2553310 ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหาร
Management Information System
ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2545

ผู้สอน
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ.เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

หมู่เรียน: รัฐประศาสนศาสตร์ ปี 2
เวลาเรียน: วันเสาร์ เวลา 11.10 - 13.50 น.
วันอาทิตย์ เวลา 11.10 - 13.50 น. และการนัดหมายในช่วงเวลาอื่นๆ

บทบาทที่เปลี่ยนไปของระบบสารสนเทศในองค์กร

บทบาทที่เปลี่ยนไปของระบบงานในองค์กรและรูปแบบการทำงานที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการทำงานร่วมกัน ระหว่างองค์กรกับระบบสารสนเทศ

ระบบโครงสร้างภายในองค์กรของระบบสารสนเทศและบริการของระบบสารสนเทศ

วิธีการที่ทำให้องค์กรมีอิทธิพลต่อโครงสร้างภายใน คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์ประกอบทางเทคโนโลยี และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1960 เป็นช่วงการเริ่มต้นพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูง ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1970 ถึงตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1980 โครงสร้างระบบสารสนเทศภายในองค์กรเร่มมีความซ้ำซ้อน และเริ่มมีการใช้ระบบโทรคมนาคมในการเชื่อมต่อข้อมูลที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆกัน
โครงสร้างในปัจจุยันจึงถูกออกแบบเพื่อทำให้ข้อมูลสามารถไหลเวียนไปได้ทั่วทุกส่วนขององคืกรรวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ ของลูกค้า บริษัทคู่ค้า หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเทคโนโลยีเรียกว่า ฝ่ายสารสนเทศ(Information system department) ประกอบไปด้วยบุคลากรต่างๆกัน คือ โปรแกรมเมอร์ ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้บริหารโครงการ ผู้บริหารระบบสารสนเทศ พนักงานป้อนข้อมูล เป็นต้น

ผลกระทบของระบบสารสนเทศที่มีต่อองค์กร

ระบบสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรทางด้านเศรษฐศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ดังนี้
ทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ระบบข่าวสารเปรียบเสมือนองค์ประกอบหนึ่งของผลิตผลที่สามารถแลกเปลี่ยน กับทรัพย์สินและแรงงานได้อย่างอิสระ ถ้ามูลค่าของเทคโลยีข่าวสารลดต่ำลงก็สามารถนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มค่าแรง อยู่เสมอ ดังนั้นในรูปแบบเศรษฐศาสตร์จุลภาคขององค์กร เทคโนโลยีระบบข่าวสารจะเข้ามาทำหน้าที่แทนผู้บริหารระดับกลาง และ พนักงานกลุ่มเสมียน ทำให้จำนวนพนักงานสองกลุ่มนี้ลดลง ระบบข่าวสารยังช่วยลดจำนวนสัญญาจ้างงานลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม ลดค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานภายใน
ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ มีผลกระทบทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่เกิดขึ้นในองค์กร มีารศึกษาเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา และ สิลปแห่งการปกครอง แต่ยังไม่พบหลักฐานใดๆที่แสดงให้เห็นว่าระบบข่าวสารเป็นตัว เปลี่ยนแปลงโครงสร้าองค์กร แม้ว่าระบบข่าวสารอาจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร แต่กลับพบว่าระบบข่าวสารและโครงสร้างองค์กรนั้นมีอิทธิพลแก่กัน และกันเป็นอย่างมาก
นักวิจัยตั้งทฤษฎีความสัมพันธ์ดังกล่าวว่า เทคโนโลยี ข่าวสารอาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการตัดสินใจแบบลำดับชั้นในองค์กร โดยการลด ค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลและการแพร่กระจายข้อมูล เทคโนโลยีข่าวสารสามารถนำข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานมานำเสนอ ต่อผู้บริหารระดับสูงได้โดยตรง แลผู้บริหารก็สามารถสื่อสาร ส่งข้อมูล หรือ ส่งคำสั่งกลับไปได้โดยตรงเช่นเดียวกัน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้บริหารระดับกลางและเสมียนลงได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำการตัดสินใจภายในขอบเขตความรับผิดชอบของตนเองได้ โดยไม่ต้องรับคำสั่งจากผู้บริหารระดับกลาง
จึงมีคำถามว่า ใครจะเป็นผู้ควบคุมไม่ให้การบริหาร-จัดการตนเองนั้นเป็นไปในทางที่ไม่ต้องการ ใครจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าพนักงานคนไหนควรจะอยู่ในทีมใด และเป็นระยะเวลานานเท่าใด พนักงานจะทราบอนาคตหรือการเติบโตในองค์กรของตนได้อย่างไร

ระบบอินเทอร์เน็ตและองค์กร

ระบบอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะในส่วนเครือข่ายเว็บ (WWW) ได้กลายมาเป็นส่วนเชื่อมต่อความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งระหว่างองค์กรและบุคคล ภายนอก ระบบอินเทอร์เน็ตช่วยขยายขีดความสามารถขององค์กร ช่วยในการกระจายข่าวสารข้อมูล และไม่มีอุปสรรค ในเรื่องของเวลา และ สถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 20 มีนาคม 2546

chumpot@hotmail.com