|
แนวความคิดที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
องค์ประกอบที่สำคัญต่อการเกิดนวัตกรรมการศึกษา คือ ความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป แนวความคิดดังกล่าวต้องใช้วิธีการนำเอาระบบการจัดการ
ทางการศึกษาเข้ามาวางแผนการดำเนินงาน แนวความคิดดังกล่าว พอสรุปได้ดังนี้
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual different) ระบบการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลไว้อย่างชัดเจน
เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ เป็นต้น นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนอง
แนวความคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่
1. การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-graded school)
2. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed text book)
3. เครื่องสอน (Teaching machines)
4. การสอนเป็นคณะ (Team teaching)
5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within school)
6. เครื่องคอมพิวเตอร์ข่วยสอน (Computer assisted instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) การจัดการศึกษาในอดีตมีความคิดว่าเด็กจะเรียนหนังสือได้ต้องมีความพร้อม
ตามพัฒนาการทางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบัน นักจิตวิทยาการศึกษากล่าวว่า สามารถสร้างความพร้อมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้
นวัตกรรมในการเตรียมความพร้อม ได้แก่
1. ศูนย์การเรียน (Learning center)
2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within school)
3. การปรับปรุงการสอนสามขั้น (Instructional development in 3 phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา แนวความคิดนี้ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยความสะดวกเป็นหลัก
เช่น การจัดตารางสอนตามคาบเวลาต่างๆ กำหนดแน่นอนเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายภาคเรียน แต่ในสภาพปัจจุบันสามารถใช้
นวัตกรรมการศึกษามาใช้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องเวลาในการเรียนการสอนได้ เช่น
1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible scheduling)
2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open university)
3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed text book)
4. การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร มีความต้องการในด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
มีความจำเป็นในการศึกษาเฉพาะเรื่องเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีระบบการศึกษาใหม่เกิดขึ้น ทำให้มีแนวโน้มของนวัตกรรมการศึกษา
ในการจัดระบบการศึกษาใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น
1. มหาวิทยาลัยเปิด (Open university)
2. การเรียนทางวิทยุ (Radio education)
3. การเรียนทางโทรทัศน์ (Television education)
4. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post office education)
5. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed text books)
6. ชุดการเรียน (Kits)
7. การเรียนในระบบอินเทอร์เน็ต (Tele conferencing)
|
|