|
การเขียนอัญประภาษ
การเขียนอัญประภาษ
อัญประภาษ (Quatation) หมายถึง ข้อความที่ยกมาจากคำพูดหรือข้อเขียนขอบุคคลอื่นที่มีความสำคัญไม่อาจสรุปความให้ดีเท่าของเดิมได้ ข้อความที่คัดลอกมาต้องไม่ยาวเกินไป และต้องคัดลอกให้เหมือนข้อความเดิมทุกประการ การคัดลอกข้อความนี้จุดมุ่งหมายเพื่อเน้นข้อความนั้น และสนับสนุนความคิดเห็นของผู้เขียนรายงาน
การเขียนอัญประภาษ มี 3 วิธี คือ
1.อัญประภาษที่มีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้ใส่เครื่องหมายอัญประภาษกำกับหัวและท้ายของข้อความ ดังตัวอย่าง
สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติ ให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น และสิทธิที่ว่านี้อยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น
2.อัญประภาษที่มีความยาวเกิน 3 บรรทัด ไม่ต้องใส่อัญประภาษกำกับ แต่เขียนหรือพิมพ์แยกจากข้อความอื่นๆ ให้ชัดเจน โดยเว้นระยะห่างจากข้อความข้างบนหรือข้างล่างมากกว่าช่วงบรรทัดปกติและย่อหน้าอื่นทั้งข้างหน้าและข้างหลังดังตัวอย่าง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 ดังนี้
มาตรา 18 ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิ์ที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใด บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลงหรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้น จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ เมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายทายาทของผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
3.อัญประภาษที่ตัดทอนมาเพียงบางส่วนให้ใส่จุดไข่ปลาจำนวน 3 จุด แทนข้อความที่ไม่ได้ยกมา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างอัญประภาษ ที่ตัดข้อความข้างต้นและข้างท้าย
ศิลปะของชาติไทย เป็นพยานอันหนึ่งที่แสดงว่าชาติไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองแต่โบราณ ที่จะรักษาแบบแผนความเจริญรุ่งเรืองนี้ไว้ไม่ให้เสียรูป
|
|