|
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
ความเป็นชนชาติไทยถูกหล่อหลอมมาภายใต้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนกิริยามารยาทของคนไทยล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย หน้าที่สำคัญที่ดำรงพระศาสนาให้คงอยู่สืบไปจะต้องปฏิบัติดังนี้
๑.การสวดมนต์ เป็นการทำจิตใจให้สงบ เกิดสมาธิ
๒.การเรียนธรรมศึกษา มี ๓ ระดับ คือนักธรรมตรี โท และเอก
๓.กิจกรรมพุทธศาสนา
๔.การเข้าค่ายคุณธรรมเพื่อให้เยาวชนมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวัด
๕.การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือผู้ประกาศตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน
มารยาทชาวพุทธ
คือระเบียบปฏิบัติต่างๆที่ชาวพุทธยึดถือเป็นหลักปฏิบัติต่อพระภิกษุ และชาวพุทธด้วยกัน ในโอกาสและสถานที่ต่างๆ
การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ
-ที่วัด การแต่งกาย
ชาย ควรสวมกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ และสวมกางเกงทับให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยชายเสื้อออกมา
หญิง ใช้เสื้อผ้าสีอ่อน และเป็นแบบที่สุภาพ ไม่สั้นไม่บาง หรือรัดรูปจนเกินไป มีควรสวมเครื่องประดับราคาแพง
การสนทนา
ควรใช้คำพูดที่เหมาะสม
คำสรรพนาม
ชาย ใช้คำแทน ผม,กระผม คำรับ ครับ ขอรับ
หญิง ใช้คำแทน ดิฉัน คำรับ ค่ะ เจ้าค่ะ
พระภิกษุ ใช้ คำแทน พระคุณเจ้า,หลวงพ่อ,ท่านพระครู,
ท่านเจ้าคุณ,ใต้เท้า เป็นต้น
การกราบ
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การใช้ส่วนของร่างกาย ๕ ส่วนจรดพื้น คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ ๑ เตรียมให้นั่งคุกเข่า
ชาย คุกเข่าท่าเทพบุตร นั่งบนปลายเท้า ปลายเท้าตั้งตรง
ลำตัวตรง เข่าทั้งสองข้างห่างกัน เล็กน้อย วางมือทั้งสองข้างบนหน้าขา
นิ้วชิดกัน
หญิง คุกเข่าท่าเทพธิดา นั่งบนส้นเท้า เท้าไขว่กันหรือเหยียดตรง
ขั้นที่ ๒ อัญชลี (ประณมมือ) ระดับหน้าอก ปลายนิ้วเบนออกจากอกประมาณ ๔๕ องศา แขนและศอกแนบลำตัว
ขั้นที่ ๓ วันทา (ไหว้) ยกมือขึ้น ก้มศีรษะรับมือเล็กน้อยให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดไรผมเหนือหน้าผาก
ขั้นที่ ๔ อภิวาท (กราบ) ก้มลงกราบ ให้แขนทั้งสองลงพร้อมกันมือทั้งสองข้างคว่ำวางให้ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นได้
ขั้นที่ ๕ ท่าจบกราบ เมื่อกราบครบ ๓ ครั้งแล้ว เงยหน้ายกตัวอยู่ในท่าวันทา (ไหว้) แล้วลดมือลงในท่าอัญชลี (ประณมมือ) ทำเพียงครั้งเดียวแล้วนั่งพับเพียบ
การไหว้
ชาย ยืนตรงประณมมือ หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว นิ้วชี้จรดหน้าผากน้อมตัว และก้มศีรษะลง
หญิง สืบเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย ย่อเข่า และน้อมตัวลงพร้อมกัน ประณมมือขึ้น หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว นิ้วมือจรดหน้าผาก
ชาวพุทธตัวอย่าง
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราพระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2434 และทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2447เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษา ณ โรงเรีย นราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และทรงเสด็จไปศึกษาต่างประเทศที่โรงเรียนกินนอนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และวิชาการทหารเรือในประเทศเยอรมัน เมื่อจบการศึกษาได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวี เยอรมัน และนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยาม กระทั่ง พ.ศ. 2469 ได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายนาวาเอก และนายพันเอกทหารบก (ราชองครักษ์) แล้วทรงลาออกจากกองทัพเรือเพื่อเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุขและปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ชั้น Cum Laude และทรงได้รับก ารแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ อัลฟา โอเมกา อัลฟา ด้วย
ทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2463 ณ วังสระปทุม มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติ ณ กร ุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 พระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเซตต์ ส หรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470ตำแหน่งราชการทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ข้าหลวงตรวจ การศึกษาทั่วไป นายกกรรมการคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล กรรมการสภากาชาดสยาม ประธานกรรมการอำนวยการวชิรพยาบาล พระอาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์และว ิทยาศาสตร์ และแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ในระหว่างยังทรงมีพระชนม์ชีพนั้น ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะด้านการศึกษาแพทย์และสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกิจการดังกล่าวยังไม่มั่นคงและไม่สามารถทัดเทียมต่างประเทศได้ จึงทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค ์เป็นทุนการศึกษา เช่น ทรงส่งบุคคลไปศึกษาวิชาการแพทย์และพยาบาล ณ ต่างประเทศ โดยทุนส่วนพระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเสด็จทิวงคต พระราชทานทุนแก่มหาวิทยาลัยให้เก็บดอกผลเพื่อส่งคนไปศึกษาเพิ่มเติมในต่างประเทศ เป็นจำนวน 200,000 บาท เรียกว่า "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพท ย์"นอกจากนั้น ยังได้ทรงเริ่ม "ทุนสอนและค้นคว้าของโรงพยาบาลศิริราช" เพื่อให้ผู้รับทุนฝึกฝนในทางปฏิบัติในสาขาใดสาขาหนึ่งเพื่อเตรียมตัวออกไปค้นคว้าด้วยตนเองได้
เมื่อพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์นั้น ทรงมีพระราชดำรัสว่า "เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ฉันออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดีให้สำเ ร็จ เพื่อจะได้กลับไปทำประโยขน์แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงินเพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้สำหรับช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป"ข้อความนี้ เหมาะสำหรับนักเรียนทุนทุกคนจะยึดเป็นหลักในการศึกษาเล่าเรียนยิ่งนัก
ดังนั้นจึงถือได้ว่า พระบรมราชชนกเป็นแบบอย่างในการำเนินชีวิตตามหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือ เป็นผู้มีความเสียสละ อดทน และมีความเพียรในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
แหล่งที่มา
ประวัติสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก. (2551). ค้นเมื่อ สิงหาคม 6, 2551, จาก
http://www.electron.rmutphysics.com/
teaching-glossary/index.php?option=
com_content&task=view&id=3705&Itemid=26
|
|