สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

หลักการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

หลักการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

เมื่อหนังสือเล่มหนึ่งได้เลขเรียกหนังสือเขียนบนสัน และได้ดำเนินการต่างๆ ตามวิธีการของห้องสมุดเรียบร้อยแล้ว หนังสือเล่มนั้นก็พร้อมที่จะออกให้บริการได้ ห้องสมุดจะนำไปเก็บบนชั้นหนังสือ แทรกรวมกับหนังสืออื่นๆ ที่อยู่บนชั้นตามเลขเรียกหนังสือแต่ละเล่ม โดยมีหลักการจัดเรียง ดังนี้

1. หนังสือแต่ละชั้นจะเรียงลำดับจากเลขหมู่ที่มีค่าน้อยไปหาเลขหมู่ที่มีค่ามาก กรณีเป็นการจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ คือ 000-900 หากเป็นระบบการจัดเก็บหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันใช้ A-Z โดยอาจเรียงภาษาไทย แยกจากภาษาอังกฤษ หรือเรียงรวมกันก็ได้
2. การเรียงหนังสือบนชั้น จะเรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงเป็นช่วงๆ ของชั้น ซึ่งปกติแล้ว ถ้าเป็นชั้นหนังสือมาตรฐาน ชั้นหนึ่งๆ จะมี 3 ช่วงชั้น (ยาวช่วงชั้นละ 90-100 ซม. อาจจะเรียกเป็นช่วงชั้นซ้ายมือ ช่วงชั้นกลาง และช่วงชั้นขวามือ) และสูง 6 ระดับชั้น จะจัดเรียงจากชั้นบนสุดในช่วงชั้นซ้ายมือก่อนพอจบ 1 ช่วงชั้นก็เรียงต่อชั้นสองในช่วงชั้นเดิม ลงไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นล่างสุด แล้วจึงเรียงต่อชั้นบนสุดในช่วงชั้นกลางจากบนลงล่าง หมดแล้วก็ต่อในช่วงชั้นขวามือ จากบนลงล่างอีกเช่นเดียวกัน การที่เรียงหนังสือบนชั้นเป็นช่วงๆ ชั้นนั้น ก็เพื่อผู้อ่านเวลาจะค้นหนังสือบนชั้นจะได้ไม่ต้องเดินดูไปมาตามความยาวของชั้นหนังสือ เพียงแต่ยืนดูทีละช่วงชั้น กวาดสายตาดูหนังสือบนชั้นจากบนลงล่าง ถ้าไม่พบก็ค่อยขยับตัวไปอยู่ในช่วงชั้นถัดไป
3. ถ้าหนังสือมีเลขหมู่เหมือนกัน ให้พิจารณาอักษรของผู้แต่ง ถ้าอักษรเหมือนกันอีกให้พิจารณาเลขผู้แต่ง เลขน้อยมาก่อน ถ้าเลขผู้แต่งยังซ้ำกันอีกให้พิจารณาอักษรชื่อเรื่องที่อยู่ถัดไป เช่น

วิธีการเรียงหนังสือบนชั้น

การเรียงลำดับของหนังสือบนชั้น จะเรียงจากน้อยไปมาก จากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
1. หนังสือวิชาการหรือหนังสือสารคดีทั่วไปเรียงหนังสือตามลำดับเลขหมู่จากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เช่น
2. ถ้าเลขหมู่ซ้ำกัน จัดเรียงตามลำดับอักษรของเลขผู้แต่ง เช่น
3. หนังสือที่ใช้สัญลักษณ์อื่นแทนเลขหมู่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จัดเรียงตามลำดับอักษรของเลขผู้แต่ง เช่น
4. หนังสือที่เป็นผู้แต่งคนเดียวกัน แต่แต่งหลายชื่อเรื่อง ต้องจัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อเรื่องอีกที เช่น หนังสือนวนิยายเรื่องเขี้ยวเสือไฟ เจ้าจันทร์ผมหอม วิถีคนกล้า แต่งโดยมาลา คำจันทร์ จัดเรียงดังนี้
5. หนังสือชุดเดียวกันแต่มีหลายเล่มจบ จัดเรียงลำดับตามเลขเล่ม เช่น
6. หนังสือเรื่องเดียวกันแต่มีหลายฉบับ (copy) จัดเรียงตามลำดับเลขฉบับ เช่น

การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือ

นอกจากหนังสือเป็นเล่มๆ แล้ว ในห้องสมุดยังมีสื่อประเภทที่มิใช่หนังสืออีกหลายประเภทบางประเภทอาจจัดหมวอหมู่โดยใช้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือได้ บางประเภทมีเนื้อหาหลากหลายไม่เอื้อต่อการจัดหมวดหมู่ดังกล่าวได้ จำเป็นต้องจัดตามลำดับเลขทะเบียนที่เข้ามาในห้องสมุดบางประเภทมีลักษณะรูปลักษณ์โดยเฉพาะจำเป็นต้องให้สัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกถึงรูปแบบของสื่อด้วย
1. วารสารและหนังสือพิมพ์
วารสารโดยทั่วไปมีเนื้อหาสาระหลากหลายและกว้างมาก จึงไม่นิยมจัดหมวดหมู่ เช่น หนังสือส่วนใหญ่จะจัดเรียงตามอักษรของชื่อเรื่อง และเรียงฉบับล่าสุดไว้ด้านบนสุดของชั้น หรืออาจแยกเรียงฉบับล่าสุดไว้ด้านบนสุดของชั้น หรืออาจแยกเรียงฉบับล่าสุดของแต่ละชื่อเรื่องบนชั้นหมุน เพื่อประหยัดเนื้อที่จัดเก็บ
วารสารทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่งอาจจัดหมวดหมู่ในระบบใดระบบหนึ่งตามเนื้อหาของวารสาร และจัดเรียงบนชั้นตามลำดับเลขเรียกหนังสือได้
หนังสือพิมพ์โดยทั่วไปจะไม่มีการจัดหมวดหมู่ในระบบใดทั้งสิ้น เพราะเป็นสิ่งพิมพ์ระยะสั้น มีเนื้อหาหลากหลาย ห้องสมุดส่วนใหญ่จึงจัดหนังสือพิมพ์แต่ละวันใส่ไม้เรียงไว้บนแผงวางหนังสือพิมพ์
2. จุลสารและกฤตภาค
ห้องสมุดส่วนใหญ่จะกำหนดหัวเรื่องตามเนื้อหาของจุลสารแต่ละชื่อ แล้วจัดเก็บจุลสารนั้นๆ ไว้ในแฟ้ม แฟ้มละหัวเรื่อง จากนั้นนำแฟ้มจุลสารเหล่านี้ไปแขวนเรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่องในตู้เอกสารขนาด 4 ลิ้นชัก เพื่อผู้ใช้บริการจะสามารถค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่วนกฤตภาคที่ตัดจากบทความของหนังสือพิมพ์แล้วนำมาผนึกเก็บไว้ค้นเรื่องที่น่าสนใจในบางเรื่องนั้นมีการจัดเก็บเช่นเดียวกับจุลสาร คือต้องกำหนดหัวเรื่องตามเนื้อหาของกฤตภาค นำเข้าแฟ้มแฟ้มละหัวเรื่อง นำไปแขวนเรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่องในตู้เอกสารขนาด 4 ลิ้นชัก และโดยทั่วไปจะไม่ปรากฏอยู่ในรายการหนังสือทั่วไปของห้องสมุด
3. วัสดุไม่ตีพิมพ์
วัสดุไม่ตีพิมพ์ของห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศต่างๆ มีหลายประเภท โดยทั่วไปนิยมจัดเก็บโดยการแยกเป็นประเภทๆ แล้วกำหนดสัญลักษณ์แทนประเภทของวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น จากนั้นจึงนำมาจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของแต่ละประเภทอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่าที่ใช้กันมี 2 ลักษณะ คือ บางแห่งเติมเลขหมู่ระบบ LC โดยให้ตรงกับเนื้อหาของ โสตทัศนวัสดุ แล้วเติมเลขทะเบียนหรือบางแห่งจะใช้เลขทะเบียนเติมลงไปโดยตรง ต่อจากสัญลักษณ์ที่กำหนด ตัวอย่างเช่น
สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้สำหรับวัสดุไม่ตีพิมพ์ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีดังนี้
CD เป็นสัญลักษณ์สำหรับ คอมแพ็กต์ดิสก์ (Compact disc)
CH เป็นสัญลักษณ์สำหรับ แผนภูมิ (Chart)
CT เป็นสัญลักษณ์สำหรับ แถบบันทึกเสียงแบบตลับ (Cassette tape)
FS เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ภาพเลื่อน (Filmstrip)
KT เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ชุดการศึกษา (Kit)
MAP เป็นสัญลักษณ์สำหรับ แผนที่ (Map)
MIC เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ไมโครฟิล์ม (Micrlfilm)
MP หรือ F เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ภาพยนตร์ (Motion picture หรือ Film)
PD เป็นสัญลักษณ์สำหรับ แผ่นเสียง (Phonodise)
PT เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ภาพโปสเตอร์ (Poster)
S หรือ SL เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ภาพนิ่ง (Slide)
SP เป็นสัญลักษณ์สำหรับ ของตัวอย่าง (Specimen)
TR เป็นสัญลักษณ์สำหรับ แผ่นโปร่งใส (Transparency)
VC หรือ VR เป็นสัญลักษณ์สำหรับ วีดิทัศน์ (Video Cassette tape หรือ Video reel)

วัสดุไม่ตีพิมพ์ประเภทต่างๆ ดังกล่าว จะจัดเรียงไว้ในตู้ ชั้น กล่อง ลิ้นชัก ที่มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างลักษณะของวัสดุไม่ตีพิมพ์เหล่านั้น และแต่ละประเภทก็จะนำมาจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เพื่อค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต