สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

หนังสืออ้างอิง

หนังสืออ้างอิง มาจากอำภาษาอังกฤษว่า Reference ซึ่งมาจากคำว่า Refer คือหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย ให้ใช้ในการค้นหา เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสารเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าจะให้อ่านตลอดทั้งเล่ม ผู้อ่านจะอ่านหนังสืออ้างอิงเฉพาะตอนที่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้นสงสัยเท่านั้น หนังสือประเภทนี้จัดไว้ต่างหากจากหนังสือธรรมดา โดยไม่รวมหนังสือทั่วไป และใช้เฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น โดยมีสัญลักษณ์กำกับไว้ที่สันหนังสือ คือ “อ” (อ้างอิง) หรือ “R” “Ref” (Reference) และจัดเรียงขึ้นชั้นเหมือนหนังสือทั่วไป ห้องสมุดส่วนใหญ่ ไม่นิยมให้ยืมหนังสืออ้างอิงออกจากห้องสมุดด้วยเหตุผลต่อไปนี้
1. หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่ผู้ใช้จะใช้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม เพื่อการค้นคว้าอ้างอิง หรือนำไปประกอบการรายงานหน้าชั้น เพื่อให้ทุกคนได้เห็นหรือเข้าใจเรื่องที่ตนกำลังกล่าวถึง เช่น ภาพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่ต่างๆ เป็นต้น
2. หนังสืออ้างอิงมีขนาดใหญ่ หรือรวมกันเป็นชุด ชุดละหลายเล่ม อาจมีตั้งแต่ 2-3 เล่ม หรือ 30 เล่ม เช่น สารานุกรมทั่วไป หนังสือเหล่านี้หากขาดชำรุดไปก็ไม่สามารถซื้อทดแทนในแต่ละเล่มได้ ต้องซื้อทั้งชุด เป็นการสิ้นเปลืองมาก และมีราคาแพงกว่าหนังสือธรรมดา
3. ห้องสมุดจัดหาหนังสืออ้างอิง มาจำนวนน้อยฉบับ โดยเฉพาะหนังสืออ้างอิง ประเภทพจนานุกรม สารานุกรม ทำเนียบนาม เมื่อคนหนึ่งคนใดยืมไป อีกหลายคนก็ไม่ได้ใช้
ปัจจุบันมีการผลิตหนังสืออ้างอิงในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปซีดี-รอม และฐานข้อมูลออนไลน์ และใช้คำรวม เรียกว่าสื่ออ้างอิง เช่น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 มีการจัดทำในรูปแบบซีดี-รอม และสืบค้นได้โดยทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในรูปพจนานุกรมออนไลน์ เป็นต้น
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง โดยทั่วไป มีลักษณะดังนี้
1. เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้พื้นฐาน ข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่างๆ ซึ่งนักเรียนใช้สำหรับอ้างอิงในการค้นคว้า โดยการใช้หนังสือเหล่านี้เพียงบางส่วน ไม่ต้องใช้ทั้งเล่ม
2. มีการจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่เรียงตามลำดับตัวอักษร หมวดวิชา เรียงลำดับเหตุการณ์
3. เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องราวที่เขียนอย่างแท้จริง
4. เขียนเรื่องราวให้กระชับและให้จบในตัวเอง ผู้ใช้สามารถเลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่ต้องการได้
5. มีรูปเล่มขนาดใหญ่ หนา ราคาแพง และมีจำนวนหลายเล่มในชุดหนึ่งๆ
6. จัดลักษณะรูปเล่มและส่วนประกอบในเนื้อหา ให้อำนวยความสะดวกในการค้นเรื่องที่ต้องการ ได้แก่
6.1 อักษรนำเล่ม คือ ตัวเลข ตัวอักษรหรือส่วนของคำ พิมพ์ไว้ในสันหนังสือโดยเฉพาะหนังสือที่มีหลายเล่มจบ เช่นสารานุกรม เพื่อให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอักษรใด
6.2 ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index) หนังสืออ้างอิงเล่มหนาๆ เช่นสารานุกรม พจนานุกรม หรือ ปทานุกรม จะมีการเจาะริมหน้ากระดาษ แล้วพิมพ์อักษรกำกับ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เปิดหาคำที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น
6.3 คำนำทาง (Guide Word) เป็นคำหรืออักษรที่ปรากฏอยู่ตรงกลางหน้าหรือมุมบนขวา และมุมล่างของกระดาษ เพื่อบอกให้ทราบว่าหน้านั้นขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใดและจบที่อักษรตัวใด
7. ดรรชนี (Index) เป็นการนำคำหรือข้อความมาเรียงตามลำดับตัวอักษรบอกเลขหน้าว่าคำหรือข้อความนั้นๆ มีรายละเอียดอยู่หน้าใดของหนังสือ ส่วนใหญ่จะอยู่ท้ายเล่มและหากมีหลายเล่มจบจะปรากฏในเล่มสุดท้าย

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต