|
สารสนเทศบนบริการเครือข่ายใยแมงมุม
สารสนเทศบนบริการเครือข่ายใยแมงมุม(World Wide Web-www)
บริการเครือข่ายใยแมงมุม เป็นเครือข่ายการนำเสนอข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบ
(ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียง)ในลักษณะพิเศษ คือ จากแผ่นข้อมูลหนึ่ง ผู้ใช้สามารถเรียกดู เรียกใช้ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับข้อมูลนั้นได้
เครือข่าย wwwได้สร้างมิติใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิธีการดำเนินงานขององค์การต่างๆ โดยเฉพาะด้านธุรกิจและด้านการศึกษา มีการประยุกต์ใช้ในรูปแบบ ที่สำคัญคือ เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ มีจุดเด่นคือ ใช้งานง่าย และรูปแบบการแสดงผลที่มีสีสันสวยงาม สามารถแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอข้อมูลต่างๆ บนเครือข่ายนี้ ใช้การกำหนดรูปแบบเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นเอกสารที่สามารถกำหนดการเชื่อมโยงไปยังแฟ้มข้อมูลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารชุดเดียว หรือเอกสารภายนอกที่เป็นรูปภาพ ข้อมูลสียง ข้อมูลหรือวีดีทัศน์ เป็นต้น ภาษาที่ใช้เขียนไฮเปอร์เท็กซ์คือ html นอกจาก www จะเป็นแหล่งของสารสนเทศแล้ว ยังอำนวยความสะดวกในการสืบค้นสารสนเทศในด้านต่างๆอีกด้วย เครื่องมือที่ช่วยสืบค้นข้อมูลมีมากมายเช่น google,yahoo,exciteเป็นต้น
พัฒนาการสารสนเทศบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในช่วงปี 1970 ได้เริ่มพัฒนาฐานข้อมูล และเปิดให้บริการการสืบค้นโดยมีการจัดเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมดำเนินการโดยบรัทต่างๆชื่อ Lockheeds Dialogซึ่งช่วยในการสืบค้นสารสนเทศได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าการค้นจากสิ่งพิมพ์ประเภทดรรชนี หรือสิ่งพิมพ์
ปฐมภูมิ ทั่วไปพัฒนาการนี้ได้ทำให้เกิดการบริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและการเข้าถึงสารสนเทศมีราคาสูงรวมถึงอุปกรณ์ที่มีราคาสูงด้วย ทำให้มีการจัดเก็บเฉพาะสารสนเทศที่มีบรรณานุกรม สาระสังเขปเป็นส่วนใหญ่และการใช้บริการยังไม่แพร่หลายนัก อยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการสารสนเทศคือห้องสมุดหรือศูนย์สานสนเทศต่างๆ
เมื่อเข้าสู่ช่วงปี 1980 เริ่มมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเครื่องโมเด็ม ที่มีความเร็วสูงในการส่งสัญญาณสูงถึง 9,600 bps ออกจำหน่ายให้ผู้ใช้ทั่วไปเลือกใช้งาน เริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันในสมรรถภาพที่สูงขึ้น รวมทั้งจำนวนฐานข้อมูลที่ให้บริการในรูปแบบเดิมปริมาณมากขึ้น ถึง 1,000 ฐานข้อมูล๓ษาที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลยังเป็นการใช้ตรรกะบูลีน และผู้สืบค้นจำเป็นต้องฝึกหัดคำสั่งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง จากจุดนี้ทำให้ตลาดสารสนเทศแบบออนไลน์ขยายมากขึ้น แต่ยังอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการสาสนเทศเช่นเดิม
ต่อมาในช่วงปี 1989 เป็นต้นมา มีความพยายามในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยใช้ภาษาธรรมชาติเข้ามาแทนที่การสืบค้นผู้สืบค้นสามารถใช้ภาษาที่อิสระที่ต้องการเองได้ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการแปลความหมายของคำถามที่ตั้งเองได้ เช่นระบบฐานข้อมูล มีคำสั่งช่วยจัดลำดับความถูกต้องของสารสนเทศที่สืบค้นออกมาจากความง่ายในการสืบค้นให้เป็นที่นิยมแก่กลุ่มผู้ใช้มากขึ้น
ในปี 1989-1990 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ คือ อินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะบริการข่าวสารบน www ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการ CERN เป็นการบริการด้านค้นหาข้อมูลซึ่งรวบรวมจากโฮสต์ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบเอกสารเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิวัติในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโลกอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและการสืบค้นที่มีราคาลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดการขยายฐานผู้ใช้บริการเข้าถึงระดับบ้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถสื่อสาร ติดต่อ เชื่อมโยง เผยแพร่ เอกสารต่างๆ ของตนเองในรูปแบบเฉพะตนเอง ตั้งแต่ปี 1992 เกิดปรากฏการณ์มีการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศจากหน่วยราชการ บริษัท ส่วนบุคคล และอื่นๆ ขึ้นอย่างมากมายไปประมาณ 50 ล้านแห่ง
