำมากล่าวแยกจากเนื้อหาอยู่ตอนล่างของหน้า โดยใส่หมายเลขกำกับไว้ท้ายข้อความที่คัดลอกหรือเก็บแนวคิดมา และท้ายหน้าให้เส้นคั่นยาว 2 นิ้ว จากขอบซ้ายหน้ากระดาษ
โดยทั่วไปการเขียนเชิงอรรถ มีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1.เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมากล่าวในรายงาน ทำให้สามารถตรวจสอบหลักฐานจากต้นตอได้ และทำให้รายงานเป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เชิงอรรถประเภทนี้เรียกว่า เชิงอรรถอ้างอิง (Citation footnote) ปัจจุบันมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการขึ้นมาใหม่เพื่อให้เขียนง่ายขึ้น โดยไม่ใช้ส่วนล่างของหน้าเป็นที่ลงเชิงอรรถ แต่เขียนแทรกในเนื้อหาซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
2.เพื่ออธิบายขยายความเพิ่มเติม ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องมากยิ่งขึ้น เชิงอรรถประเภทนี้เรียกว่า เชิงอรรถเสริมความ (Content footnote) และยังคงเขียนไว้ตรงส่วนล่างของหน้าเช่นเดิม
3.เพื่อชี้แนะผู้อ่านให้หารายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าอื่น ซึ่งเขียนไว้แล้วเป็นการลดการเขียนซ้ำซ้อน เชิงอรรถประเภทนี้เรียกว่า เชิงอรรถโยง (Cross reference footnote) และยังคงเขียนไว้ตรงส่วนล่างของหน้าเหมือนเดิม
ประเภทของเชิงอรรถ

เชิงอรรถ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1.เชิงอรรถอ้างอิง (Reference footnote) เป็นเชิงอรรถที่บอกที่มาของเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลจากเอกสาร ด้วยวิธีการยกข้อความมาทั้งตอน ลอกตารางแผนผังต่างๆ มา ย่อเรื่องจากเอกสารนั้นๆ มาสร้างแผนผังหรือตารางต่างๆ จากข้อมูลในเอกสารนั้น หรือแม้แต่นำเอาความคิดเห็นจากงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งมาเขียน รวมถึงเมื่อเขียนถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น
จากตารางแสดงจำนวนประชากร1 ดังกล่าว นักศึกษาเห็นว่า………………………………. ……………………………………………………………………………………………………….
1สำนักงานสถิติแห่งชาติ สมุดสถิติรายปีประเทศไทยบรรพ 29 ,2523-2524 (พระนคร, 2515 หน้า 20
2.เชิงอรรถอธิบายความ (Explanatoty footnote) หรือเชิงอรรถเสริมความ เป็นเชิงอรรถที่อธิบายความหมายของคำหรือข้อความที่คิดว่าผู้อ่านอาจจะไม่ทราบ แต่จะเขียนอธิบายในเนื้อหาก็จะดูเยิ่นเย้อไป จึงนำไปอธิบายในเชิงอรรถ เช่น
ในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร นักศึกษาอาจจะเริ่มต้นโดยการใช้บัตรรายการห้องสมุดและหนังสืออ้างอิง* บางเล่ม………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………..
*หนังสืออ้างอิง คือ หนังสือที่ใช้สำหรับค้นคว้า หาข้อมูลบางประการมากกว่าใช้อ่านทั้งเล่ม
3.เชิงอรรถโยง (Cross-Reference footnote) เป็นเชิงอรรถที่โยงให้ผู้อื่นไปดูหน้าอื่นในงานชิ้นเดียวกัน หรืองานชิ้นอื่นๆ หรือดูบทอื่นซึ่งมีข้อความละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้ว เช่น
บัตรรายการหนังสือ จะบอกให้นักศึกษาทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือเล่มนั้นๆ หรือไม่และวางอยู่ที่ใดในห้องสมุด1……………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………
1ดูเพิ่มเติมบทที่ 1 หน้า 18

ตำแหน่งของเชิงอรรถ

1.เขียนแยกจากเนื้อหา มีเส้นคั่นระหว่างเนื้อหากับเชิงอรรถแยกจากกัน
2.เชิงอรรถควรอยู่หน้าเดียวกับข้อความที่ต้องการอ้างอิงเท่านั้น
3.เอกสารที่นำมาทำเชิงอรรถต้องนำมาเขียนเรียงไว้ในบรรณานุกรมของรายงานนั้นด้วย
ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงการเขียนและวิธีการลงรายการเชิงอรรถประเภทเชิงอรรถอ้างอิง ซึ่งเป็นเชิงอรรถที่สำคัญมีแบบแผนการลง และมีปรากฎในรายการทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่

องค์ประกอบของเชิงอรรถอ้างอิง

เชิงอรรถจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1.เครื่องหมายเชิงอรรถอ้างอิง
2.แบบแผนการเขียนเชิงอรรถอ้างอิง

