สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

วัสดุตีพิมพ์

วัสดุตีพิมพ์
วัสดุตีพิมพ์ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศซึ่งบันทึกความรู้ที่มีเนื้อหาสาระ เพื่อนประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิงโดยผลิตเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือเอกสารรูปแบบต่างๆ วัสดุตีพิมพ์ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีสมันใหม่ช่วยให้มีการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญและนิยมใช้กันอยู่ทั่วไป
วัสดุตีพิมพ์ จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล วิทยานิพนธ์ จุลสาร กฤตภาค รายงาน และวัสดุตีพิมพ์อื่น ๆ
1. หนังสือทั่วไป เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราว และความรู้ในสาขาวิชาต่างๆสามารถ แบ่งออกเป็นหนังสือบันเทิงคดี(Fiction) ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เฉพาะ ความรู้พื้นฐานของสาขาวิชาหรือความรู้ทั่วไป
2. หนังสืออ้างอิง เป็นสิ่งที่พิมพ์สำหรับค้นคว้าประกอบความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน มุ่ง ให้ข้อเท็จจริง โดยเสนอความรู้ และเรื่องราวต่างๆ อย่างกระทัดรัด ทีการกำหนดขอบเขตและระยะเวลาที่ครอบคลุม เรียบเรียงเป็นระบบเพื่อสะดวกรวดเร็วโดยมีสารบัญและดรรชนีช่วยค้น พร้อมทั้งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ทันสมัยเสมอ หนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชาซึ่งครอบคลุมเฉพาะเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่ง ห้องสมุดจัดหนังสืออ้างอิงแยกไว้ต่างหากเหนือเลขเรียกหนังสือคือ อ(อ้างอิง) และจัดเรียงขึ้นชั้นเหมือนหนังสือทั่วไปรายละเอียดของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทจะได้นำเสนอในหัวข้อถัดไป
3. วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้เนื้อหาที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง มีกำหนด ออกแน่นอนในวาระต่าง ๆ เช่น รายสัปดาห์รายปักษ์ รายเดือน ราย2 เดือน ราย3 เดือน เป็นต้น วารสารแต่ฉบับประกอบด้วยบทความ ข้อเขียนทางวิชาการ จดหมายข่าว เกร็ดความรู้ เนื้อหาหลากหลาย และผู้เขียนหลายคน วารสารมีทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีห้องสำหรับอ่านวารสารไทยเฉพาะ และมีการจัดเก็บโดยเรียงตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร
4. หนังสือพิมพ์ จัดเป็นวารสารประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีวาระออกที่แน่นอน เช่น ออกเป็น รายวัน หรือราย 3 วัน หนังสือพิมพ์มุ่งเน้นข่าว ที่ทันต่อเหตุการณ์ และเสนอเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬา บันเทิงฯลฯ หนังสือพิมพ์ที่ให้บริการที่ห้องสมุดมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือพิมพ์ในห้องอ่านวารสาร ทั้งวารสารและนิตยสาร จะให้ข้อมูลและเรื่องราวที่ทันสมัยกว่าหนังสือ แต่ต่างจากหนังสือพิมพ์ ตรงที่หนังสือพิมพ์มุ่งเสนอข่าวสด ส่วนวารสารและนิตยสารจะเสนอบทความ ซึ่งมีทั้งสารคดี และบันเทิงคดี โดยการเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับข่าว ก็จะเป็นทำนอง สรุปข่าว หรือวิเคราะห์ วิจารณ์ข่าว
5. สิ่งพิมพ์รัฐบาล เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ในหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานราชการเป็น ผู้รับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่การปฏิบัติงาน วิชาการ ความรู้ นโยบายการดำเนินงาน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆของราชการ รวมทั้งเป็นสื่อกลางประสานความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล อาจจะแจกจ่าย หรือจำหน่าย ชนิดของสิ่งพิมพ์ คือ เอกสาร บันทึก รายงานการปฏิบัติงาน ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ กฎหมาย เอกสารการพิมพ์ ภาพ หรือวัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ต่างๆ การจัดสิ่งพิมพ์รัฐบาล ในห้องสมุดแต่ละแห่งแตกต่างกัน บางห้องสมุด แยกสิ่งพิมพ์รัฐบาลแยกเก็บตามหน่วยงานที่จัดพิมพ์ ในขณะที่บางห้องสมุดจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลแยกตามประเภทของวัสดุตีพิมพ์
6.วิทยานิพนธ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นผลงานการค้นคว้าวิจัยของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย อันเป็นข้อกำหนดตามหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ จึงมีเนื้อหาหลายสาขาวิชา ห้องสมุดจัดเก็บวิทยานิพนธ์ไว้ต่างหาก และส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกจากห้องสมุด
7. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งสมบรูณ์ในเล่ม มีความยาวประมาณ 5 - 8 หน้า โดยทั่วไปพิมพ์แจกเป็นอภินันทนาการ เนื้อหาของจุลสารแตกต่างกันออกไป เช่น อาจเป็นบทความทางวิชาการ สุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ระเบียบข้อบังคับของสมาคม คำแนะนำและประกาศของหน่วยงานราชการ หรืออาจเป็นเรื่องที่พิมพ์เนื่องในพิธีการหรือโอกาสสำคัญ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ในจุลสารจะเป็นที่น่าสนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่มีประโยชน์มากเพราะเป็นเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม รายละเอียดในจุลสารบางเล่มไม่อาจหาได้จากสิ่งพิมพ์ลักษณะอื่น การจัดเก็บจุลสารทำได้หลายวิธี เช่น เก็บใส่แฟ้มเรียงตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่องในตู้จุลสาร (ตู้เหล็กสี่ลิ้นชัก) เก็บใส่กล่อง โดยมีหัวเรื่องกำกับไว้เป็นต้น
8. กฤตภาค เป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้มาจากการตัดข่าว บทความ จากหนังสือพิมพ์หรือวารสาร และ นำมาปะลงบนกระดาษ ให้หัวเรื่องและระบุแหล่งที่มา เนื้อหาของกฤตภาคครอบคลุมเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม บุคคล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดนตรี การศึกษา เป็นต้น ห้องสมุดจัดเก็บกฤตภาคโดยใส่แฟ้มเรียงไว้ในตู้จุลสารตามลำดับอักษรของหัวเรื่องรายงาน เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิชา มุ่งเน้นกานรายงานความก้าวหน้าของสาขาวิชา ผลการปฏิบัติงาน ผลงานค้นคว้าทดลองฯลฯ ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ได้แก่ รายงานการประชุม รายงานการสัมมนาทางวิชาการ รายงานผลวิจัย และรายงานประจำปี การจัดเก็บรายงานของห้องสมุดอาจแตกต่างกันออกไป ห้องสมุดบางแห่งจัดรายงายรวมไว้กับวัสดุตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ เช่น รวมกับหนังสือ รายงานบางประเภทรวมอยู่กับวารสาร บางประเภทแยกออกมาจัดเก็บโดยเฉพาะ เป็นต้น

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต