สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

วัสดุไม่ตีพิมพ์

วัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง วัสดุใดก็ตามที่ใช้กับอุปกรณ์พิเศษ เพื่อสามารถใช้ฟังและ/หรือมองเห็นภาพได้ วัสดุไม่ตีพิมพ์เป็นทรัพยากรสารสนเทศสำคัญเช่นเดียวกับวัสดุตีพิมพ์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ค้นคว้าหรือตอบคำถามเฉพาะเรื่อง เป็นแหล่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เป็นแหล่งให้ความบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
คำที่มีความหมายทำนองเดียวกับวัสดุ ไม่ตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ โสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
วัสดุไม่ตีพิมพ์แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ สไลด์ ฟิล์มสตริป แผ่นโปร่งใส วัสดุย่อส่วนภาพยนตร์ เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง และแผ่นซีดี-รอม
1. สไลด์ (Slides) เป็นภาพนิ่งทำจากฟิล์มสไลด์และนำมาเข้ากรอบ ใช้ได้ทั้งแผ่นเดี่ยวๆ หรือใช้เป็นชุดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง มีทั้งเสียงประกอบและไม่มีเสียงประกอบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาทุกสาขาวิชา รวมทั้งการศึกษาภาพและเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะภาพเหตุการณ์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้สไลด์ ต้องใช้กับเครื่องฉายสไลด์ ซึ่งมีทั้งชนิดใช้กับจอฉายหรือชนิดมีจอในตัวเครื่อง
2. ฟิล์มสตริป (Filmstrips) เป็นภาพนิ่งจำนวนหนึ่ง ถ่ายเรียงลำดับต่อเนื่องบนฟิล์มขนาด 35 มม. ประกอบด้วยภาพประมาณ 30-60 ภาพ ม้วนเก็บตลับพลาสติกเล็กๆ มีทั้งชนิดมีเสียงประกอบ และไม่มีเสียงประกอบ และใช้ประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวได้ เช่นเดียวกับสไลด์ รวมทั้งการฝึกทักษะในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ต่อเนื่อง เช่น ขั้นตอนการผนึกภาพ เป็นต้น การใช้ฟิล์มสตริปต้องใช้กับเครื่องฉายฟิล์มสตริปโดยเฉพาะ
3. แผ่นโปร่งใส (Transparencies) เป็นแผ่นอาซีเตดขนาดใหญ่เข้ากรอบกระดาษแข็งบรรจุสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เช่น ข้อความอธิบาย แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูน เป็นต้น การใช้แผ่นโปร่งใสต้องใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead projector)
4. วัสดุย่อส่วน(Microforms) คือวัสดุที่ถ่ายย่อส่วนหน้าหนังสือ วารสารหรือเอกสารอื่นๆและภาพ ให้มีขนาดเล็กมาก ลงบนฟิล์มถ่ายภาพ วัสดุย่อส่วนที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือไม่โครฟิล์มและไมโครฟิช
4.1 ไมโครฟิล์ม (Microfilms) เป็นฟิล์มม้วนยาวประมาณ 10 ฟุต ขนาดที่ให้บริการในห้องสมุดคือ 16 มม. และ 35 มม. สารสนเทศที่บรรจุในไมโครฟิล์มมักเป็นสารสนเทศที่มีความต่อเนื่อง เช่น วารสารฉบับย้อนหลัง หนังสือพิมพ์เป็นต้น
4.2 ไมโครฟิช (Microfiches) เป็นฟิล์มขนาด 4 x 6 นิ้วบรรจุภาพประมาณ98 กรอบภาพมักใช้บันทึกสารสนเทศที่มีขนาดสั้น ไม่ต่อเนื่อง เช่นหนังสือ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้กับวัสดุย่อส่วนเพื่อให้อ่านสารสนเทศที่บรรจุได้ คือ เครื่องอ่านไม่โครฟิล์ม และเครื่องอ่านไม่โครฟิช เครื่องอ่านบางเครื่องใช้อ่านได้ ผู้ใช้ยังสามารถถ่ายสำเนาหน้าเอกสารที่ต้องการย่อส่วนได้โดยใช้เครื่องอ่านและทำสำเนา (Reader-printer)
ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุย่อส่วน
ข้อดี วัสดุย่อส่วนช่วย ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ มีความคงทนถาวร หากมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี สามารถจัดเก็บได้นานนับร้อยปี จึงนิยมใช้จัดเก็บสำเนาต้นฉบับสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์และสะดวกในการจัดส่ง เพราะมีน้ำหนักเบาและกะทัดรัด
ข้อจำกัด วัสดุย่อส่วนต้องใช้กับเครื่องอ่านโดยเฉพาะ การอ่านต้องเลื่อนจากหน้าแรกไปตามลำดับถึงหน้าที่ต้องการ หากเป็นไมโครฟิล์ม และถ้าชนิดแผ่นหรือไมโครฟิช ต้องเริ่มจากหน้าที่ต้นแถวไล่ไปตามลำดับแถว จึงช้า ไม่สะดวกในการอ่าน
