เมื่อเริ่มเรียกโปรแกรม Netscape Communicator ใช้งาน จะต้องเริ่มจากการ click ที่ภาพสัญลักษณ์ของโปรแกรม
จากหน้าจอ Desktop ของโปรแกรม Windows จะปรากฎหน้าจอหลักของโปรแกรม Netscape Communicator
ดังต่อไปนี้
คำอธิบายในการใช้ปุ่มเมนูต่างๆจากโปรแกรม Netscape Communicator
1.ปุ่มถอยหลัง (หากต้องการให้แสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่เคยเยี่ยมมาแล้ว ให้กดปุ่มถอยหลังแช่ทิ้งไว้)
2.ปุ่มเดินหน้า
3.ปุ่ม Reload สำหรับโหลดเว็บเพจใหม่ ใช้ในกรณีที่เว็บเพจแสดงผลไม่ครบ ให้กดปุ่มนี้เพื่อเรียกเว็บเพจให้ครบถ้วน
อีกครั้งหนึ่ง หากสังเกตดี ๆ จะเป็นรูปลูกศรกำลังม้วนกลับ ให้ความหมายของไอคอน สื่อการใช้งานได้มากกว่า
4.ปุ่ม Home สำหรับกลับไปยังเว็บเพจแรก
5.ปุ่ม Search ใช้สำหรับเรียกไซต์ช่วยค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทาง Netscape ได้ร่วมมือกับแหล่งให้บริการค้นข้อมูล
ต่างๆได้แก่ LYCOS, YAHOO, EXCITE, INFOSEEK, HOTBOT, WEBCRAWLER, AOL NETFIND
และผู้ให้บริการธุรกิจการค้นข้อมูลรายย่อยอีกมากมาย แต่ทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของบริการเว็บเพจธรรมดาๆ ถ้ารู้ URL ก็สามารถเข้าไปใช้บริการแบบเดียวกันได้
6.ปุ่ม Guide จะเป็นการแนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจในแต่ละช่วงเวลา
7.ปุ่ม Print สำหรับพิมพ์ข้อมูล สำหรับใน Netscape โปรแกรมจะขึ้น Printer Dialog ให้ดูก่อน เพื่อให้ผู้ใช้เลือกว่าจะ
พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เครื่องใด (กรณีที่มีมากกว่า 1 เครื่อง) จะพิมพ์กี่หน้า พิมพ์แค่ไหน เป็นต้น โปรแกรม Netscape
มีรายการ Print preview ให้ดูภาพบนหน้าจอก่อนว่าผลพิมพ์จะออกมาเป็นอย่างไร
8.ปุ่ม Security เพื่อเรียกดูคุณสมบัติรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ
9.ปุ่มหยุดการติดต่อกับเว็บไซต์ปลายทาง
10.แถบกดเพื่อแสดง / ไม่แสดงบาร์ต่าง ๆ
11.แสดงตำแหน่งของ URL ที่ต้องการจะไป โปรแกรมจะสนับสนุนคุณสมบัติเดาการพิมพ์ตำแหน่ง URL ได้หมด
เช่น เราพิมพ์คำว่า WWW.Y โปรแกรมจะเดาให้ว่าผู้ติดต่อต้องการจะไปที่ WWW.YAHOO.COM เป็นต้น
ซึ่งไม่ต้องพิมพ์ที่อยู่ ทาง URL แบบเต็ม ๆ
12.ปุ่ม Personal toolbar เป็นเมนูส่วนตัวที่มีประโยชน์ใช้สอยสำหรับการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์
13.แถบแสดงรายชื่อ Channel ซึ่งเป็นการเข้าสู่สถานีเว็บสังกัดบริษัท Netscape
ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรม Netscape Communicator ให้มีความสามารถมากขึ้น ลักษณะการใช้งานง่ายขึ้น ดังภาพหน้าจอหลัก
ที่พัฒนาแล้ว ดังนี้
โปรแกรม Internet Explorer
เมื่อปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟท์ จำกัด ได้ออกแบบโปรแกรมบราวเซอร์ตัวแรก โดยนำเอาโปรแกรม Spyglass Mosaic
มาปรับแต่งแล้วใส่โลโก้ของวินโดวส์ 95 และสนใจในการพัฒนาการใช้โปรแกรมในอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง จนในที่สุดเมื่อปี
