สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนถาวรานุกูล
ง40281 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
Library and Information Literacy
(1-40)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

ผู้สอน
อาจารย์พยอม ยุวสุต


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน (Course Overview)

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระการเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

แบบประเมินคุณธรรม

ตำราประกอบการสอน (Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ (Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

ผลงานนักศึกษา


Home

ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ

จากความสำคัญของสารสนเทศซึ่งเป็นทรัพยากรหลักในสังคม เป็นแกนกลางสังคมทั้งมวลในการดำรงชีวิต การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การบริการจัดการและการดำเนินงาน รวมทั้งการสร้างมาตรฐานและ การแข่งขันให้ทันในสังคมโลก การรู้สารสนเทศจึงมีความสำคัญทั้งต่อการศึกษา และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการศึกษา จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่นำไปสู่แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาปฏิรูปการเรียนรู้โดยการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย เพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย และเพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การศึกษาอยู่ในกระแสแห่งการปรับเปลี่ยน มุ่งสู่การศึกษาสำหรับทุกคน การศึกษาตลอดชีวิตและการเรียนรู้ เปลี่ยนจากการเน้นเนื้อหาสู่การเรียนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการศึกษาต่างๆ การเรียนรู้โดยพึ่งแหล่งวิทยาการ และบทบาทของผู้สอนได้เปลี่ยนเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่า นี้จะไม่เกิดผลเลยหากขาดการให้ความสำคัญเรื่องการรู้สารสนเทศ เพื่อสร้างผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะการเรียนความคิด วิจารณญาณ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในสังคมสารสนเทศสารสนเทศและโลกยุคโลกาภิวัตน์
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าความสามารถในการเข้าถึงและใช้สารสนเทศ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การศึกษา การทำงาน และชีวิตส่วนบุคคล การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความสามารถ ทักษะและกระบวนการที เป็นประโยชน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนและทักษะชีวิต และช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รู้สารสนเทศ และ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในสังคมปัจจุบันการรู้สารสนเทศในด้านต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)พื้นฐานเป็นองค์ ประกอบสำคัญของการรู้สารสนเทศ โดยเฉพาะในกระบวนการเข้าและสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลรายการออนไลน์ (Online Public Access Catalog-OPAC) หรือโอแพคของห้องสมุดจากอินเทอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. ด้านภาษา ความรู้และทักษะด้านภาษามีความสำคัญ ทั้งในขั้นตอนการได้มาซึ่งสารสนเทศขั้นตอนการใช้คำสั่งในการค้น การกำหนดคำค้น คำสำคัญหรือหัวเรื่อง โดยเฉพาะสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต รวมทั้งทักษะภาษาในการนำเสนอสารสนเทศ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. ด้านความคิด การพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิด รู้จักคิด วิเคราะห์ เป็นกระบวนการสำคัญในการสอนเรื่องการรู้สารสนเทศ และสร้างผู้รู้สารสนเทศ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดอย่างมีระบบและการมีวิจารณญาณของกระบวนการรู้สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การแสวงหา การเข้าถึงการประเมิน วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศ
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา การรู้สารสนเทศช่วยเสริมสร้างและเน้นย้ำให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ในทุกขั้นตอน ทั้งในการแสวงหา การเข้าถึง การนำไปใช้ เช่น การอ้างอิงที่มาของข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ได้มีการทำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตน เป็นต้น

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2550
พยอม ยุวสุต