เครื่องหมายเชิงอรรถอ้างอิง

รายละเอียดทั้งหมดในเชิงอรรถ แบ่งออกเป็นห้าส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวกับผู้แต่ง ส่วนชื่อเรื่อง ปีที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ และส่วนที่บอกเลขหน้าเอกสารที่อ้างอิง
เครื่องหมายที่ใช้คั่นระหว่างห้าส่วน ใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.) และเครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นส่วนที่เป็นฉบับที่ และเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ในส่วนวันเดือนปี

แบบแผนการเขียนเชิงอรรถอ้างอิง

แบบแผนการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงสารสนเทศแต่ละประเภท มีดังนี้
1.หนังสือ
1ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์. เลขหน้า
ตัวอย่าง
1ชมนาถ การิยะ. การอ่าน. 2542. หน้า 15
2.บทความในหนังสือ
1ผู้เขียน “ชื่อบทความ” ในชื่อหนังสือ. ปีที่พิมพ์. เลขหน้า
ตัวอย่าง
1สมสมัยเกตุศรี “มะเร็ง” ในอันตรายจากสิ่งแวดล้อม 2540. หน้า 30-40
3.บทความในวารสาร
1ผู้เขียน “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร ปีที่ (วันเดือนปี) เลขหน้า
ตัวอย่าง
1ปิยฉัตร ไกรทอง “สมุนไพรกับสุขภาพ” วารสารสุขภาพ 15,(2 พฤศจิกายน 2542) : 55-60
4.บทความในหนังสือพิมพ์
1ผู้เขียน “ชื่อบทความ” ชื่อหนังสือพิมพ์ ปีที่ (วันเดือนปี) เลขหน้า
ตัวอย่าง
1ปราโมทย์ สามยอด “ซีดีเถื่อน” มติชน (4 พฤศจิกายน 2542) หน้า 1
5.บทสัมภาษณ์
1สัมภาษณ์ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ วันเดือนปีที่สัมภาษณ์
ตัวอย่าง
1สัมภาษณ์ ลัดดา เสรีรัตน์ บรรณาธิการฝ่ายข่าว หนังสือพิมพ์มติชน 1 เมษายน 2548
6.การอ้างอิงเอกสารซ้ำ เอกสารที่อ้างอิงเป็นครั้งแรกจะลงรายการอย่างสมบูรณ์และเมื่อมีการอ้างเอกสารนี้อีก โดยไม่มีเอกสารอื่นคั่น ใช้คำว่า เรื่องเดียวกัน (Ibid) แต่ถ้าเลขหน้าที่อ้างอิงต่างกันให้ระบุเลขหน้าด้วย เช่น เรื่องเดียวกัน, หน้า 154 หรือ (Ibid) p.14
ตัวอย่าง
1กีรติ บุญเจือ. ตรรกวิทยาทั่วไป. 2535 หน้า 80.
2เรื่องเดียวกัน
3เรื่องเดียวกัน. หน้า 75.

การลงชื่อผู้แต่งในเชิงอรรถอ้างอิง

ตัวอย่างการลงชื่อผู้แต่งในเชิงอรรถอ้างอิง
1.มีผู้แต่งคนเดียว
1สมพงษ์ เกษมสิน. การบริการ. หน้า 103.
2.มีผู้แต่ง 2 คน
1ธงชัย สันติวงษ์ และสดใส กิตติจิตต์. การวางแผน. หน้า 75-81
3.ผู้แต่ง 3 คน
1ประกอบ ไชประกอบ ประยุทธ สิทธิพันธ์ และสมบูรณ์ คนฉลาด. 9 พระมหากษัตริย์ไทยครองกรุงรัตนโกสินทร์. หน้า 115.
4.มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน
1สังเวียน สฤษติกุล และคนอื่นๆ วิธีสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา หน้า 97.
5.ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์
1ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. สี่แผ่นดิน. 2540. หน้า 50.
6.ผู้แต่งใช้นามแฝง
1อารียา (นามแฝง) จันทร์กระจ่างฟ้า. 5442. หน้า 120.
7.ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
1กฎหมายตราสามดวง. 2502. หน้า 40.