5. ภาพยนตร์ (Motion pictures) คือวัสดุที่ให้ภาพเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ ขนาดของฟิล์มภาพยนตร์ที่ให้บริการในห้องสมุด คือ 8 มม. และ 16. มม. มีทั้งบันทึกเสียงบรรยายและ ไม่บันทึกเสียงบรรยาย ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ทุกด้าน รวมทั้งการสาธิตหรือการสอนทักษะเพื่อให้ผู้ดูศึกษาและฝึกทำตาม การใช้ฟิล์มภาพยนตร์ต้องใช้กับเครื่องฉายภาพยนตร์ตามขนาดของฟิล์ม
6. เทปบันทึกภาพ (Video tapes) คือวัสดุที่บันทึกภาพและเสียงลงบนแถบแม่เหล็ก และบรรจุในตลับ เทปบันทึกภาพนอกจากบันทึกสารสนเทศในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับวัสดุประเภทอื่นๆแล้ว ยังให้ข้อมูลใหม่ๆเป็นปัจจุบัน เช่นภาพเหตุการณ์ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญการบรรยาย การอภิปราย เป็นต้นและยังใช้ศึกษาทักษะได้ดี เช่นเดียวกับภาพยนตร์ เทปบันทึกภาพต้องใช้กับเครื่องเล่นเทปบันทึกภาพ ซึ่งแตกต่างกันหลายระบบ
การบันทึกภาพและเสียงยังสามารถบันทึกได้ในรูปแบบจานภาพ (Video discs) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์เพื่อความบันเทิง และผลิตโดยบริษัทต่างๆ ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกรายการได้ด้วยตัวเองเหมือนเทปบันทึกภาพ
7. เทปบันทึกเสียง (Audio tapes) คือวัสดุที่บันทึกเสียงลงบนแถบแม่เหล็กและบรรจุในตลับ ใช้ประโยชน์มากในการศึกษาด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการเรียนภาษา เทปบันทึกเสียงยังบรรจุสารสนเทศอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า เช่น การอ่านบทกวีนิพนธ์ บทละครการสัมภาษณ์ การอภิปราย การบรรยาย เป็นต้น ผู้ใช้สามารถบันทึกรายการลงในเทปบันทึกเสียงได้ด้วยตัวเอง เทปบันทึกเสียงต้องใช้กับเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง
8. แผ่นเสียง (Phono discs) เป็นแผ่นพลาสติกมีร่องใช้หัวเข็มเล่น บันทึกเพลงและดนตรี รวมทั้งเสียงธรรมชาติ ปัจจุบันแผ่นเสียงไม่เป็นที่นิยมใช้และไม่มีผู้ผลิตอีกต่อไป สำหรับวัสดุเสียงที่มีผู้นิยมใช้แทนที่แผ่นเสียง คือ แผ่นซีดี (Compast Discs) ซึ่งเป็นแผ่นโพลีคาร์บอเนต และส่วนใหญ่บันทึกเสียง รวมทั้งเสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบต่างๆได้อีกด้วย โดยข้อมูลซึ่งเป็นดนตรีหรือเสียงเพลงที่บันทึกไว้สามารถเล่นได้นานประมาณ 1 ชม. ต่อหน้ามีความผิดพลาดน้อยและสัญญาณใกล้เคียงกับเสียงจริงมากที่สุด
นอกจากนี้ปัจจุบัน เทคโนโลยี MP3 (MPEG Layer3) ซึ่งเป็นไฟล์เสียงที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติในการย่นย่อไฟล์เพลงแบบเดิมๆ เช่น WAV ให้เล็กลงกว่า 10 เท่า ดังนั้นจึงทำให้แผ่นซีดี 1 แผ่นสามารถบรรจุเพลงได้ถึง 150-160 เพลง หรือ 15-16 ชุด
ข้อดีและข้อจำกัดของเทปบันทึกภาพและเทปบันทึกเสียง
ข้อดี
- สะดวกในการใช้ ทั้งการบันทึก ปรับปรุง แก้ไข และใช้งาน
- สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เป็นทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหวไว้ได้
- มีราคาถูก ทั้งเทปและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน
ข้อจำกัด
ไม่คงทน มีอายุการใช้งานเพียง 5-10 ปี การเข้าถึงข้อมูลไม่สะดวก ต้องเริ่มจากต้นม้วนไปตามลำดับ และการจัดเก็บต้องระมัดระวังไม่ให้สื่อนี้เข้าใกล้บริเวณสนามแม่เหล็ก เพราะทำให้ข้อมูลสูญหาย ชำรุด และไม่สามารถกูคืนมาได้
9. แผ่นดิสก์ แผ่นดิสก์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือขนาด 5.5 นิ้วและขนาด 3.5 นิ้วจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่บันทึกได้สองด้านและเพิ่มความหนาแน่นเป็น 2 เท่า (Double Density) หรือเรียกว่าแผ่น DDจะมีความจุประมาณ 340 -360 กิโลไบต์ และชนิดที่บันทึกได้สองด้าน และชนิดที่บันทึกได้สองด้านแต่มีความหนาแน่นสูง (High Density) หรือ เรียกว่า HD ใช้บันทึกสารสนเทศได้ 1.4 เมกะไบต์ (Megabytes) คำว่า Disk จะใช้อยู่ 2 คำ คือ คำว่า Disk และ Disc ซึ่งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ได้อธิบายถึงความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ดังนี้
