1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2544
chumpot@hotmail.com
ความสำคัญของการขาย (The Importance of Selling)
ความหมายของการขาย (The Meaning of Selling)
คำว่า "การขาย" ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 เกี่ยวกับ การซื้อขายระบุว่า "อันการขายนั้น คือสัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ขาย" จะโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้เรียกว่า "ผู้ซื้อ" และผู้ซื้อ ตกลงจะชดใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของสมาคมตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The Definitions Committee of the American Marketing Association) ได้ให้คำจำกัดความว่า "การขาย (Selling) ไว้ว่า เป็นกระบวนการชักจูงผู้ที่คิดจะเป็นลูกค้าให้ซื้อสินค้า หรือบริการ หรือเป็นการทำให้เกิดความนิยมชมชอบความคิดของผู้ขายโดยวิธีการของการค้าได้"
หลักสำคัญได้ 4 ประการ ของการขายที่พนักงานขายพึงระลึกอยู่เสมอว่า
วัตถุประสงค์ของการขาย ( Objective of Selling)
"กำไร" เป็นเป้าหมายที่ปรารถนาอย่างยิ่งของการประกอบธุรกิจการขาย การสนองความต้องการของลูกค้าจน เป็นที่พอใจอย่างเต็มที่ต่างหากที่เป็นวิธีเดียวที่จะ ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ บริษัท ห้างร้าน ที่จะทำการค้าและผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมต่างมีจุดประสงค์ว่าทำอย่างไรจึงจะให้สินค้าและบริการแก่ลูกค้าตามที่เขาต้องการในราคาที่เขาสามารถซื้อได้ การขายที่ประสบความสำเร็จแล้วย่อมจะต้องให้ บางสิ่งบางอย่างแก่สังคมโดยส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จนกระทั่งลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายค่าสินค้าและบริการ ฝ่ายผู้ขายก็พอใจในกำไรอันสมควร และสินค้านั้น ให้ประโยชน์แก่ผู้ซื้อมากที่สุด
ประโยชน์ของการขายที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคม
(Selling Benefit to Socio Economic Situation)
การขาย มีความสำคัญมากต่อบุคคลและทุกวงการธุรกิจ ความสำเร็จของทุกแขนงวิชาชีพต้องใช้ศิลปะการขายทั้งสิ้น ได้แก่
การขายของประเทศไทยในปัจจุบัน
ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญมากในสภาพการขายปัจจุบันของไทย สินค้าญี่ปุ่นซึ่งเป็น ที่แพร่หลายและรู้จักกันดี ได้แก่ รถยนต์ หม้อหุงข้าว วิทยุ เครื่องสำอาง ผ้า อาหาร ฯลฯ ปี พ.ศ. 2506 ญี่ปุ่นได้เข้ามาเปิดร้านประเภท Department Store (ร้านสรรพสินค้า) แห่งแรกที่ราชประสงค์ คนไทยระยะหลังนี้นิยมซื้อของจากร้านประเภทนี้มากจึงตั้งกันแพร่หลายในรูป ศูนย์การค้า มีที่จอดรถมีสินค้าหลายชนิดให้เลือก ราคาแพงกว่า ท้องตลาดเล็กน้อย ผู้ซื้อได้เดินเที่ยวและชมสินค้า มีร้านอาหาร ไอศกรีมให้รับประทาน และมีแอร์เย็น ๆ ให้อีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบบเสรีประชาธิปไตยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) คือ มีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมหรือที่เรียกว่า ระบบทุนนิยม (Capitalism) เป็นส่วนใหญ่ผสมกับสังคมนิยม (Socialism) ระบบทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี คือ ประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจทั้งในด้าน การผลิตและการจำหน่ายโดยมี การดำเนินการแบบธุรกิจเอกชน (Free Enterprise) ส่วนระบบสังคมนิยมนั้นประเทศเรานำมาใช้แต่เพียงบางส่วนตาม ความจำเป็น เช่น การที่รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในด้านการธนาคาร การขนส่ง การค้า การอุตสาหกรรมและ การสาธารณูปโภคต่าง ๆ การที่รัฐบาลไทยเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจเช่นนี้ก็มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความสะดวก และปลอดภัยแก่ ประเทศชาติ และสาธารณชนเป็นส่วนใหญ่ และเพื่อให้เกิดเป็นรายได้ของรัฐบาลบางส่วน อย่างไรก็ดีการเข้ามามีส่วนร่วม ในทางเศรษฐกิจดังกล่าวนับว่าเป็นส่วนน้อยมาก ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมนักธุรกิจไทยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด นอกจากธุรกิจที่ขาด ประสิทธิภาพมักจะล้มเหลวในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ บทบาทของการค้าขายจะมีความสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจแบบอื่น ลูกค้าจะมี สิทธิเสรีภาพที่จะซื้อหรือไม่ซื้อ การขายที่ดีจะเร่งเร้าให้กิจกรรมของธุรกิจเจริญ ก้าวหน้าขึ้นและจะช่วยยกมาตรฐาน การครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น ซึ่งระบบเศรษฐกิจของไทยคล้ายคลึงกับระบบเศรษฐกิจของอเมริกา
หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขายของไทย คือ
สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นพันธะสัญญาระหว่างบริษัทสมาชิกต่อการดำเนินธุรกิจขายตรงอย่างถูกต้องนั้น ต่างต้องยอมรับ และยึดถือกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นกติกาสากล สมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลกได้บัญญัติแนวคิดเรื่องหนึ่งคือ จรรยาบรรณใน การดำเนินธุรกิจขายตรง และได้นำแนวคิดนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก กว่า 57 ประเทศ สมาคมการขายโดยตรง(ไทย) จึงขอถือโอกาสในการกล่าวถึงจรรยาบรรณนี้ โดยจัดทำเป็นฉบับคัดย่อ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆ ตามสิทธิและหน้าที่ตั้งแต่ผู้บริโภค ผู้ขายตรง และบริษัทสมาชิก
จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลกต่อผู้บริโภค ดูที่
http://www.tdsa.org/m_policy.php
2. กรมการค้าภายใน ดูที่ http://www.dit.go.th/
ผู้จัดทำ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com