องค์ประกอบของ www
แนวคิดคือการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเตอร์เนตให้เป็นกลุ่มก้อน และเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยเว็บไซต์แต่ละแห่งจะนำข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ในรูปไฮเปอร์เท็กซ์ และส่วนสร้างเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นเมื่อเข้าใช้บริการ www ในที่ใดที่หนึ่ง ก็สามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นได้โดยสะดวก เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนา 4 ส่วนได้แก่
1. ส่วนเนื้อหา หรือข้อมูล สารสนเทศ มีรูปภาพตัวหนังสือ ภาพเคลื่อนไหว หรือลักษณะมัลติมีเดีย ที่เรียกว่าเป็นการเก็บข้อมูลในไฮเปอร์เท็กซ์ลักษณะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า html
2. ส่วนการจัดการสารสนเทศ ในการเชื่อมโยงกับเครือข่าย มีการกำหนดโปรโตคอลพิเศษให้ร่วมงานได้ด้วยกันบนเครือข่าย http
3. ส่วนเครื่องเปิดอ่านสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า บราวเซอร์ หรือเว็บบราวเซอร์ โดยเครื่องเปิดอ่านสารสนเทศนี้จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายโปรโตคอลที่กำหนดและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศมาแสดงผล ที่รู้จักได้แก่ โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น
4. URLเป็นมาตรฐานการการระบุข้อมูล ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบดังนี้
ชื่อโปรคอล: // ชื่อเครื่อง/ชื่อไดเร็กทอรี่/ชื่อแฟ้ม เช่น
ตัวอย่าง http://www.ru.ac.th/ เป็นที่อยู่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น
เมื่อเปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขึ้นมา จะพบว่าโปรแกรม Internet Explorerจะแสดงหน้าของเอกสารที่มีตัวอักษรและภาพประกอบ ซึ่งเอกสารนี้นำมาจากเว็บไซต์ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกเอกสารนี้ว่าเว็บเพจเป็นไฟล์เอกสารที่มีนามสกุล html หรือ htm ซึ่งย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทำเท็กซ์ไฟล์ธรรมดาให้ปรากฏในโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ และเรียกเว็บเพจหน้าแรกของเว็บ ว่าโฮมเพจ เปรียบเสมือหน้าบ้านให้เยี่ยมชม โดยสิ่งที่ผู้เข้าชมเห็นเป็นหน้าแรกเมื่อเข้าถึงเว็บไซด์
การให้บริการข่าวสาร WWW จะมีข้อมูลข่าวสารของตนเอง เครื่องบริการเรียกว่า Web Server ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเลย คือไม่ต้องส่งข้อมูลให้ใครและไม่ต้องรับข้อมูลจากใครแต่ในหน้าเอกสารของเครื่องบริการที่เรียกว่า Web Page จะมีไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดียไปยังเว็บอื่นๆอีกมากมาย แต่ละเว็บจะมีไฮเปอร์ลิงค์ที่เชื่อมไปเว็บไซต์ที่ให้ข่าวสารในรูปแบบประเภทที่คล้ายคลึงกัน และเมื่อคลิกไปที่ไฮเปอร์ลิงค์เหล่านั้น ก็จะเข้าเว็บไซต์ใหม่ที่หน้าสนใจ มีการประสานเชื่อมต่อเหมือนกับใยแมงมุม เป็นที่มาของคำว่า www เครือข่ายใยแมงมุม
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครือข่ายใยแมงมุม World Wide Web
IP Adress เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยมีจุด (.) เป็นสัญญาลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ตัวอย่าง 202.44.202.3
โดเมนเนม เป็นการนำตัวอักษรที่จำง่านมาแทน IP Address โดยไม่ซ้ำกันโดยตั้งให้สอดคล้องกับเจ้าของเว็บไซต์เพื่อสะดวกในการจดจำ เช่น WWW.thairath.co.th/
เว็บไซต์ คือแหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละหน่วยงานหรือบริษัท โดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web page)
และเรียกเว็บเพจหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่าโฮมเพจ(Home page) หรืออาจกล่าวได้ว่า
เว็บไซต์คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงค์ (Link) ถึงกัน มีสภาพแวดล้อมโครงสร้างเว็บเพจคล้ายคลึงกัน
|
|