คำว่า Disk ใช้กับจานแม่เหล็กคอมพิวเตอร์ (Magnetic computer disk) ส่วนคำว่า disc จะใช้กับจานหรือแผ่นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยแสงที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ (Computer laser optical disc)
10. แผ่นซีดี (CD) ย่อมาจาก Compact Disc เป็นนวัตกรรมของสื่อที่ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลด้วยแสงหรือสื่อออปติคัล สัญญาณที่ใช้บันทึกเป็นสัญญาณดิจิทัล ซีดีมีรูปแบบเป็นมาตรฐาน ตัวแผ่นทำจากอะลูมิเนียม ฉาบด้วยพลาสติกใส เคลือบด้วยแลกเกอร์ใสที่แข็ง และแสงผ่านได้อีกขั้นหนึ่ง มีลักษณะแวววาวคล้ายเงินขนาดของแผ่นหนา 1.2 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. (5 นิ้ว) มีความจุสูงกว่า 650 MB ต่อแผ่น
ซีดีถือได้ว่าเป็นคำทั่วไป ซึ่งถูกไปใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ และมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ แผ่นเสียงระบบดิจิทัล หรือ CD-Audio หรือเรียกสั้นๆ ว่า ซีดี-เพลง หรือซีดี-รอม (CD-ROM) ย่อมาจาก Compact Disc Read Only Memory เป็นแผ่นขนาดเดียวกันกับ CD-Audio ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือสารสนเทศ โดยบันทึกได้เพียงครั้งเดียว เขียนทับไม่ได้ และค้นคืนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยซีดี-รอม 1 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้เท่ากับจานแม่เหล็กแบบอ่อน 1,500 แผ่น หรือประมาณ 680 เมกะไบต์ ซึ่งเท่ากับหนังสือ ประมาณ 250,000 หน้า ข้อมูลบันทึกได้ทั้ง ตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพสี ภาพขาวดำ ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิกที่เป็นภาพนิ่งและเคลื่อนไหว ภาพ 3 มิติ ข้อมูลที่บันทึกในแผ่น ซีดี-รอม มีทั้งข้อมูล บรรณานุกรม สาระสำคัญของบทความ หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่นๆนอกจากนี้ยังมีการบันทึกข้อมูลที่เป็นเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์ต้นฉบับด้วย เช่น พจนานุกรม สารานุกรม มานานุกรม หนังสือรายปีต่างๆ เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของซีดี
ข้อดี เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เช่น แผ่นซีดี-รอม 1 แผ่นเก็บข้อมูลจากหนังสือจำนวนกว่า 250,000 หน้า ทำให้ประหยัดเนื้อที่ ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว ถูกต้อง และมีโปรแกรมช่วยสืบค้น สืบค้นในระยะไกลได้ โดยมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการให้บริการ ซีดี-รอม ในลักษณะออนไลน์ ซีดี-รอม เป็นแผ่นบันทึกที่หาเครื่องอ่านซีดีได้ง่าย เนื่องจากคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในปัจจุบัน มีเครื่องอ่านซีดี-รอม เป็นส่วนประกอบมาตรฐาน ราคาถูกมากเมื่อเทียบต่อจำนวนเมกะไบต์ที่เก็บได้ จึงได้รับความนิยมใช้เป็นแผ่นเก็บข้อมูลสำรอง และโปรแกรมต่างๆ
ข้อจำกัด แผ่นซีดี – รอมเขียนได้เพียงครั้งเดียว และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ ปัจจุบันมีแผ่นซีดีชนิด เขียนซ้ำได้ เรียกว่า CD-Rewritable (หรือ CD-RW) แต่มีราคาค่อยข้างแพง และมีข้อจำกัดทางด้านจำนวนครั้งที่เขียนซ้ำได้
11. แผ่นดีวีดี (DVD) ย่อมาจาก Digital Vedeo Disc เป็นแผ่นที่สามารถเก็บข้อมูลความจุสูงมาก แผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ทั้ง 2 หน้า และมีความจุ สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 17 GB หรือมากกว่าแผ่นซีดี – รอม 7-25 เท่า นิยมและแพร่หลายทำให้ไม่สามารถแจกจ่ายข้อมูลไปให้ผู้อื่นได้โดยง่าย ลักษณะแผ่นดีวีดี คล้ายแผ่นซีดีทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือความจุของแผ่น กล่าวคือ หลุมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลบนแผ่นดีวีดี จะมีขนาดเล็กกว่าหลุมที่จัดเก็บข้อมูลบนซีดี และเรียงตัวเป็นวงกลมที่ชิดกันมากกว่า และยังสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4 ชั้น และบันทึกได้ ทั้ง 2 ด้าน ทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า
