สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
โรงเรียนแจ่มจันทร์
ความรู้เกี่ยวกับศาสนาในประเทศไทย
Introduction to religions in Thailand
ภาคต้น ปีการศึกษา 2551
ผู้สอน
นางไพเราะ รักเสน่ห์


คำอธิบายรายวิชา
/แนวการสอน

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระ
การเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

ตำราประกอบการสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ
อินเทอร์เน็ต

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

แบบทดสอบ

เฉลยแบบทดสอบ


Home

วันสำคัญทางศาสนาและศาสนพิธี

วันมาฆบูชา
ประวัติความเป็นมา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์มีขึ้น ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ หลังตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน วันมาฆบูชา หรือมาฆปุณณมีบูชา คือการบูชาใน วันเพ็ญเดือน๓ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งคำว่าจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่ประกอบด้วยองค์สี่ ได้แก่
1.พระสงฆ์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือได้รับ การอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
2.พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์
3.พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
4.หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันมาฆบูชา คือเน้นสาระสำคัญ 3 ประการ คือละเว้นความชั่ว ทำความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

วันวิสาขบูชา
ประวัติความเป็นมา
เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนมาประกอบการบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโอกาสแห่งวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพาน วิสาขบูชาหรือวิสาขปุณณมีบูชา แปลว่าการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖
ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ องค์การสหประชาชาติได้มีมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คือ“หลักอริยสัจ ๔” ซึ่งประกอบด้วย
- ทุกข์ ความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลทุกคนไม่ว่าที่ใด สมัยใด
- สมุทัย ความทุกข์มีสาเหตุ คือเกิดจากตัณหาทั้ง ๓ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
- นิโรธ ความดับทุกข์
- มรรค หนทางที่จะพาเราไปสู่ความดับทุกข์

วันอาสาฬหบูชา
อาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งมีความสำคัญโดยสรุป ๓ ประการ คือ
1.วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ “ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร” โปรด ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
2.เป็นวันที่มีพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลหลังจากฟังปฐมเทศนา
3.เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

วันอัฏฐมีบูชา
ประวัติความเป็นมา
ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ ดือน ๖ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ มกุฎพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา พุทธศาสนิกชนพึงรำลึกว่าแม้แต่พระพระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมทุกอย่างยังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ดังนั้นจึงพึงยึดหลักธรรมว่าด้วย “ อัปปมาทะ”(ความไม่ประมาท) ดังปัจฉิมพุทธโอวาทว่า “เธอทั้งหลายพึงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

วันเทศกาลสำคัญ

วันเทศกาลสำคัญที่เนื่องด้วยพุทธศาสนา ได้แก่วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันเทโวโรหณะ

วันเข้าพรรษา
คือวันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะอยู่ประจำในอาวาสตลอด ๓ เดือน โดยไม่ไปแรมคืนในที่อื่นวันเข้าพรรษาคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันถัดจากวันอาสาฬหบูชา ตามประวัติกล่าวว่าในสมัยพุทธกาลพระภิกษุได้จาริกไปยังที่ต่างๆแม้อยู่ในฤดูฝน ทำให้ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้านเสียหายพระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอดเวลา ๓ เดือน

วันออกพรรษา
คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา ๓ เดือน ในวันนี้จะเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้

วันเทโวโรหณะ
คือวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธศาสนิกชนถือเอาวันรุ่งขึ้นคือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นโอกาสพิเศษพร้อมใจกันตักบาตรเฉลิมฉลองเป็นประเพณีสืบมา เรียกว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2551
ไพเราะ รักเสน่ห์