2553310 ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหาร
Management Information System
ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2545

ผู้สอน
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ.เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

หมู่เรียน: รัฐประศาสนศาสตร์ ปี 2
เวลาเรียน: วันเสาร์ เวลา 11.10 - 13.50 น.
วันอาทิตย์ เวลา 11.10 - 13.50 น. และการนัดหมายในช่วงเวลาอื่นๆ

กลไกผลักดันการปฏิรูประบบราชการ

1. เป้าประสงค์ของวิธีการบริการราชการที่ดี
1.1 พัฒนาคุณภาพการบริการประชาชนให้ดีขึ้น
1.2 ปรับบทบาทภารกิจ ขนาด ของระบบราชการไทยให้มีความเหมาะสม โดย
1.2.1ปรับบทบาทภารกิจถ่ายโอนงาน
1.2.2รักษาสัดส่วนเงินงบประมาณแผ่นดินใน GDP และปรับลดสัดส่วนงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง
1.2.3ปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐ
1.2.4ตอบสนองต่อการปกครองในระบบประชาธิปไตย

2. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขประชาชน
2.1 จัดทำแผนปฏิบัติการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
2.2 สำรวจและประเมินคุณภาพของการบริการสาธารณะของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
2.3 มีการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษ เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือเพื่อเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อเพิ่มเติมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลงานดีเด่น

3. การบริหารราชการเพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3.1 ให้มีการประเมินผลการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด
3.2 ก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะต้องเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหัวหน้าส่วนราชการเพื่อกำหนดเป็นนโยบายแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน
3.3 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัตืการที่กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานที่วัดได้และงบประมาณรายจ่ายที่ต้องการให้แก่รัฐบาล
3.4 ให้มีการทำสัญญาการบริหารราชการแผ่นดินและสัญญาการปฏิบัติราชการ
3.5 ให้มีการติดตามประเมินผลงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวงและคณะผู้ประเมินอิสระ

4. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1 ให้มีการกำหนดเป้าหมายผลงานของข้าราชการแต่ละคนในแต่ละรอบเวลาและเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนรับทราบ
4.2 ให้นำระบบบัญชีต้นทุนมาใช้ในการบริหารงานเพื่อบอกถึงต้นทุนการให้บริการสาธารณะ
4.3 ให้หน่วยงานราชการที่มีต้นทุนบริการสูงต้องทำแผนปรับลดค่าใช้จ่าย
4.4 จัดตั้งกองทุนร่วมสาธารณูปโภคกลาง โดยการสมทบของหน่วยราชการเพื่อทำให้การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเป็นไปอย่างครบถ้วน
4.5 ให้มีการจัดสรรเงินรางวัลแก่หน่วยงานที่สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์โดยไม่เพิ่มรายจ่าย

5. การบริหารงานให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
5.1 ให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติแห่งรัฐแต่ละประเภทโดยเปรียบเทียบประโยชน์ที่พึ่งได้และรายจ่ายที่ต้องเสีย
5.2 ภารกิจทางสังคม ศิลป วัฒนธรรม เอกลักษณ์แห่งชาติหรือท้องถิ่น ศาสนา จริยธรรม และภารกิจอื่น ๆ แม้ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจก็มิให้ถือเป็นเหตุในการยกเลิกภารกิจ
5.3 ให้มีการคำนวณความคุ้มค่าความเป็นไปได้ของโครงการดำเนินงานหรือโครงการลงทุนทุกโครงการที่เป็นโครงการใหม่จะต้องคำนวณผลกระทบทางสังคมประกอบด้วยผลกระทบทุกโครงการ
5.4 การพิจารณาเลือกซื้อจ้างให้พิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียต่อสังคม ผลกระทบที่เป็นภาระต่อประชาชนประกอบการอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วย

6. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6.1 ให้มีการมอบอำนาจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ ปฏิบัติงานแก่ผู้มีหน้าที่โดยตรงหรือผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นมาอีกหนึ่งชั้นในกรณีจำเป็น
6.2 ให้มีการจัดทำแผนภูมิขั้นตอนการขอนุญาต ขออนุมัติ จดทะเบียนหรือการปฏิบัติราชการอื่น ๆ ของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วไป
6.3 มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมของส่วนราชการ
6.4 ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมมาช่วยในการปฏิบัติราชการ
6.5 บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สามารถร้องขอให้หน่วยราชการลดขั้นตอนจัดตั้งบริการร่วมหรือการบริการโดยเทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยผ่าน ก.พ.ร.

7. การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
7.1 การเพิ่มหน่วยงานของรัฐที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจหรือกิจการที่แข่งขันกับเอกชนจะกระทำมิได้ ยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
7.2 ให้มีการทบทวนกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐทุก ๆ 2 ปี
7.3 ให้ส่วนราชการทบทวนภารกิจอำนาจหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ทุก 4 ปี
7.4 ให้มีผู้ประเมินอิสระเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการคงอยู่หรือยุบเลิกหน่วยงาน
7.5 มีการทบทวนแผนงานและโครงการในแผนปฏิบัติการของส่วนราชการทุกรอบ 2 ปี

ที่มา:

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2546). เอกสารประกอบการสัมมนา/ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ชุดที่ 1
กระดาษทำการประกอบการวางแผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดผลงานหลัก. กาญจนบุรี:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 31 มีนาคม 2546

chumpot@hotmail.com