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนเชิงอรรถ

1.การเขียนหรือพิมพ์เชิงอรรถ ควรแยกออกจากเนื้อเรื่อง โดยขีดเส้นคั่นขวางจากขอบซ้ายมาประมาณครึ่งหน้า เส้นขวางนี้ห่างจากบรรทัดสุดท้ายของหัวเรื่องหนึ่งช่วงบรรทัดพพิมพ์เดี่ยวตัวเชิงอรรถควรห่างจากเส้นขวางนี้หนึ่งช่วงบรรทัดพิมพ์คู่ ถ้าพิมพ์คอมพิวเตอร์ให้เว้นจากเส้นขวางนี้ทั้งบนและล่าง 1 ช่วงบรรทัดของเครื่อง
2.ตัวเลขกำกับเชิงอรรถให้ยกระดับสูงขึ้นครึ่งบรรทัดพิมพ์ เหนืออักษรตัวแรกของข้อความในเชิงอรรถ และให้เขียนหรือพิมพ์ติดต่อไปกับตัวเลขทันที
3.ผู้แต่งเรียงชื่อสกุล ตามลำดับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้แต่งที่มีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ก็จะเรียงไปตามลำดับโดยไม่กลับข้อความ
4.ตัวเลขกำกับในเชิงอรรถต้องตรงกับตัวเลขที่ใช้กับอัญประกาศ หรือข้อความอ้างอิงในเนื้อเรื่องในหน้าเดียวกัน
5.การเรียงตัวเลขกำกับเชิงอรรถให้ตั้งต้นนับหนึ่งใหม่เมื่อขึ้นหน้าใหม่
6.รายการที่นำมาอ้างอิงในเชิงอรรถทั้งหมดต้องจัดพิมพ์ไว้ในบรรณานุกรมของรายงานบทนิพนธ์ด้วย

ตัวอย่างเชิงอรรถที่ประกฎในรายงาน

ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………1………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………2…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ? ?
???????? 1ม.ร.ว.สายฝน เกษมสันต์. การรำไทย. 2542. หน้า 15.
2ชลชาย ไกรภพ. นาฏศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 1. 2530. หน้า 85. เหลือห่าง 1 นิ้ว

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา

การอ้างอิงในเนื้อหา หรือเรียกว่า การอ้างอิงระบบนามปี (Author-data) เป็นการอ้างอิงเจ้าของผลงานต่อท้ายอัญประกาศแต่ละรายการ โดยไม่ต้องใส่หมายเลขกำกับ เป็นการอ้างอิงที่ต้องการเลี่ยงการใช้เชิงอรรถโดยเขียนรายการอ้างอิงไว้ในวงเล็บแทรกปนในเนื้อหา ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นวิธีที่ได้รับความสนใจมากเพราะสะดวกและประหยัดเนื้อที่ในการจัดพิมพ์ มีแบบแผนเป็นสากล ง่ายแก่การปฏิบัติและการจัดพิมพ์ แต่ก็มีข้อจำกัดที่ผู้อ่านอาจเกิดความรำคาญที่ต้องสะดุดเป็นช่วงๆ เนื่องจากมีวงเล็บเทรกเป็นระยะๆ และผู้อ่านไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่อ้างอิงในทันที ต้องเสียเวลาเปิดดูในบรรณานุกรมท้ายเล่ม
วิธีการเขียนการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาให้เขียนไว้ภายในวงเล็บ โดยมีรูปแบบดังนี้
(ชื่อ ชื่อสกุล ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าอ้างอิง)
ตัวอย่าง
(ชุติมา สัจจานันท์, 2542 : 35)
โดยการลงชื่อผู้แต่งถ้าเป็นชาวไทยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการเขียนเชิงอรรถ ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุลเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีการเขียนวิธีการระบุแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ในลักษณะอื่นๆ ตามการอ้างอิงนี้นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้
1.กรณีที่ระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหา และต้องการอ้างอิงหลังชื่อนั้น ไม่ต้องเขียนชื่อผู้แต่งซ้ำอีก ดังตัวอย่าง
เสรี วงษ์มณฑา (2533 : 260) กล่าวว่า การโฆษณาเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริม…
2.ผู้ทำรายงานได้สรุปเนื้อหาและความคิดจากผลงานของผู้แต่งนั้นและนำมาเรียบเรียงเป็นถ้อยคำสำนวนของตนในรายงาน ดังตัวอย่าง
(ชุติมา สัจจานันท์, 2545 : 120)
3.ผู้ทำรายงานอาจอ้างชื่อผู้แต่ง แล้วใส่ปีพิมพ์และเลขหน้าไว้ในวงเล็บ เช่น
จากการสำรวจข้อมูลของ รัตนา ซุ้นเจริญ (2535 : 47) พบว่า…
4.ผู้ทำรายงานต้องการอ้างอิงงานเขียนหลายชิ้นในที่เดียวกัน ให้อ้างอิงไว้ในวงเล็บเดียวกัน โดยมีเครื่องหมาย ( ; ) คั่นระหว่างงานที่อ้างอิงแต่ละชิ้นดังนี้
…งานวิจัยหลายชิ้นระบุชัดว่า ทัศนคติของครูส่งผลต่อการเรียนการสอนและการพัฒนาชุมชนโดยตรง (ผุสดี ไกรฤกษ์, 2535 : 75 ; อารี เพชรทอง, 2538 : 90 ; ยุพา กำเนิดพลอย, 2540 : 80)…

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต