สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
โรงเรียนแจ่มจันทร์
ความรู้เกี่ยวกับศาสนาในประเทศไทย
Introduction to religions in Thailand
ภาคต้น ปีการศึกษา 2551
ผู้สอน
นางไพเราะ รักเสน่ห์


คำอธิบายรายวิชา
/แนวการสอน

หน่วยการเรียนรู้

รายละเอียดสาระ
การเรียนรู้

แนวการจัดการเรียนรู้

ตำราประกอบการสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ
อินเทอร์เน็ต

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน

แบบทดสอบ

เฉลยแบบทดสอบ


Home

หลักธรรมทางพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนแก่พุทธสาวกมีอยู่เป็นจำนวนมาก หลายหมวดหมู่ หลักธรรมที่นักเรียน ควรสนใจได้แก่

พุทธคุณ 3
พุทธคุณ 3 หมายถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มอบให้แก่พุทธศาสนิกชน มี 3 ประการ คือ
1 ปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
2 วิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
3 กรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

ศรัทธา 4
ศรัทธา หมายถึง ความเชื่ออย่างมีเหตุมีผล มี 4 ประการ คือ
1. เชื่อเรื่องกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เช่น นักเรียนเชื่อว่าเมื่ขยันเรียน ขยันอ่านหนังสือ นักเรียนย่อมสอบได้คะแนนดี เป็นต้น
2. เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. เชื่อว่าบุคคลมีกรรมเป็นของตนเอง เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในพระพุทธเจ้าและเชื่อสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ว่าเป็นสัจธรรมและนำคำสอนนั้นมาปฏิบัติ

ไตรสิกขา
สิกขาหมายถึงข้อสำหรับศึกษา สำหรับปฏิบัติ สำหรับการฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ
1. ศีล คือศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม การฝึกฝนตนเองให้มีระเบียบวินัย
2. สมาธิ คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่การทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อชุมชนก็ทำอย่างมุ่งมั่นและเสียสละ
3. ปัญญา คือศึกษาเรื่องปัญญา ได้แก่การฝึกฝนตนเองให้มีเหตุมีผล

หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้
1.หลักกรรม คือการกระทำ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
กุศลกรรมหรือกรรมดี ประกอบด้วย อกุศลกรรมหรือกรรมชั่ว ประกอบด้วย
- ความไม่โลภ
- ความไม่โกรธ
- ความไม่หลงงมงาย
- ความโลภ
- ความโกรธ
- ความหลงงมงาย

2. หลักไตรสิกขา คือหลักปฏิบัติเพื่ออบรมกาย วาจา ใจ และปัญญาให้พัฒนายิ่งขึ้น มี ๓ ประการ คือ
2.1 ศีล คือการฝึกฝนตนเองให้มีระเบียบวินัย
2.2 สมาธิ คือการฝึกให้มีจิตใจมุ่งมั่นใส่ใจกับสิ่งที่ทำ
2.3 ปัญญา คือการฝึกตนเองให้มีเหตุผลตามความเป็นจริง

3. เบญจศีล-เบญจธรรม
เบญจศีล คือ ข้อห้ามที่ควรฝึกตนเองมิให้ล่วงละเมิด
เบญจธรรม คือ ข้อธรรมที่ควรฝึกฝนเพื่อเสริมให้ทำสิ่งดีๆ ๕ ประการ ดังนี้

เบญจศีล : ข้อห้าม
1.ไม่ฆ่าสัตว์
2.ไม่ลักขโมย
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
4.ไม่พูดปด
5.ไม่ดื่มสุราและสารเสพติด

เบญจธรรม : ข้อปฏิบัติ
1.ควรมีเมตตา
2.ควรทำอาชีพสุจริต
3.สำรวมในกาม
4.ควรพูดแต่ความจริง
5.มีสติไม่ประมาท

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 มิถุนายน 2551
ไพเราะ รักเสน่ห์