ค.ศ. 1996 ไมโครซอฟท์สามารถผลิตโปรแกรม Internet Explorer 3.0 ที่สวยงาม ใช้งานง่าย และสนับสนุนมัลติมีเดีย
โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมปลั๊กอินเพิ่มเติม พร้อมทั้งประกาศนโยบายให้ใช้โปรแกรมฟรี และมีความคิดจะให้ตัวโปรแกรม
ถูกรวมเข้าไปในระบบปฏิบัติการทุกๆเวอร์ชันของไมโครซอฟท์
ต่อมาทางบริษัทได้เพิ่มเติมความสามารถของโปรแกรมเมื่อ ปี ค.ศ. 1997 โดยได้แนะนำ Internet Explorer Platform Preview 1
เวอร์ชันนี้มีความสามารถที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็คือมี "Active Desktops" ที่ทำให้เดสก์ทอปเดิมๆ ของวินโดวส์สามารถโต้ตอบ
การทำงานกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น และเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 ไมโครซอฟท์ก็ได้ออก Platform Preview 2 ออกมาอีก
โดยมีการปรับปรุงอินเทอร์เฟซ และแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ให้น้อยลง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน
5 กลายเป็นชุดโปรแกรมสำหรับการใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมย่อยๆ ดังนี้ (กมล ชาญศิลปากร, 2541,
หน้า 38-41) คือ
1. Internet Explorer เป็นโปรแกรมบราวเซอร์ไว้ใช้ท่องไปตามเว็บไซต์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
หรือแม้แต่ไฟล์ หรือโฟล์เดอร์ ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติใหม่ของโปรแกรม ผู้ใช้สามารถดูเว็บเพจจากไซต์ที่สมัคร
เป็นสมาชิกได้ทั้งขณะเชื่อมต่อ (on-line) และไม่เชื่อมต่อ (off-line) อินเทอร์เน็ตก็ได้
2. Outlook Express เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งใช้งานได้หลายคน อ่านจดหมายแบบ
ออฟไลน์ได้ รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยด้วย
3. Net Meeting เป็นโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านสายโทรศัพท์ โปรแกรมนี้จะช่วยให้ติดต่อสื่อสารกับคนได้ทั่วโลกโดยผ่านทาง
อินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น สามารถใช้กระดานข่าว (Whiteboard เขียนข้อความต่าง ๆ สื่อสารถึงกันได้ หรือจะใช้คุณสมบัติคุยกัน
ทางโทรศัพท์ เพื่อพูดคุยกันสด ๆ ได้
4. NetShow เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้แพร่สื่อหลายสื่อ เช่น ภาพ ระบบมัลติมีเดีย (วิดีโอและออดิโอ) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ตได้
5. FrontPage Express เป็นโปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจ โดยไม่ต้องรู้จักภาษา HTML ผู้ใช้สามารถสร้างเว็บเพจได้ง่าย
เช่นเดียวกับการจัดทำเอกสารบนโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วๆไป
6. Active Channels เป็นคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาในโปรแกรม มีความสามารถดาวน์โหลดเนื้อหา (content) ที่เว็บไซต์ผลัก (push)
มาให้ ตามเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติ
7. Active Desktops เป็นคุณสมบัติที่ผนวกอินเทอร์เน็ตเข้ากับระบบปฏิบัติการของวินโดวส์ คุณสมบัตินี้จะช่วยให้เปิด (Open)
สืบค้น (browse) และสำรวจ (explore) ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ รวมทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินทราเน็ตได้จากระบบปฏิบัติการ
วินโดวส์โดยตรง
การใช้เมนูต่างๆในโปรแกรม Internet Explorer
เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรม Windows จะติดตั้งโปรแกรม Internet Explorer
ให้โดยอัตโนมัติ จะมีรูปสัญลักษณ์ของโปรแกรมอยู่ที่ Desktop ของโปรแกรม Windows ดังนี้
ให้ click เรียกโปรแกรมจากภาพสัญลักษณ์ (Icon) ได้ทันที และจะเริ่มเข้าสู่การใช้งานของโปรแกรม Internet Explorer ดังหน้าจอเมนูหลักของโปรแกรม
ดังนี้
อธิบายการใช้เมนูต่างๆจากโปรแกรม Internet Explorer
1.ปุ่มถอยหลัง โปรแกรมจะเพิ่มความสะดวกในการกดถอยหลังข้ามไซต์ โดยโปรแกรมจะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่เคยเยี่ยมชมผ่านมา
แล้ว ข้อดี คือ ไม่ต้องคอยกดปุ่ม BACK หลาย ๆ ครั้ง กว่าจะถึงเว็บไซต์ที่เคยเยี่ยมชมผ่านมา เพียงคลิกลูกศรชี้ลงตรง
ข้างปุ่ม BACK ก็สามารถเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการย้อนถอยหลังได้
2.ปุ่มเดินหน้า มีลักษณะการทำงานเหมือนกับปุ่มถอยหลัง
3.ปุ่มหยุด โปรแกรมได้ออกแบบสัญลักษณ์ปุ่มหยุดในรูปแบบง่าย ๆ เพื่อง่ายต่อการสังเกต
4.ปุ่ม Refresh สำหรับโหลดเว็บเพจใหม่ ในกรณีที่เว็บเพจแสดงผลไม่ครบ ให้กดปุ่มนี้อีกครั้งหนึ่ง
5.ปุ่ม Home สำหรับกลับไปยังเว็บเพจแรก ส่วนมากจะเป็นเว็บเพจของบริษัทผู้สร้างเว็บบราวเซอร์
6.ปุ่ม Search ใช้สำหรับเรียกเว็บไซต์ที่ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
7.ปุ่ม Favorites ใช้สำหรับเก็บเว็บไซต์ที่ชอบ
8.ปุ่ม History ใช้สำหรับดูรายชื่อเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เคยไปมาแล้ว
9.ปุ่ม Channel ใช้สำหรับเรียกดูแหล่งเว็บไซต์ที่เคยสมัครเป็นสมาชิกไว้
10.ปุ่ม Full screen ใช้สำหรับการแสดงผลเว็บเพจให้เต็มหน้าจอ
11.ปุ่ม Mail สำหรับเรียกใช้ Outlook Express โปรแกรมช่วยงานด้านอีเมล์ หากในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
มีการติดตั้งโปรแกรม Outlook ในเวอร์ชั่นที่สูงกว่า เช่น Outlook 97 โปรแกรมจะหันไปเรียกโปรแกรมนั้น ๆ แทน
12.ปุ่มพิมพ์ สำหรับสั่งพิมพ์ออกผ่านเครื่องพิมพ์ในทันทีที่ต้องการพิมพ์ข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถสั่งพิมพ์เว็บเพจอื่น ๆ ที่ Link เก็บเว็บเพจที่ต้องการพิมพ์ลึกลงไป 1 ชั้น นอกจากนี้ยังสามารถสั่งพิมพ์เฉพาะเฟรมได้อีกด้วย
13.ปุ่ม Edit สำหรับเรียกแก้ไขเว็บเพจที่กำลังแสดงผลอยู่นี้ขึ้นมาแก้ไขได้ในทันที ตัวแก้ไขเว็บเพจนี้ จะเป็น Frontpage
Express
14. Address bar แสดงตำแหน่งของ URL ที่ต้องการจะไป
15. Link toolbar เป็นแถบที่ใช้เก็บข้อมูลเว็บเพจที่ต้องการไปบ่อยๆ เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน
การค้นข้อมูลในระบบ INTERNET
พัฒนาการของการค้นข้อมูล เริ่มต้นจากพัฒนาการการให้ข้อมูลในลักษณะอักษรคูนิฟอร์ม อักษรเฮียโร
กลิฟฟิก มาจนกระทั่งเป็นตัวอักษรในปัจจุบัน ที่บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว กระดาษปาไปรัส และกระดาษใน
ปัจจุบัน ให้บริการผ่านแหล่งให้ข้อมูล คือ ห้องสมุดประเภทต่างๆ สังคมโลกาภิวัตน์ปัจจุบันทำให้ห้องสมุด
ทุกแห่งกลายเป็นห้องสมุดโลกที่ไร้พรมแดน
ข้อมูลในปัจจุบันได้จากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์
จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
จุดใดๆก็ได้จาการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเทอร์เน็ต (Browsers) โดยมีขั้นตอนการค้นข้อมูล
ดังต่อไปนี้
1. รู้จักที่อยู่ของ Website ที่ต้องการค้น
ในระบบเครือข่าย Internet เราจะสามารถติดต่อกับคน องค์การ สมาคม บริษัท หรือ หน่วยงานต่างๆได้
ทั่วโลกโดยไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถเข้าถึงตัวสารสนเทศได้อย่างมหาศาล ข้อมูลที่ได้รับอาจตรงตามความต้องการ
แต่ข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการและเกินความจำเป็น ผู้ใช้ข้อมูลจึงต้องเรียนรู้วิธีการได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ
ผู้ค้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้บริการข้อมูล นั่นคือทราบ url หรือ address
ของผู้ให้บริการข้อมูล โดยการพิมพ์คำว่า www ตามด้วยชื่อของผู้ให้บริการข้อมูลลงไปในกรอบเมนู address
ของโปรแกรม Browser
ที่อยู่ของ Website ที่ให้บริการค้นข้อมูล (Search engines) ที่สำคัญๆ ได้แก่
WWW.YAHOO.COM
WWW.LYCOS.COM
WWW.GOOGLE.COM
WWW.MSN.COM
ตัวอย่าง Website ของ Yahoo
ตัวอย่าง Website ของ Lycos
ตัวอย่าง Website ของ Google
2. รู้จักวิธีการค้น
ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Yahoo
ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Google
3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น
เมื่อเริ่มต้นคำค้นจากการพิมพ์คำค้น หรือเลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้น
จนกว่าจะได้ข้อมูลฉบับเต็ม (Full text) ที่ต้องการ ดังเช่นผลการค้นข้อมูลเรื่อง English language and teaching
จาก Website ของ Google จะได้คำตอบ จำนวนมาก และผู้ค้นจะต้องเลือกรายการต่อไปจนกว่าจะพอใจกับ
คำตอบ ที่ได้รับ
ผู้ให้บริการค้นข้อมูลจะอำนวยความสะดวกทั้งจากการจัดทำหน้าจอเมนูสำหรับการค้น และการจัดลำดับ
หัวข้อเรื่องสำหรับการค้นเหมือนกับเรากำลังค้นข้อมูลจากตู้บัตรรายการประเภทบัตรเรื่องในห้องสมุด ดังที่ Google
ได้จัดทำให้บริการ
ตัวอย่างคำตอบที่ได้รับจากการเลือกรายการที่ต้องการ ในกรณีนี้จะเข้าสู่ Webpage ของ BBC
ผู้ค้นข้อมูลสามารถเลือกรายการเมนูต่างๆต่อไปได้
4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 21 เมษายน 2546
chumpot@hotmail.com