12. การ์ดความจำและแท่งความจำ ปัจจุบันได้เริ่มมีการผลิตการ์ดความจำ (Memory Card) และแท่งความจำ(Memory Stick) ซึ่งมีขนาดเล็กและบางมาก ความจุ 2-256 MB สามารถใช้ในกล้องถ่ายรูปดิจิทัล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Personal Digital Assistant-PDA) รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์อีกหลายชนิด โดยในอนาคตการ์ดความจำ และแท่งความจำ อาจจะมาแทนฟล็อปปี้ดิสก์ และสามารถใช้เก็บสื่อในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
13. แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Computer Files) (Records) ของข้อมูลซึ่งอาจเป็นตัวข้อมูลดิบหรือชุดคำสั่ง (Program) ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน ที่ถูกบันทึกไว้ในรูปของรหัส เพื่อการจัดการหรือการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้จึงหมายถึง ซอฟต์แวร์สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ ที่จัดเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งบนสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ รวมทั้งแผ่นซีดี (เช่นแผ่นซีดี-รอม,ซีดี-ไอ)และภาพคอมพิวเตอร์ โดยสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลที่ลงรหัสไว้แล้ว และคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ มีหลายลักษณะ ตั้งแต่สินค้าเช่นบัตรเจาะรู เทปกระดาษ เทปแม่เหล็ก เทปตลับ จนมาที่สื่อที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่จานแม่เหล็ก (Magnetic disk) ซึ่งมีทั้งจานแม่เหล็กแบบอ่าน(Floppy disk) มีลักษณะกลมและบาง ทำจากพลาสติกบรรจุในซอง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเป็นแผ่นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว และจานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) เป็นแผ่นโลหะบางกลมวางซ้อนกันตั้งแต่ 1 แผ่นขึ้นไป แต่ละแผ่นใช้บันทึกได้ทั้งสองด้าน และแผ่นซีดี (Compact disc) ซึ่งเป็นแผ่นที่บันทึกและอ่านข้อมูลแสงเลเซอร์ สัญญาณที่ใช้บันทึกเป็นสัญญาณดิจิทัล
14. วัสดุร่วมสมัย (Contemporary Materials) วัสดุที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น ชุดการเรียน (Learning Packages) ชุดการสอน(Instructional Packages) จัดเป็นสื่อการสอนประเภทสื่อประสม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเอกสารเล่มเล็กที่บรรจุเนื้อเรื่องต่างๆ พร้อมทำสื่อการสอน ประกอบเสริมให้เข้าใจ เช่น ชุดสไลด์ เทปตลับบันทึกเสียง แผ่นภาพ ฟิล์มสตริป แผ่นโปร่งใส แผ่นดิสก์ ของตัวอย่าง ของจริง
15. วีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) เป็นระบบสื่อประสมที่รวมเอกสารเอาการสอนทางโทรทัศน์ กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งให้ทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร และมีประโยชน์สำคัญกับผู้เรียนในส่วนที่สามรถมีปฏิกิริยาตอบสนองได้ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและยังสามารถปรับบทเรียนได้เหมาะสม กับระดับความสามารถความรู้ของผู้เรียน โดยระบบวีดิทัศน์ ปฏิสัมพันธ์ จะประกอบด้วย
15.1 เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ที่สามารถต่อเข้ากับไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อเสนอข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง และตัวอักษรได้
15.2 จอภาพ เพื่อเสนอภาพจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ หรือ จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
15.3 ชุดไม่โครคอมพิวเตอร์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
15.4 เครื่องเล่น CD-ROM เพื่อเสนอข้อมูลและเนื้อหาบทเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถบรรจุลงใน hard disk ของคอมพิวเตอร์ได้
15.6 เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์สื่อสารสนเทศต่างๆ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต