1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2544
chumpot@hotmail.com
การค้าระหว่างประเทศ
เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนที่แตกต่างกันเพราะแต่ละประเทศต่างก็มีทรัพยากรและความชำนาญ ในการผลิตไม่เหมือนกัน ประเทศที่มีทรัพยากรมากก็มักจะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ความมากน้อยของทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ก็มิใช่สิ่งที่กำหนดต้นทุนและความได้เปรียบในการผลิตเสมอไป ประสิทธิภาพของ ปัจจัยการผลิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญด้วยเช่นกัน
โดยทั่วไปการค้าระหว่างประเทศจะอยู่ในลักษณะที่ว่าแต่ละประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนเองมีความถนัดซึ่งเป็นสินค้าออก ขณะเดียวกันก็จะสั่งเข้าของสินค้าที่ตนเองผลิตไม่ได้หรือผลิตได้แต่ต้นสูงกว่า เมื่อเป็นเช่านนี้จึงเสมือนกับการแบ่งงานกันทำ ระหว่างประเทศนั่นเอง ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด การค้าระหว่างประเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประเทศต่างๆ ได้รับประโยชน์ร่วมกันทำให้ประชาชนต่างๆ ทั่วโลกมีมาตรฐานการครองชีพโดยเฉลี่ยสูงขึ้น
องค์การการค้าโลก (WTO)
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำหน้าที่ประสานงานกับคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การการค้าโลกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกกระทรวงพาณิชย์ ในการ เสนอแนะนโยบายและท่าทีไทยรวมทั้งเข้าเจรจาในเรื่องที่มีการศึกษา หรือเจรจาภายใต้ องค์การการค้าโลก เสนอแนะนโยบายและท่าทีไทยรวมทั้งเข้าร่วมเจรจาในเรื่องเกี่ยวกับ องค์การการค้าโลกที่มีการหารือ หรือเจรจาในเวทีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ องค์การการค้าโลก ปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงต่าง ๆ ภายใต้องค์การการค้าโลก ประเมินผลการผฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงต่าง ๆ ภายใต้ องค์การการค้าโลกของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่มีผลต่อไทย
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) มีพัฒนาการมา จากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรก มีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539 ครั้งที่ 2 มีขึ้น ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2541 การประชุมครั้งที่ 3 มีขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 และการประชุม ครั้งที่ 4 จะมีขึ้น ณ เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ปัจจุบัน WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น 140 ประเทศ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)
ความเป็นมา
Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยความริเริ่มของออสเตรเลีย เนื่องจากเล็งเห็นว่า ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลกและ มีการเติบโตที่ยั่งยืน มีเสถียรภาพ ถือเป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ประกอบกับ ความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยทำให้ประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และออสเตรเลียซึ่งต้องพึ่งพา การค้าระหว่างประเทศมากต้องการให้การเจรจารอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จโดยเร็ว เพื่อให้การค้าโลกมีการเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น จึงต้องใช้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเปิดเสรี
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอเปค
สมาชิกภาพ
เริ่มแรกเอเปคมีสมาชิก 12 ประเทศ คือ สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ไทย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ต่อมาเอเปคมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 6 ประเทศ คือ จีน จีนไทเป ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี เม็กซิโก และชิลี ปี 2541 เอเปคมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างเป็นทางการอีก 3 ประเทศ คือ เปรู เวียดนาม รัสเซีย รวมทั้งสิ้น 21 ประเทศ
หลักการของความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค
เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจ
การดำเนินการยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เอเปคคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก
กลไกการดำเนินงานที่สำคัญ
การประชุมผู้นำด้านเศรษฐกิจของเอเปค
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจของเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปค โดยมีผู้นำประเทศ/รัฐบาลเป็นผู้เข้าร่วมประชุม สำหรับประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม การประชุม ผู้นำเศรษฐกิจเอเปคได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2536 ที่ Blake Island สหรัฐอเมริกา ตามความคิดริเริ่มของประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และต่อมาที่อินโดนีเซีย (2537) ญี่ปุ่น (2538) ฟิลิปปินส์ (2539) แคนาดา (2540) และล่าสุดที่มาเลเซีย (2541)
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting) ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งได้ประชุมกันมาแล้วทั้งหมด 10 ครั้ง โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุม เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของ เอเปคในรอบปีซึ่งได้รับจากที่ประชุมรัฐมนตรีด้านต่างๆ และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส และเพื่อรายงานกิจกรรมที่สำคัญให้ที่ประชุม ผู้นำด้านเศรษฐกิจของเอเปคพิจารณา
การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในด้านอื่นๆ
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคในสาขาต่างๆ เช่น การประชุมรัฐมนตรีการค้า การประชุมรัฐมนตรีทางด้านการเงิน การประชุม รัฐมนตรีทางด้านสตรี เป็นต้น ปีละ 1 ครั้ง ทำหน้าที่พิจารณาผลการดำเนินงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับรายงานจากจาก คณะทำงานต่างๆ ภายใต้กรอบเอเปค และเพื่อรายงานกิจกรรมที่สำคัญให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) ปีละ 3 - 4 ครั้ง มีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ทำหน้าที่พิจารณาการดำเนินงานของเอเปคในทุกๆ ด้าน รวมทั้งความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้คณะทำงานและองค์กรต่างๆ ของเอเปค การบริหารงานของสำนักเลขาธิการเอเปค และงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของเอเปคเพื่อเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติต่อไป
การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน
การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment) ปีละ 3 - 4 ครั้ง โดยมีผู้แทนจาก กระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมนี้ ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานภายใต้กรอบเอเปคในส่วนที่เกี่ยวกับ การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน และรายงานต่อเจ้าหน้าที่อาวุโส
สำนักเลขาธิการเอเปค
เอเปคมีสำนักงานเลขาธิการที่สิงคโปร์ (APEC Secretariat) โดยมีหน้าที่ คือ
บทบาทของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในเวทีอาเซียน
- อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมในการประชุม SEOM เจ้าหน้าที่กรมฯ จะเป็นผู้แทน เข้าร่วมประชุมในคณะทำงาน/คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ภายใต้ SEOM และคณะทำงานในสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ด้วย เช่น สาขาคมนาคม บริการ และการลงทุน เป็นต้น ซึ่งจะมีผู้แทนระดับสูงของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงและกรมที่เกี่ยวข้อง เป็นหัวหน้าคณะ
- กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ยังทำหน้าที่วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายเกี่ยวกับมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษีภายใต้อาฟต้า ตลอดจน
การตรวจสอบพันธกรณีและการปฏิบัติตามพันธกรณีทางด้านเศรษฐกิจและการค้าภายใต้อาฟต้าซึ่งประเทศอาเซียนได้ให้สัตยาบันไว้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
กลไกการดำเนินงานของอาเซียน - ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน
- ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ [เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (AFTA)]
[เขตการลงทุนอาเซียน (AIA)]
[ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN)]
[การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน]
[ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)]
[การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน]- การระงับข้อพิพาท
- Notification Procedure
วิสัยทัศน์ของอาเซียน ปี 2020
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขต เศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกในทุก ๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า "อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)"
หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่ การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่าง ๆ การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของโลก ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่าง ๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือเพื่อลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันด้าน การค้าและการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการการค้าระหว่างประเทศ :
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย หรือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)
1. ความเป็นมา
เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ซึ่งต่างเป็นสมาชิกเขต การค้าเสรีอาเซียน โครงการนี้เริ่มต้นในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2536 โดยทั้ง 3 ประเทศเห็นชอบให้ขอความร่วมมือจาก ธนาคารพัฒนา เอเซีย (ADB) ให้ศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ
2. ลักษณะความร่วมมือ
เป็นความร่วมมือที่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่เป็นความร่วมมือเฉพาะเขตที่กำหนดขึ้นและมีจุดเด่นคือ เอกชนจะเป็น ผู้ระบุความต้องการและให้รัฐบาลให้การสนับสนุนตามความต้องการของเอกชน
3. สาระสำคัญของโครงการ
(2) เป้าหมาย เพื่อเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่าง 3 ประเทศโดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกันเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการผลิต การลงทุน ถ่ายทอดเทคโนโลยี การเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
(3) สาขาความร่วมมือมี 10 สาขาหลัก คือ (3.1) คมนาคมขนส่งทางบกและทางน้ำ (3.2) พลังงาน (3.3) เกษตรและประมง (3.4) อุตสาหกรรม (3.5) ท่องเที่ยว (3.6) การค้า (3.7) การลงทุนและการเงิน (3.8)พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงาน (3.9) คมนาคมขนส่งทางอากาศ (3.10) สื่อสารโทรคมนาคม
(4) กลไกติดตามประเมินผลโครงการความร่วมมือฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง 3 ประเทศเป็นรายสาขา และมี การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 1 ครั้ง โดยผลัดกันเป็นประเทศเจ้าภาพ
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โครงการความร่วมมือ IMT-GT จะเป็นประโยชน์ต่อประทศไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อเสริมสร้างและขยายเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและบริการในพื้นที่ความร่วมมือดังกล่าว
5. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ข้อมูลจาก http://www.moc.go.th/thai/dbe/
ผู้จัดทำ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com